การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน (2)


การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน สามารถทำได้หลายรูปแบบ ซึ่งพอสรุปได้ต่อไปนี้

7.   การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการใช้ระบบช่วยงานคอมพิวเตอร์เพื่อการรับและการส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน  โดยที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เพื่อติดต่อเข้าศูนย์บริการข้อมูล   ในการส่งข้อมูลและข่าวสารนั้น สามารถที่จะส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นอักษร ภาพ และเสียง    เมื่อผู้ส่งข่าวสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตเข้าศูนย์คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลของระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ตนใช้อยู่เพื่อส่งต่อไปยังผู้รับที่ติดต่อ  ทางฝ่ายผู้รับอาจจะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนไว้ตลอดเวลา แล้วตั้งโปรแกรมให้เตือนเมื่อมีข่าวสารส่งเข้ามาโดยที่ผู้รับไม่จำเป็นต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา  หรือถ้าไม่ได้เปิดเครื่องไว้ ข่าวสารที่ส่งมานั้นจะถูกเก็บไว้ในเครื่องบริการที่ผู้รับเป็นสมาชิก  เมื่อผู้รับทราบว่ามีข่าวสารอะไรส่งบ้างก็จะเปิดเครื่องตรวจสอบได้

สถานศึกษาสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์มาเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนได้ในลักษณะดังต่อไปนี้

                  7.1      การอภิปรายกลุ่ม ตามปกติแล้วการอภิปรายในชั้นเรียนจะเป็นการให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน การอภิปรายจึงเป็นกิจกรรมสำคัญในการเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนนั้น แต่การอภิปรายโดยทั่วไปของนักเรียนไทยมักจะใช้วิธีการพูดหรือการแสดงออก การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นการขจัดความกลัวออกไปได้ นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อเรื่องนั้นก็จะสามารถส่งไปได้เลย   การสนทนาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกันจึงคล้ายคลึงกับการอภิปรายในชั้นเรียน  นอกจากเรื่องการขจัดความกลัวแล้วยังขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและยังทำให้ครูสามารถเข้าถึงนักเรียนเป็นรายคนได้

                  7.2      การส่งงานและการติดตามงาน เมื่อครูมอบหมายให้นักเรียนทำตามเวลาที่กำหนดแล้วให้ส่งงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ถ้านักเรียนไม่ส่งครูสามารถติดตามได้โดยไม่ต้องทวงถามในชั้นเรียนให้นักเรียนมีความรู้สึกไม่ดี

 

8.  การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอน

 

                  เนื่องจากเว็บเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพและเป็นแหล่งข้อมูลมหาศาล จึงมีนักการศึกษาพยายามที่จะใช้เว็บเป็นเครื่องมือในการสอน  ซึ่งเรียกการสอนแบบนี้ว่าการสอนบนเว็บ  ซึ่งเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อหลายมิติ (Hypermedia) ที่นำเอาคุณลักษณะเด่นและทรัพยากรต่าง ๆ   ที่มีอยู่ในเว็บมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน และกิจกรรมการเรียนการสอน

                  การสอนบนเว็บสามารถใช้ได้กับทุกวิชาโดยอาจจะใช้สอนทั้งรายวิชาหรือเพื่อประกอบเนื้อหาวิชาการสอน  แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

                  8.1   ใช้เว็บทั้งวิชา เป็นการสอนที่ผู้สอนนำเนื้อหาวิชาและทรัพยากรทั้งหมดนำเสนอไว้บนเว็บ ผู้เรียนจะเรียนผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต การสอนลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้กับระบบการศึกษาทางไกล

                  8.2   ใช้เว็บเสริม เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนและผู้สอนจะพบกันในห้องเรียนแต่เนื้อหาและทรัพยากรหลายอย่างที่สนับสนุนเนื้อหาและกิจกรรมที่จะทำระหว่างเรียน ผู้สอนจะกำหนดไว้บนเว็บผู้เรียนจะต้องไปศึกษาเอง

                  8.3   การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ    บนเว็บเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา วิชาการสอนแบบนี้อาจารย์จะนำเว็บที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชามาเป็นส่วนหนึ่งของวิชา หรืออาจใช้เป็นกิจกรรมการเรียนของวิชาก็ได้ การสอนแบบนี้นักเรียนจะต้องค้นหาข้อมูลศึกษารายละเอียดต่าง ๆ   จากเว็บที่กำหนด

  

9.  การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนการสอน

 

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ  มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอนสั้น ๆ ที่เรียกว่า เฟรมหรือกรอบเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self learning) และควรทำปุ่มควบคุมหรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวนหรือแบบฝึกปฏิบัติรวมทั้งแบบทดสอบ                   

หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอนหรือแต่ละช่วงควรตั้งคำถามเพื่อทบทวนหรือตรวจสอบความเข้าใจในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอให้ผู้เรียน การตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียงหรือคำบรรยายหรือภาพกราฟิกเพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง                

เวลาในการเรียนควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียน เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้น

                  การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสอนหรือมาใช้งาน  สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่

9.1  ใช้สอนแทนผู้สอนทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน บททบทวน และสอนเสริม

9.2  ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่นผ่านดาวเทียม เป็นต้น    

9.3  ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อนไม่สามารถแสดงของจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร   

9.4  ป็นสื่อช่วยสอนการควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ หรือวิชาที่มีอันตรายโดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน  การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่   

9.5  เป็นสื่อแสดงลำดับขั้นของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจนและช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์หรือหัวเทียน

หมายเลขบันทึก: 277827เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2009 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ที่ให้คำแนะนำ

ภาสรัตน์ ม่วงมิตร

ศึกษาแล้วได้รับความรู้ และความเข้าใจดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

นักศึกษา ป.โท ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์สระบุรี รุ่นที่ 3

ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ นักศึกษา ป.โท ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์สระบุรี รุ่นที่ 3

อ่านแล้วค่ะอาจารย์  ขอบคุณมากนะคะ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยค่ะ

ขอบคุณ  สำหรับความรู้ที่ได้รับ  ทำให้โลกของหนูกว้างขึ้นมากเลยคะ

ขอบคุณครับ เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน

มีสอง ตอนนะครับ หาอ่านให้ครบคงจะดี ครับ

เอกพรต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท