Issue 7: Roles of civil society organization (CSO)
องค์กรพัฒนาเอกชน หรือที่เรียกกันว่า NGO เป็นองค์กรที่มีอยู่ทั่วโลกและมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคมเป็นในปัจจุบัน ซึ่งแต่ละกลุ่มล้วนมีอุดมการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นการก่อตั้งขึ้นมาเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ส่งเสริมการศึกษาและวิจัย ส่งเสริมสุขภาพ การสังคมสงเคราะห์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กฎหมาย สิทธิมนุษยชนและการเมือง เป็นต้น
จากบทบาทที่หลากหลาย ดังที่กล่าวมา ทำให้มีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันเช่น Non-profit Voluntary Organization; VO, Charitable Organization; CO, Grassroots Organization; GO, Associational Organization; AO, Private Organization; PO และ Civil Society Organization; CSO เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกเป็นอย่างไร องค์กรพัฒนาเอกชนก็ลักษณะที่สำคัญคล้ายกันคือ การอาสาสมัครที่เป็นผลทางด้านอุดมการณ์ โดยไม่หวังผลกำไร มีระเบียบวาระในการกำหนดทิศทางและนโยบายเป็นของตน เพื่อมุ่งบริการสาธารณะประโยชน์ ด้วยเงินช่วยเหลือจากแหล่งเงินอุดหนุนไม่ว่าจากภายในหรือต่างประเทศ ซึ่งอาจเป็นการรวมตัวกันในลักษณะองค์กรประชาชน (Popular Organization) หรือองค์กรที่ไม่อยู่ในภาครัฐ (Non– Government Organization) ซึ่งทั้งสองลักษณะต่างก็มีบทบาททางด้านสุขภาพทั้งการจัดบริการสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การจัดระบบข้อมูลสุขภาพ การสร้างนโยบายด้านสุขภาพ การระดมและกระจายทรัพยากรสุขภาพ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพบริการสุขภาพ ซึ่งการเข้ามามีบทบาทในงานด้านสุขภาพขององค์กรพัฒนาเอกชน นับว่ามีส่วนในการเชื่อมต่อ แต่งเติมให้คุณภาพของงานด้านสุขภาพดียิ่งขึ้น แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนไม่น้อยที่มักจะทำงานเพื่อสร้างความเชื่อถือ การยอมรับจากสังคม ด้วยการทำให้สังคมมองภาพลักษณ์ขององค์กรรัฐ เป็นองค์กรที่ทำงานฉาบฉวย ไร้คุณภาพ ไม่มีความต่อเนื่อง ขณะที่องค์กรรัฐ บางส่วนก็มองว่าองค์กรพัฒนาเอกชน ใช้อุดมการณ์เป็นเพียงฉากหน้า เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน จึงทำให้การทำงานร่วมกันกลายเป็นเส้นขนาน มิใช่การเสริมพลังซึ่งกันและกันโดยใช้ศักยภาพ วิธีการที่ดีของแต่ละส่วนเข้ามาเรียงประสานให้เป็นหนึ่ง เพื่อการขับเคลื่อนสังคมในทิศทางที่เหมาะสม
วันนี้ สังคมไทย ตกอยู่ภายใต้มรสุมพิษเศรษฐกิจ ความแตกแยกในสังคม การเมือง และสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และก่อตัวเข้ามารุมทำร้ายผู้คน ความบอบช้ำของสังคม จำเป็นต้องได้รับการเยียวยาจากทุกฝ่าย ร่วมด้วยช่วยกัน สมานฉันท์ให้เกิดพลังขับเคลื่อนสังคมให้เดินต่อไปอย่างมั่นคง มิใช่มองว่า ฝ่ายใด กลุ่มใด ไม่ว่าภาครัฐ เอกชน ประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน ล้วนแล้วแต่คือ คนไทย ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่รักยิ่ง ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องมองความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ แล้วก้าวไปพร้อมกัน เพื่อสังคมไทย
NGO กับคนไทย อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจยาก
ในภาพที่ปรากฎคือ เป็นองค์กรที่ตั้งกล่องเรื่ยไรเงินบริจาคตามจุดต่าง ๆ เช่น สะพานลอย
ป้ายรถเมล์ หน้าห้างสรรพสินค้า จึงทำให้รู้สึกว่านี่มันอะไรกันเนี่ย!
หากมีการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรม การทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงคงปรากฎให้ได้เห็น
เห็นด้วยค่ะ กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ในทางที่ดีกว่า
ครับ เพราะต่างคนต่างมีจุดแข็ง จุดอ่อน ที่แตกต่างกัน ถ้าเราเลือกที่จะนำจุดดีของคนอื่น มาเสริมจุดด้อยของเรา ย่อมเป็นกลวิธีที่ชาญฉลาด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่เดียวครับ