แนวทางการปลูกฝังค่านิยม"ร่วม"ในองค์กร


ค่านิยมในองค์กร

       

                       แนวทางการปลูกฝังค่านิยม 'ร่วม' ในองค์กร

             ได้มีโอกาสเข้าไปในเว็ปไซต์ของสำนักงาน กพ. ไปเจอบทความเรื่องหนึ่งชื่อว่า Smart Businessman : ปลูกฝังค่านิยม ร่วมซึ่งเขียนโดย ดร.เกศรา รักชาติ ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เห็นว่ามีประโยชน์และสอดคล้องกับความต้องการในการปลูกฝังวัฒนธรรมของ อย. จึงได้นำมาเผยแพร่ให้ทราบกันโดยทั่วหน้า และหวังว่าจะเป็นส่วนที่ช่วยจุดประกาย ให้ค่านิยมร่วมของ อย.เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น

---------------------------------------------------------------------------------------------

              มีหลายองค์กรที่มีการกำหนดค่านิยมร่วมขององค์กรมาเรียบร้อยแล้วและได้ผ่านช่วงของการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานในองค์กรได้มีการตระหนักรับรู้ (Awareness) ถึงตัวค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรมาเรียบร้อยแล้ว โดยพนักงานส่วนใหญ่รับรู้ รับทราบว่านี่คือค่านิยมองค์กร แต่เป็นที่น่าเสียใจว่าบางองค์กรก็ทำไปอย่างนั้น ทำแบบไฟไหม้ฟาง เห่อกันตอนแรก แล้วอีกซักพักก็จะค่อยๆ แผ่วไป สุดท้ายก็เลิกลากันไป แต่ก็มีบางหน่วยงานที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างเหนียวแน่น ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นมีวิธีการสร้างและรักษากันอย่างไร เรามีข้อแนะนำมาเสนอให้ทราบ

        ประการแรก ทุกครั้งที่มีการประชุมของทีมตนเองก่อนเริ่มประชุมควรพูดเปิดโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ ค่านิยมร่วม หรือวัฒนธรรมองค์กร โดยใช้เวลาประมาณ 3-5 นาที ก่อนเข้าเนื้อหาการประชุม ยกตัวอย่าง เช่นบริษัทบางแห่ง มีค่านิยมเรื่อง ความปลอดภัยหรือ Safety ดังนั้นก่อนเริ่มประชุมจะมีการแจ้งทุกครั้งว่าหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น ขอให้ทุกคนอยู่ในความสงบและรอฟังเสียงสัญญาณอพยพ และแจ้งทางหนีไฟให้ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างละเอียด และให้ไปรวมพลกันที่ไหน องค์กรแห่งนี้จะแจ้งเรื่องนี้ทุกๆ ครั้งไม่ว่าจะเป็นการประชุมที่มีการดำเนินการในหรือนอกสถานที่อีกองค์กรหนึ่งก่อนการประชุม CEO จะขอให้ผู้เข้าร่วมประชุมปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ โดย CEOเอาโทรศัพท์ของตนเองปิดให้ดูด้วย และขอไม่ไห้มีการรับโทรศัพท์ขณะประชุม เพราะต้องการให้ผู้เข้าร่วมประชุมจดจ่ออยู่กับการประชุม และเป็นการฝึกค่านิยมร่วมคือการเคารพต่อซึ่งกันและกันด้วย (Mutual Respect)

            ประการที่สอง ผู้จัดการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในหน่วยงาน หรือองค์กร ที่สามารถสื่อถึง การปฏิบัติ

ตามวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนกัน หรือเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทำการเล่าถึงประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบ้างและต้องให้ feedback ที่เหมาะสมกับผู้ที่ได้ทำตามวัฒนธรรมองค์กรด้วย

      ประการที่สาม จัดทำป้าย Ground Rules ติดไว้ในห้องประชุมประมาณ 3-4 ป้ายในห้องประชุม โดยเขียนพฤติกรรมที่สำคัญบางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กรเอาไว้ เพื่อจะได้ตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจน โดยอาจจะมีการเปลี่ยนรูปแบบของป้ายบ้างเพื่อจะได้รู้สึกไม่น่าเบื่อ หรือเห็นจนชาชิน แล้วมองข้ามGround Rules ไป

       ประการที่สี่ ก่อนออกจากห้องประชุมหรือทุกครั้งที่มีโอกาสอย่าลืมทำการเน้นย้ำ และกระตุ้นเตือนให้พนักงานทุกคนร่วมมือในการปฏิบัติตามค่านิยมร่วมหรือวัฒนธรรมองค์กร อย่างสม่ำเสมอ

      ประการที่ห้า ทำตัวให้พนักงานเห็นเป็นตัวอย่าง เสมอๆ ในการเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตามค่านิยมร่วมหรือเป็น Role Modelส่วนพนักงานเองก็ใช่ว่าจะเฝ้ามองและรอให้ผู้บริหารทำก่อนแล้วตัวเองถึงจะลงมือทำในเรื่องการ

ปฏิบัติตามค่านิยมหรือวัฒนธรรมองค์กร ดังนั้นหากอยู่ในองค์กรที่ได้กำหนดค่านิยมร่วมขึ้นมาแล้ว ในฐานะที่เป็นพนักงานคนหนึ่ง สิ่งที่เราต้องทำคือ หยิบเอาคู่มือค่านิยมร่วมหรือคู่มือวัฒนธรรมองค์กรมาอ่าน มาทบทวนว่าพฤติกรรมที่องค์กรกำหนดเอาไว้ในแต่ละค่านิยมมีอะไรบ้าง ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เมื่อรู้ว่าตัวเราในฐานะที่เป็นพนักงานขององค์กรนี้ถูกคาดหวังว่าต้องทำอะไร อย่างไรในที่ทำงาน (I know whatis expected of me at work) ก็ต้อง "ลงมือ" ทำตามที่ถูกคาดหวัง เพราะองค์กรจ้างเรามา จ่ายเงินเดือนให้เราเขามีสิทธิที่จะคาดหวังให้ทำตามพฤติกรรมที่ได้กำหนดไว้ในค่านิยมร่วม หากเราในฐานะที่เป็นทั้งผู้บริหารและพนักงานได้ อ่านและพิจารณาพฤติกรรมที่องค์กรได้กำหนดไว้ในคู่มือค่านิยมร่วมดีๆ แล้ว เราจะเห็นว่าแต่ละองค์กรก็มุ่งเน้นและเคารพพนักงานของตัวเองเป็นมนุษย์ทำงานที่มีคุณค่าทั้งนั้น ที่ผ่านมายังไม่เคยเห็นองค์กรไหนกำหนดค่านิยมร่วมที่สอนให้พนักงานตนเองเป็นคนไม่ดีเลย ก็ขอให้พวกเรามนุษย์ทำงานมาสืบสานปณิธานสู่การทำงานอย่างมีความสุขกันเถอะไม่ยากเลยถ้าพวกเราร่วมมือร่วมแรงในการที่จะพัฒนาและปลูกฝังค่านิยมร่วมขององค์กรเรามาเริ่มต้นกันเลยดีมั๊ย………………

ข้อคิดเห็น  การทำงานด้วยความร่วมมือร่วมใจกัน ทุกคนมีความตระหนัก ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน และสามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้ในองค์กรเดียวกัน เป็นค่านิยมที่ดี น่านำไปใช้ในองค์กรนั้นๆ

ที่มา  เว็ปไซต์ของสำนักงาน กพ. โดย ดร.เกศรา  รักชาติ

หมายเลขบันทึก: 276722เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

จริงด้วยนะ นี่แหละ...ไทยแท้ แม่นๆๆ

ถ้าเราสามารถนำไปประยุกต์ในโรงเรียนบ้างก็เป็นวัฒนธรรมที่ดีมากๆเลยคะ เห็นด้วยค่ะ น้องนางบ้านน

                                         

นับว่าเป็นสิ่งที่น่าคิดนะ บางคนพอเข้าเรื่อง ประชุมอบรมอะไรสักอย่าง จะเริ่มด้วยแนะนำสถานที่ หอ้งน้ำ อะไรพวกนี้ พอพูดถึง เรือง safety ไม่ค่อยมีใตรนึกถึง นะตะจะลองนำไปสอนเด็ก ๆ ดู อิอิ

มาเยี่ยมชมผลงาน สมบูรณ์แล้วครับมีบทสรุปด้วย

บทความมีประโยชน์มากเลยค่ะ ค่านิยมที่ดีย่อมทำให้องค์กรพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ

พี่พรรณีคะครูเปิ้ลอ่านแล้วบทความของพี่ให้ความรู้ดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท