ศูนย์ กศน. ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ
นาง พัชรินทร์ ศูนย์ กศน. ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ พันธุ์นา สกลุเดิม มาลากอง

ศูนย์ กศน. ต.ท่าหินโงม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ


หัวหน้าศูนย์ กศน.ตำบลท่าหินโงม อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ
สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ
Username
putcharinphannaksn
สมาชิกเลขที่
76307
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

สวัสดีค่ะ

 เพื่อน ครู  ศรช. ขอแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่  หัวหน้าศูนย์  กศน. ทุกตำบลในจังหวัดชัยภุมิ  วันนี้  27  ตุลาคม  2552 ได้รับฟังนโยบาย  จากผู้อำนวยการ  สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชัยภูมิ 

 นายสุประณีต  ยศกลาง  ซึ่งย้ายมาดำรงตำแหน่ง  แทน ว่าที่ร้อยโท  โกศัลย์  ตั้งใจ  ที่ไปดำรงตำแหน่ง  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดขอนแก่น 

ในปีงบประมาณ  2553  ชาว ศรช. ในจังหวัดชัยภุมิ  ล้วนตั้งใจในการปฏิบัติงาน และเป้าหมายคือ พนักงานราชการ  และสาย  การเมือง 

 นายประเสริฐ  บุญเรือง  ได้เป็นแกนหลัก  ให้น้อง ๆ ที่ปฏิบัติงาน  ศรช.  ต่าง มุ่งมั่น  และมองเห็นแสงสว่าง ปลายอุโมง  ขอเป็นกำลังใจ  ให้ทุกท่าน  นะคะ  ในการปฏิบัติงาน  ถ้าท่านทำอย่างมีควมสุข  ขอให้ตั้งใจทำต่อไป 

ความดีที่บางท่านสะสมมา เห็นว่า  บางท่าน  18 ปี  คงมีความหวัง นะคะ  ส่วนท่านที่เข้าชม เว็บซ์บล็อก ครู พัชรินทร์  พันธุ์นา

ถ้าจะกรุณา  คอมเม้นส์  มาบ้าง  ความคิดเห็นของท่าน  อาจเป็นประโยชน์ ต่อวงการ ศึกษา  นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยบ้างไม่มากก็น้อย  และในพื้นที่ตำบลท่าหินโงม  ที่ครูพัชรินทร์  ปฏิบัติงานในพื้นที่  ช่วงที่มีการเปลี่ยน  ผู้บริหารท้องถิ่น  โชคดี ที่ 

 นางเลอลักษณ์ ยืนชีวิต  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหินโงม  เข้ามานั่งเก้าอี้ผู้บริหาร ได้เหมือนเดิม ด้วยคะแนนแสงท่วมท้น ลอยลำ

และเมื่อวันที่  18  พฤศจิกายน  2552  ได้มีพิธีปฐมนิเทศ  นักศึกษา  กศน. ภาคเรียนที่  2ปีการศึกษา  2552  นายก  อบต.ได้มอบสื่อ ครุภัณฑให้  กศน.  นักศึกษา กศน. ทุกคน ได้แสดงออกการขอบคุณ อบต.ท่าหินโงม  และมอบหมอนสม๊อค ให้ นายก  และ รองนายก  อบต. คือนางอรนุช  ปาสาจัง  ขอบคุณอีกครั้งค่ะ   

   รู้จัก ศูนย์ กศน. ตำบลท่าหินโงม ที่คุณครูพัชรินทร์ ทำงานอยุ๋  เชิญ ค่ะ  

 สภาพทั่วไปของศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม จัดตั้งเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2543 โดยนายปราโมทย์ สุวรรศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัด ตามคำสั่งกรมการศึกษานอกโรงเรียนที่ 348/2542 ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2542 เรื่องมอบอำนาจให้จัดตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชน จัดกระบวนการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐานสายสามัญ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ การศึกษานอกโรงเรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ในครั้งแรกที่เปิด ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม ได้มีหลักเกณฑ์การคัดเลือกและแต่งตั้ง ครู ศรช. ตามคำสั่ง กรมที่ 347/2542 โดยศูนย์การเรียนชุมชนจะ มีครูปฏิบัติหน้าที่ 1 รายต่อศูนย์การเรียน ตั้งแต่จัดตั้ง รับผิดชอบ 11 หมู่บ้าน มีครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม ดังนี้ ปีการศึกษา 1 / 2544 - 2545 นางสาวชลลัดดา ขุนพรหม ปีการศึกษา 1 / 2546 - 2547 นายสุพจน์ ราศรี ปีการศึกษา 1 / 2548 ถึงปัจจุบันปีการศึกษา 1/2552 นางพัชรินทร์ พันธุ์นา ในภาคเรียนที่ 1/2552 มีนักศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 45 คน มีนักศึกษาสายสามัญระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 84 คน รวมนักศึกษา 129 คน ผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยออำเภอเมืองชัยภูมิ นายชวน มณีวรรณ

 

ประวัติบ้านท่าหินโงม หมู่ที่ 1 บ้านท่าหินโงม ต.ท่าหินโงม อ.เมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ มีดังนี้ ประวัติบ้านท่าหินโงม ประวัติความเป็นมา พื้นที่บ้านท่าหินโงมแต่เดิมตั้งอยู่ตรงเขื่อนน้อยบริเวณที่จะข้ามไปบ้านห้วยผักหนาม เป็นบริเวณที่ลุ่มเกิดน้ำท่วมบ่อย ประชาชนจึงย้ายขึ้นไปข้างบนคือบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านในปัจจุบันการย้ายถิ่นฐานนำโดย นายบัว และนางเคี้ยม ได้อพยพมาจากบ้านตาดโตนและมีครอบครัวอื่นตามมาเรื่อย ๆ เดิมหมู่บ้านมีสภาพเป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก มีสัตว์ป่าเต็มไปหมด สาเหตุของความอุดมสมบูรณ์ทำให้ผู้คนได้อพยพขึ้นมาอาศัยโดยเดินตามทางรถลากไม้ เข้ามาจับจองที่ดิน ตามเส้นทางเพื่อนำท่อนไม้ไปส่งที่โรงเลื่อยในตัวจังหวัดชัยภูมิ บ้านท่าหินโงมแยกจากบ้านตาดโตน มาเป็นหมู่ที่ 13 ต.นาฝาย อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พุทธศักราช 2511 บ้านท่าหินโงม มีพื้นที่ตั้งอยู่บนหุบเขาภูแลนคาพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดชันมีตำนานเล่าขานกันว่า แต่ก่อนบ้านท่าหินโงมมีพื้นที่ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์มากชาวบ้านได้มาตัดไม้เพื่อนำไปจำหน่าย ผู้เฒ่าสมัยก่อนการจุดไฟจะใช้ไม้ไผ่แห้งมาสีกันไปมา เพื่อให้ร้อนและเกิดประกายไฟ ต่อมาได้มีการผลิตหินเหล็กไฟ สามารถใช้จุดไฟได้ ผู้เฒ่าตนดังกล่าวได้พักเหนื่อยมีความต้องการสูบบุหรี่ ได้นำก้อนหินมากระทบกันเพื่อให้เกิดประกายไฟ ก้อนหินหล่นลงไปในน้ำผู้เฒ่าได้ลงไป งม (คำว่า งม เป็นคำกริยา ในภาษาภาคอีสาน แปลว่า ค้นหา ) จึงเป็นที่มาของคำว่า “ ท่า งม หิน” ต่อมาชุมชนได้รับการยกระดับขึ้นเป็นหมู่บ้าน และทางราชการได้จัดตั้งขึ้นเป็นตำบลจึงเปลี่ยนคำลงท้ายจากเดิมสลับกันไปมา จาก “ท่า งม หิน” เป็น “ท่า หิน โงม” ทำให้ชื่อตำบลนี้มีชื่อว่า ตำบลท่าหินโงม จนถึงปัจจุบัน กำนันตำบลท่าหินโงม คนแรก นายสนาม ยืนชีวิต บุตรนายบัว และ นางเคี้ยม ผู้ใหญ่บ้าน คนแรก นายฝัก กองโพธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน 2548-2552 นายประเทือง ชาญเขว้า ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน(พ.ศ.2552) นายอุทิศ ลาดจันทึก (ที่มา : จากการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ ปราชญ์ เพื่อทำเป็นรายงานส่ง นางพัชรินทร์ พันธุ์นา ครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม โดยนักศึกษา กศน.ปี 2548 ชื่อ นายพรประสิทธิ์ สมัตถะ, นายประเทือง ชาญเขว้า,นายสัมฤทธิ์ ศรีนางใย ,นางสาวศิริรัตน์ ทองระหาญ และจากป้ายประชาสัมพันธ์การจัดทำแผนชุมชน หมู่ที่ 1 กองทุนแม่ของแผ่นดิน ณ อาคารอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้านท่าหินโงม ) สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูแลนคาห่างจากตัวเมืองชัยภูมิไปทางทิศเหนือ 32 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ มีอาชีพทำไร่มันสำปะหลัง ไร่สับปะรด ไร่อ้อย สวนยางพารา ทำการประมงได้เพราะมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่คือเขื่อนลำปะทาว ภูมิประเทศ ส่วนใหญ่เป็นหุบเขา และ ภูเขาลูกเตี้ย ๆ สูงลาดชัน ภูมิอากาศ อากาศเย็น มีลมพัด ปลอดโปร่ง โล่งสบาย อาณาเขต ทิศเหนือ จด บ้านห้วยผักหนาม ทิศใต้ จด บ้านใหม่บัวงาม ทิศตะวันออก จด บ้านหลุบช้างพลาย ทิศตะวันตก จด บ้านแจ้งเจริญ ครัวเรือน และ ประชากร จำนวนครัวเรือน 147 ครัวเรือน ประชากร 750 คน จากการสำรวจ จปฐ.ปีพุทธศักราช 2548 ประชากร เพศชาย 300 คน ประชากร เพศหญิง 450 คน การประกอบอาชีพ -อาชีพเกษตรกรรม ประมาณ ร้อยละ 70 -อาชีพรับจ้างทั่วไป ประมาณ ร้อยละ 20 -อื่น ๆ ประมาณ ร้อยละ 10 เศรษฐกิจรายได้ประชากร -รายได้ประชากรโดยเฉลี่ยตาม ข้อมูล จปฐ. ปี พุทธศักราช 2548 25,000.- บาท ต่อคน/ ต่อปี สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน -โรงเรียนบ้านท่าหินโงม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 -ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองชัยภูมิ -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลท่าหินโงม สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าหินโงม -องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหินโงม สังกัดสำนักงานปกครองท้องถิ่นอำเภอเมืองชัยภูมิ -สถานีอนามัยประจำตำบลท่าหินโงม สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ -สถานีตำรวจประจำตำบลท่าหินโงม สังกัดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองชัยภูมิ -วัดคีรีบรรพต -วัดป่าประจงจิต ข้อมูลด้านการคมนาคม การเดินทางจาก ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองชัยภูมิ สู่หมู่บ้านท่าหินโงม ระยะทาง 32 กิโลเมตรจากตัวจังหวัดชัยภูมิ ถึงสี่แยกบ้านช่อระกา ถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ถึงสามแยกทางเข้าน้ำตกตาดโตนให้เลี้ยวซ้าย ถึงสถานีดับไฟป่า ช่วงนี้จะเป็นทางคดเคี้ยว ขึ้นไหล่เขา ถนนลาดยางแอลฟัลท์อย่างดี เส้นทาง สะดวก จากสถานีดับไฟป่าเส้นทางคดเคี้ยวบ้างเล็กน้อย ถึงบ้านห้วยหมากแดง หมู่ 3 ตรงมาถึงบ้านใหม่บัวงาม หมู่ 7 ถึงวัดคีรีบรรพต ถึงโรงเรียนบ้านท่าหินโงม ถึง องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหินโงม ตรงมาถึงศูนย์การเรียนชุมชนบ้านท่าหินโงม ข้อมูลด้านสาธารณูปโภค -ไฟฟ้า มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า 120 ครัวเรือน -โทรศัพท์ มีครัวเรือนที่ใช้โทรศัพท์ 120 ครัวเรือน แหล่งน้ำ -แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ห้วยลำปะทาว -แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น เขื่อนลำปะทาว บ่อโยกน้ำบาดาล ติดศูนย์การเรียนชุมชนท่าหินโงม ข้อมูลการเมือง การปกครอง การบริหาร 1.ผู้ใหญ่บ้าน นายอุทิศ ลาดจันทึก 2.ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นายสันติชน มัยพล , นายปรีชา กิจกระจ่าง 3.สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล นายเกียงศักดิ์ ชนะหาร ,นางลาวัลย์ ศรีนอก ข้อมูลเมื่อ(6 สิงหาคม 2552) 4.ประธาน อาสาพัฒนาชุมชน นายวิสัน เสนาจ 5.ประธาน อาสาสมัครสาธารณสุข นายกินรอน แก้วขวาน้อย 6.ประธาน ประชาคมหมู่บ้าน นายประเทือง ชาญเขว้า 7.ประธาน ชุมชนเข้มแข็ง นายนิเวช กองโพธิ์ 8.ประธาน คณะกรรมการ การพัฒนาสตรีหมู่บ้าน นางห่วง หาญสมัคร 9.ประธาน คณะกรรมการ กองทุนหมู่บ้าน นายสิงห์ทอง ตั้งใจ 10.ประธาน คณะกรรมการ เยาวชนหมู่บ้าน นายไพรัตน์ ลาดจันทึก 11.ประธาน คณะกรรมการ กองทุนแม่ของแผ่นดิน นายจันทร์ มัยพล ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชุมชน 1.ชื่อผลิตภัณฑ์ หน่อไม้อัดปี๊บ โดยนายสุด สะวันนา 2.ชื่อผลิตภัณฑ์ ไพหญ้า(การนำหญ้าคามาทำเป็นแผ่น ๆ เพื่อมุงหลังคา )โดยนายหนา จาดนอก 3.ชื่อผลิตภัณฑ์ ปลาเส้น(นำปลานิลมาแล่เป็นริ้วหมักซ็อสตากแห้ง)โดยนางละเอียดโชคสวัสดิ์ 4.ชื่อผลิตภัณฑ์ การทำปลาร้า จากปลานิล นางทองศรี ลาดจันทึก จุดอ่อนในการพัฒนาหมู่บ้าน 1.ชาวบ้านไม่มีการร่วมกลุ่มในการประกอบอาชีพ 2.เยาวชนให้ความสนใจน้อยเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้าน จุดแข็งในการพัฒนาหมู่บ้าน 1.มีภูมิปัญญา และนักปราชญ์ในหมู่บ้าน 2.มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ 3.มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือเขื่อนลำปะทาว จะมีน้ำปริมาณมากในฤดูฝน 4.มีผู้นำที่มีความสามารถ 5.มีความสามัคคีในหมู่บ้า โอกาสในการพัฒนาของหมู่บ้าน 1.สามารถพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน 2.สามารถพัฒนาเป็นหมู่บ้านต้นแบบ ในการพัฒนาแบบยั่งยืน 3.สามารถพัฒนาเป็นหมู่บ้านการท่องเที่ยว อุปสรรคในการพัฒนาของหมู่บ้าน 1.ขาดงบประมาณในการสนับสนุน และพัฒนาหมู่บ้าน ปัญหาของชุมชน ปัญหา สภาพปัญหา / รายละเอียดของปัญหา ปัญหาด้านเศรษฐกิจ -ขาดอาชีพเสริม -ชาวบ้านไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว ปัญหาด้านสังคม -ที่อ่านหนังสือ -ที่ออกกำลังกาย -ไม่มีที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน -ไม่มีที่ออกกำลังกาย ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน -การคมนาคมไม่สะดวก -การโทรคมนาคมติดขัด -การไฟฟ้าไม่ทั่วถึง -การประปาในหมู่บ้าน -ถนนหลักเป็นทางราดยางไม่มีไหล่ถนน -ไม่เพียงพอต่อการใช้บริการ -น้ำไหลไม่สะดวก ปัญหาด้านแหล่งน้ำ -ลำห้วยตื้นเขินในฤดูแล้ง -ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค ไม่มีฝายเก็บกักน้ำ ปัญหาด้านสาธารณสุข -ขาดหมอประจำอนามัย -ขาดรถฉุกเฉิน -ไม่มีหมออยู่ในเวลากลางคืน -ไม่มีรถฉุกเฉินส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลชัยภูมิ ปัญหาด้านการเมือง/การบริหาร(ไม่มี) ปัญหาด้านการศึกษา ศาสนา สังคม -เยาวชนไม่สนใจในขนบธรรมเนียมประเพณี -ขาดพระสงฆ์ประจำวัด ชาวบ้านเริ่มห่างวัด ขาดการสืบทอดประเพณีที่ดีงาม ปัญหาด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม -ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก -สารเคมีตกค้างในดิน -ประชาชนใช้สารเคมีในการปราบศัตรูพืชมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท