การสนทนากลุ่ม (Focus group)


การสนทนากลุ่ม

(Focus Group)

 

ความเป็นมา

การสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1939-1945) โดยนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศในช่วงนั้น พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ค.ศ. 1946 ได้มีการนำมาใช้ในกลุ่มที่ทำงานทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มีลักษณะเป็นการสนทนาถกแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาที่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะบางประเด็นของผู้จัด (Organizer) โดยกลุ่มคนที่เข้าร่วมประมาณ 8-10 คน ซึ่งเรียกว่า เป็น Participants หรือ Respondents โดย ผู้ที่จะเข้าร่วมการทำ Focus group จะได้รับการคัดเลือก (Screen) ตามเงื่อนไขมาอย่างดี (กรมการพัฒนาชุมชน, ม.ป.ป. เว็บไซต์)

               

ความหมายของการสนทนากลุ่ม

                สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สำนักงาน สกว.] (2551. เว็บไซต์) ได้ให้ความหมายของการสนทนากลุ่มไว้ว่า การสนทนากลุ่ม หมายถึงการรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง โดยมีผู้เข้าร่วมสนทนาในแต่ละกลุ่มประมาณ 6-10 คน ซึ่งเลือกมาจากประชากรเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้

                วานิช มาลัยและอรสา ปานขาว (2548) ได้ให้ความหมายไว้ว่า การสนทนากลุมเปนรูปแบบการสัมภาษณชนิดหนึ่งที่ใชสําหรับผูที่ถูกสัมภาษณกลุมเล็กๆ มักใชเก็บรวบรวมขอมูลในกรณีที่

ตองการไดขอมูลจากการพิจารณากลุมบุคคลที่เกี่ยวของกับปญหา ผูที่นํามาใชในการทําสนทนา

กลุมจะเปนบุคคลที่ผูศึกษาคาดวาจะเปนผูที่สามารถใหขอมูลที่เกี่ยวของกับเรื่องที่ตองการศึกษาไดเปนอยางดี โดยปกติจะใช ผูเขารวมสนทนาประมาณ  8-12 คน หากใชจํานวนนอยกวา 8 คน จะถือวากลุ่มตัวอยางยังไมเปนตัวแทน  แตถาใชมากกวา 12 คน จะทําใหเกิดปญหายุงยากในการดําเนินงาน

                เกษมสิงห์ เฟื่องฟู และคณะ (2551. เว็บไซต์) ได้กว่าวไว้ว่า การจัดสนทนากลุม คือ  การที่จัดใหมีกลุมคนที่เปนผูรูมีลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม อาชีพ หรือ คุณลักษณะภูมิหลังตางๆ ที่ใกลเคียงกันที่สุด และคาดวาเปนกลุมที่สามารถตอบประเด็นคําถาม  ที่นักวิจัยสนใจไดดีที่สุด มีสมาชิกที่เขารวมกลุม มีจํานวน 7-8 คน  เปนกลุมที่มีลักษณะโตตอบและโตแยงกันดีที่สุด  กอใหเกิดการสนทนา  ที่เปดกวางที่จะใหทุกคนไมอายคน วิพากษวิจารณไดดีที่สุด สวนในกรณีทีมีสมาชิก 9-12 คน ซึ่งเปนกลุมใหญ่วงสนทนาอาจจะมีการแบงกลุมยอย หันหนาเขาสนทนากันเอง แตในกรณีนี้อาจจะลําบากในการนั่งสนทนาเปนกลุม และยากตอการสรุปประเด็นปญหาหรือวิเคราะหขอมูล

                สรุปแล้ว การสนทนากลุ่ม (Focus group) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนาของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถให้คำตอบในประเด็นที่ต้องการศึกษาได้ โดยจัดให้มีกลุ่มสนทนาประมาณ 6-12 คน ซึ่งกลุ่มที่จะมีลักษณะโต้ตอบโต้แย้งกันดีที่สุดคือ 7-8 คน และจะต้องมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง

 

หลักการของการสนทนากลุ่ม

                วิธีเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดให้คนที่เลือกจากประชากรที่ต้องการศึกษาจำนวนไม่มากนักมาร่วมวงสนทนากัน เพื่ออภิปรายพูดคุยกัน โดยมุ่งประเด็นการสนทนาไปยังเรื่องที่สนใจศึกษาในการจัดการสนทนากลุ่มอย่างเป็นระบบ อาจเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจำนวน 7-12 คน ที่มีลักษณะบางประชากร สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ระหว่างพูดคุย มีพิธีกรเป็นผู้ดำเนินรายการ มีผู้จดบันทึกเป็นผู้จดย่อเนื้อหาการสนทนา และมีเทปบันทึกเสียงบันทึกรายละเอียดของการพูดคุย เมื่อเสร็จสิ้นการสนทนา ผู้บันทึกจะถอดรายละเอียดจากเทปที่บันทึกไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ต่อไป (กรมการพัฒนาชุมชน, 2551. เว็บไซต์)

                ลักษณะสำคัญของการสนทนากลุ่ม คือ ต้องกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ ขนาดสมาชิกที่เหมาะสมคือ 6-12 คน ที่ไม่รู้จักมาก่อน เลือกมาเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะกับประเด็นสนทนา กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์กำหนดไว้ล่วงหน้า ว่าใคร สัมภาษณ์ประเด็นอะไร

                หัวใจสำคัญของการสนทนากลุ่มคือ

·       ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator)

·       ผู้จดบันทึก (Note taker)

·       เอกพันธ์ (Homogeneous members) ลักษณะคล้ายคลึงกันของสมาชิกผู้เข้าร่วมสนทนา อาทิ เพศ เชื้อชาติ อายุ อาชีพ สถานะภาพสมรส

·       แต่ละหัวข้อคำถามควรถามอย่างน้อย 2 กลุ่ม (At least two group for each type of respondent interviewed)

·       ข้อมูลควรวิเคราะห์โดยกลุ่ม (Data should be analyzed by group)

องค์ประกอบในการจัดสนทนากลุ่ม

·       ผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator / Researcher)

·       ผู้จดบันทึก (Note Taker) ทำแผนผังเลขที่นั่ง จดเฉพาะคำต้นๆ ของผู้สนทนา

·       สถานที่ (Location)

·       อุปกรณ์ (Instrument – tape recorder)

·       ระยะเวลา (Duration) ไม่ควรเกิน 3 ชั่วโมง

·       แนวคำถาม

·       เครื่องดื่ม ของขบเคี้ยว (เล็กน้อย)

ประโยชนของการจัดการสนทนากลุ่ม

1.             ใช้ในการศึกษาความคิดเห็น ทัศนคติ ความรู้สึก การรับรู้ ความเชื่อ และพฤติกรรม

2.             ใช้ในการกำหนดสมมติฐานใหม่ๆ

3.             ใช้ในการกำหนดคำถามต่างๆที่ใช้ในแบบสอบถาม

4.             ใช้ค้นหาคำตอบที่ยังคลุมเครือ หรือยังไม่แน่ชัดของการวิจัยแบบสำรวจ เพื่อช่วยให้งานวิจัยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

5.             ใช้ในการประเมินผลทางด้านธุรกิจ

คำสำคัญ (Tags): #การสนทนากลุ่ม
หมายเลขบันทึก: 276715เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2009 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท