กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน "ฉลากยา...น่าฉงน"


การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน

กิจกรรมฉลากยา  น่าฉงน

 

 จุดประสงค์

1.       เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

2.       เพื่อให้นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์

3.       เพื่อให้นักเรียนรู้จักการใช้วิจารณญาณในการดำเนินชีวิตประจำวัน

 สื่อ/อุปกรณ์

1.       ฉลากยา

2.       กระดาษ A4

3.       กาว กรรไกร อุปกรณ์ตกแต่ง

4.       ใบงานที่มีการวิเคราะห์ตามหัวข้อดังนี้

1. ชื่อยา                  2. คุณสมบัติของยา

3. ข้อบ่งชี้               4. ขนาดและวิธีใช้

5. ข้อห้ามใช้           6. คำเตือน

7. ข้อคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ยา

 ขั้นตอนการจัดกิจกรรม

1.       นักเรียนนำฉลากยามาติดลงบนกระดาษ A4

2.       ให้นักเรียนวิเคราะห์ตามหัวข้อต่อไปนี้

 1. ชื่อยา                  2. คุณสมบัติของยา

3. ข้อบ่งชี้               4. ขนาดและวิธีใช้

5. ข้อห้ามใช้           6. คำเตือน

7. ข้อคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ยา

 สถานที่      

           ห้องสมุด

 การวัดผลและการประเมินผล

1.       สังเกตการร่วมกิจกรรม

2.       ประเมินจากใบงาน

ใบงานฉลากยา...น่าฉงน

ชื่อกลุ่ม........................................................................

คำชี้แจง   ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันวิเคราะห์ฉลากยา  ตามหัวข้อต่อไปนี้

     

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ชื่อยา..........................................................................................................................................................

คุณสมบัติยา...............................................................................................................................................

ข้อบ่งชี้.......................................................................................................................................................

ขนาดและวิธีใช้.............................................................................................................................................

ข้อห้ามใช้......................................................................................................................................................

คำเตือนและข้อระวัง......................................................................................................................................

ข้อคิดเห็นต่อผลิตภัณฑ์ยาในความคิดเห็นของผู้ร่วมกิจกรรม

.........................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................

ใบความรู้

การอ่านฉลากยา

ฉลากยา เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาแก่ผู้บริโภค หลายๆ คนมักละเลยไม่ให้ความสำคัญกับการอ่านฉลากยาให้ครบถ้วน ทำให้เกิดผลเสียตามมาหลายประการ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอ่านฉลากยาก่อนที่จะใช้ยาทุกครั้ง
ฉลากยาประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สำคัญดังต่อไปนี้
1.
ชื่อยาบนฉลาก มีทั้งชื่อการค้า และชื่อสามัญทางยา ยาชนิดเดียวกันอาจมีชื่อการค้าหลายชื่อหรือหลายยี่ห้อ ผู้ใช้ยาจึงควรอ่านสูตรส่วนประกอบหรือชื่อสามัญทางยาของยานั้น เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงตัวยาที่แพ้ หรือยาที่มีตัวยาสำคัญตัวเดียวกันแต่ต่างชื่อการค้ากันทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน อันทำให้เกิดการใช้ยาเกินขนาดจนเป็นอันตรายได้
2.
ขนาดยา ยาบางชนิดมีหลายขนาด จึงจำเป็นต้องอ่านฉลากยาให้แน่ใจเสียก่อน เพื่อป้องกันการทานยาเกินขนาดหรือขนาดน้อยจนเกินไปจนเกิดผลข้างเคียงหรือไม่เห็นผลในการรักษา
3.
วันผลิตและวันหมดอาย มีประโยชน์ในแง่การหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการทานยาที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุแล้ว ซึ่งการใช้ยาที่หมดอายุนั้น นอกจากจะทำให้ไม่ได้ผลในการรักษาแล้วยาที่เปลี่ยนสภาพไปอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายด้วย เช่น ยา tetracycline ที่หมดอายุแล้วจะมีพิษต่อไต
4.
ข้อห้ามใช้และคำเตือน ยาบางชนิดมีข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ เด็ก หรือสตรีมีครรภ์

5.
เลขทะเบียนตำรับยา ซึ่งช่วยบอกได้ว่ายานั้นได้ผ่านการตรวจสอบควบคุมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วว่ามีผลการรักษาจริง
6.
ยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษ หรือยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เป็นต้น ซึ่งจะช่วยบอกประเภทของยาและระดับอันตรายของยาที่ต้องระมัดระวังในการใช้ หากเป็นยาสามัญประจำบ้าน สามารถซื้อทานได้โดยปลอดภัย แต่ยาแผนปัจจุบันอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน โดยมากแล้วควรอยู่ในความดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร
7.
วิธีการรับประทาน เช่น เป็นยารับประทาน หรือยาใช้ภายนอก เพื่อให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ได้ผลในการรักษาและเกิดความปลอดภัยในการใช้ยา
8.
ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต กรณีเกิดความบกพร่องของยานั้น สามารถที่จะร้องเรียน โดยดูเลขที่ หรือครั้งที่ผลิตของยานั้นด้วย เพื่อการตรวจสอบจะได้ทำได้ถูกต้องรวดเร็วยิ่งขึ้น

9.
กรณีที่เป็นฉลากยาบนซองยาที่จัดเฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นซองยาของผู้ป่วยรายนั้นจริงๆอย่าลืมอ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้ยา

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย). หยูกยาน่ารู้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรกฎาคม 2544.

 

หมายเลขบันทึก: 274291เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ..

     มาชมกิจกรรม ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะ ..^__^..

ขอบคุณครับ ทื่ให้ความรู้

ขอ เป็นผู้มี นำใจ ถึง หนู จะ จบ ไป แล้ว หนู ก็ ยัง รัก ครู เสมอ

หนูได้ทำกิจกรรมนี้แล้วค่ะ ชอบค่ะได้ฝึกฝนการอ่านเเรื่องฉลากยา ยังทำให้ได้ความรู้เรื่องยา ตลอดจนวิธีใช้ยาอย่างต้องอีกด้วย

ธนพงศ์ แก่นจันทร์ ยอดนักอ่านร.รวัดไทร 3ปีซ้อนๆ

ใช้ครับพื่มนัสชนก ครูจินพึ่งให้ทำเมื่อวันทื่6ส.ค52นื่เอง

กิจกรรมนี้สนุกดี แต่จำไม่ได้แล้วง่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท