“ชาติจะเป็นอย่างไร... ถ้าการศึกษาไทยไม่เปลี่ยน” (๑)


 

โรงเรียนเพลินพัฒนา ร่วมกับเครือข่ายโรงเรียนไทยไท  อันประกอบไปด้วย โรงเรียนรุ่งอรุณ  โรงเรียนทอสี  โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โรงเรียนสยามสามไตร โรงเรียนวรรณสว่างจิต  โรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย)  โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก   โรงเรียนสัตยาไส โรงเรียนนานาชาติเมธา โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก และ โรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศก

 

ร่วมกันจัดการเสวนาในงาน เวทีเพลินพัฒนาวิชาการ ครั้งที่   ในหัวข้อ   ชาติจะเป็นอย่างไร...ถ้าการศึกษาไทยไม่เปลี่ยน    เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐  กรกฎาคม  ๒๕๕๒       เวลา  ๑๓.๐๐ ๑๗.๐๐ น.   ณ ห้อง Meeting Room ๔ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (ภายในบริเวณงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน)

 

 

วิทยากร     : 

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์          ประธานคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ ๒

รศ.ประภาภัทร  นิยม            ผู้แทนเครือข่ายโรงเรียนไทยไท / ผู้ก่อตั้งโรงเรียนรุ่งอรุณ

คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง         รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คุณสุภาวดี หาญเมธี             ประธานกรรมการบริหาร รักลูกกรุ๊ป / ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนเพลินพัฒนา

อ.กรองทอง บุญประคอง       ผู้อำนวยการโรงเรียนเพลินพัฒนา และผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนจิตตเมตต์(ปฐมวัย)

 

 

 

ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์    กล่าวนำเป็นท่านแรกว่าการศึกษาอยู่ที่ตัวผู้เรียน ไม่ใช่รูปแบบการเรียนรู้ และการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นก็ต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับธรรมชาติด้วย

 

การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ ๒ เป็นการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ทั้งในเรื่องของคุณภาพ และการขยายขอบเขตของการเรียนรู้ให้กว้างขวางออกไป โดยเน้นที่การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และการดึงพลังจากเครือข่ายนอกระบบการศึกษาให้เข้ามาหนุนเสริม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ประเด็นหลักที่จะนำสู่วิสัยทัศน์ของการปฏิรูปดังกล่าว คือ ประเด็น ๓ ใหม่ ได้แก่ คุณภาพคนไทยยุคใหม่ ครูยุคใหม่ และ ระบบบริหารจัดการใหม่

 

สุดท้ายอาจารย์ได้เน้นย้ำว่า ระบบปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงระบบหนึ่งที่ต้องยึดโยงกับระบบอื่นๆ และต้องเคลื่อนไปด้วยกันทั้งสังคม

 

 

การสะท้อนความคิดเห็นในช่วงแรก

 

คุณบัญชา เฉลิมชัยกิจ เจ้าของสำนักพิมพ์สุขภาพใจ  ท่านพุทธทาสแนะว่าให้สอนโลกุตรธรรมตั้งแต่อนุบาล ให้เด็กได้รู้ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)  รู้จักขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ปฏิจจสมุปบาท (การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น) เพื่อให้เขาเกิดปัญญารู้เท่าทันความเป็นไปของชีวิต

 

คุณสุนีย์ บันโนะ  ผู้ปกครองโรงเรียนเพลินพัฒนา ทฤษฎีที่ได้ฟังเป็นภาพใหญ่มาก เข้าไม่ค่อยถึง ไม่รู้จะเข้าไปช่วยอย่างไร อยากให้ช่วยย่อยบทบาท ที่ผ่านมาเป็นเพราะนักวิชาการส่งผลสะท้อนออกมาได้ไม่ชัดไหม จึงไม่ค่อยมีใครได้รู้ว่าประเทศเราต้องการบุคลากรสาขาไหน จะเชื่อมโยงกันอย่างไร ช่วยกันอย่างไรให้เกิดผลที่ชาติของเราต้องการ

 

ครูในโรงเรียนก็สร้างเด็กได้ไม่ตรงกับนโยบายหลัก เกิดความฟุ่มเฟือยทางความคิด ไม่มืออาชีพสักอย่าง ตอนนี้ในฐานะแม่ ต้องพยายามสร้างคุณลักษณะที่ไม่มีในวัฒนธรรมไทยให้กับลูก เช่น การไม่ละทิ้งอะไรกลางคัน อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ ไม่แปลกแยก

 

คุณกวิน ชุติมา ผู้ปกครองโรงเรียนเพลินพัฒนา เร็วๆ นี้เห็นข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ว่า คนไทยเห็นการคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องธรรมดา รับได้ รู้อย่างนี้แล้วก็พอจะมองเห็นอนาคตของประเทศ

 

ได้ฟังวิสัยทัศน์ของการปฏิรูปฯรอบสองว่า คือ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ แล้วก็เป็นห่วงว่าทุกวันนี้คนเก่งมีมาก แต่คนดีหายาก โรงเรียนสัตยาไสสร้างคนดี มีสติ มีปัญญา แล้วเก่งเอง เห็นด้วยที่มีผู้เสนอแนะว่าเราต้องสอนโลกุตรธรรมให้กับเด็ก

 

เป้าหมายสูงสุดของการจัดการศึกษาตามเจตนารมย์ของเครือข่ายโรงเรียนไทยไท คือ การนำคุณค่าอันประเสริฐของมนุษย์มาถักทอกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใหญ่จะสร้างเงื่อนไขเอื้ออำนวยอย่างไรให้เด็กเป็นคนดี แน่นอนว่าครูต้องเป็นคนดีด้วย

หมายเลขบันทึก: 276117เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2009 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผู้ใหญ่จะสร้างเงื่อนไขเอื้ออำนวยอย่างไรให้เด็กเป็นคนดี

    ผมว่าตรงนี้แหละครับ เป็นทั้งคำถามและคำตอบของการปฏิรูปการศึกษา

                 ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

การศึกษาไทยไม่พัฒนา สังคมไทยเลยเสื่อมโทรม

ได้อยู่ร่วมในงานนี้ด้วย

รู้สึกดีใจที่พ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ได้ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นเรื่องการศึกษาและการเรียนรู้กันอย่างคึกคัก

เป็นอีกหนึ่งเวทีที่เปิดโอกาสให้หลายภาคส่วนในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการศึกษาของชาติ สอดคล้องกับที่ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ กล่าวเน้นย้ำว่า

"ระบบปฏิรูปการศึกษาเป็นเพียงระบบหนึ่งที่ต้องยึดโยงกับระบบอื่นๆ และต้องเคลื่อนไปด้วยกันทั้งสังคม"

"ชาติจะเป็นอย่างไร..ถ้าการศึกษาไม่เปลี่ยน"

  • การศึกษาจะไปในทิศทางใดขึ้นกับหลายปัจจัย
  • ปัจจัยที่ดี กระบวนการดี...สุดท้ายผลผลิตออกมาดี
  • แต่อย่างที่เรารู้ เราพบเห็นกันอยู่... คงต้องใช้เวลาในการฝ่าฟัน
  • อย่างครูวิมลศรีสรุปมานะค่ะ...ต้องขับเคลื่อนกันทุกคน เพราะ education for all

 

ใครจะเป็นคนเปลี่ยน แล้ว เปลี่ยนไปอย่างไร คิดอีกนานนะครับ คำตอบอาจไม่ยาก แต่ระยะเวลาที่จะเดินไปถึง ไม่ส้นแน่ๆ

อยากให้ท่านทั้งหลายที่อ่านพบ ลองไปศึกษาประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ตั้งแต่ที่พอจะมีบันทึก สมัยสุโขทัย อยุธยา ต้นรัตนโกสินทร์ เราคงพอจะรู้พื้นฐานการศึกกษาไทบ แต่มาถึงตอนกลางรัตนโกสินทร์ เริ่มมีอิธิพลของการศึกษาแนวคิดตะวันตก และก็มีอิธิพลมาเรื่อยจนปัจจุบัน ประเทศไทยดีหน่อยที่ลูกศิษย์ยังไม่ลากปืน เอ็ม ๑๖ มายิงครูกับเพื่อนในห้องให้ตาย เหมือนประเทศผู้นำแนวคิดทางการศึกษาทั้งหลาย

ไม่รู้ว่าเขาจะปฏิรูปการศึกษาไปในแนวไหน ที่เห็นๆ เด็กก็มีแต่ปัญหา มหาลัย ก็โทษ มัธยม มัธยมก็โทษประถม ประถมโทษอนุบาล อนุบาลก็โทษพ่อแม่ แล้วใครจะแก้

ในสายตาอันยาวไกลและแหลมคมของท่านทั้งหลายที่อ่าน ก็รู้ทันที่ คือ ระบบการศึกษา ที่พัฒนาแต่ความคิดชิงดีชิงเด่น เอาตัวรอด ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ปลุกเร้าความคิดเด็กไปในเชิงวัตถุนิยม แล้วก็ทำกันเป็นระบบทั้งประเทศ ทั้งโลก คนร้อยละ 99.999 ถุกครอบเงาตั้งแต่เกิด ว่าดีเลิศประเสริษฐศรีเหลือเกินการศึกษาเนี่ย เหมือนที่ท่านทั้งหลายกล่าวมาแต่ต้น

การศึกษานะดีครับ แต่รูปแบบคงต้องปรับปรุงให้เหมาะกับวัฒนธรรมไทย แนวทางบรรพบุรุษก็หาให้แล้ว พุทธศาสตร์น่ะเอามาใช้บ้างหรือเปล่า ครูบาอาจารย์ ท่านก็บอก แต่นักการศึกษา หัวนอก ฟังไม่รู้เรื่อง ตีความไม่เป็น ไม่เห็นทางแก้ ( แต่ก็แก้ยากอยู่)

นี่แค่พูดถึงแต่ปัญหาเด็กจากยุคการปฏิรูป ยังไม่ได้พูดถึงครูเลย จะเออรี่กันทั้งประเทศแล้ว คนมีอำนาจยังมองไม่ออกอีก

น่าสงสารเด็กไทย และครูไทย

ขอบคุณทุกความคิดที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันค่ะ ลองติดตามตอนต่อๆ ไปนะคะ แล้วจะพบคำตอบค่ะว่า "ใครจะเป็นคนเปลี่ยน แล้วเปลี่ยนไปอย่างไร"

ผลิตผลของสังคมไทย..ไฉไลด้วยการศึกษา สังคมไทยพัฒนาได้ด้วยปัญญาของคนไทย

ไม่ต้องโทษ..กระทรวงศึกษา ไม่ต้องโทษครู เพราะในวันนี้เราก็เป็นคนดีในสังคมกันทุกคน จริงใหม

จงดำรงตนให้อยู่ในความดี..สังคมไทยดี ๆ อยู่ไม่ไกล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท