รูปแบบการเรียนรู้และการศึกษาแบบต่างๆ


รูปแบบการเรียนรู้และการศึกษาแบบต่างๆ

รูปแบบการเรียนรู้และการศึกษาแบบต่างๆ

1.การเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพและลักษณะนิสัย : ศิลปะ  ดนตรี  กีฬา

หลักการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ

โดยรวมแล้วหมายรวมถึง ดนตรี  ศิลปะ  และกีฬา ประกอบด้วยหลักการ

 3 ส่วนด้วยกัน

                1. หลักความเหมือน

                2. หลักความแตกต่าง

                3. หลักความเป็นฉัน

ความหมาย

ความเหมือน คือ แม่แบบ หรือเบ้า แบบคือครู เป็นแบบอย่างให้เด็กเรียนรู้ หลักความเหมือนประกอบด้วยการเลียนแบบและการทำซ้ำ

ความแตกต่าง คือ เป็นความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงจากความจำเจ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในบรรยากาศและสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน

ความเป็นฉัน คือ เป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรม ความสมบูรณ์ลงตัวของศิลปะและดนตรี

การนำหลักการไปใช้ทางด้านดนตรี

สามารถจัดเป็นขั้นตอนได้ 5 ลำดับ คือ

                1. การเลียนแบบ

                2. การทำซ้ำ

                3. การแหกคอก

                4. ทางเทวดา

                5. หลักความเป็นฉัน 

การเลียนแบบ

การเลียนแบบเป็นกระบวนการที่เด็กจะต้องได้ยินเสียงดนตรี ได้เห็นและได้สัมผัส แล้วอาศัยการเลียนแบบเพื่อที่จะลอกเลียนให้เหมือนแบบ สิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเลียนแบบ คือ แบบดี  ความประทับใจ  การเลียนแบบตามแบบที่จำไว้ฝังใจ

การทำซ้ำ

เป็นการย้ำทักษะเพื่อให้เกิดความแม่นยำ สามารถควบคุม กำกับ และจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำซ้ำในด้านดนตรี มีเป้าหมายดังนี้

                                1.  ทำซ้ำให้ท่องจำขึ้นใจ

                                2.  จำทรงเอาไว้

                                3.  ฝันเป็นเสียงดนตรี

 

การแหกคอก

การปฏิเสธต่อรูปแบบและวิถีทางดั้งเดิมที่มีอยู่ แต่มีการแสวงหาและสร้างแนวทางขึ้นมาใหม่ ในทางด้านดนตรี มีองค์ประกอบดังนี้

                                1.  การด้นตามแบบ

                                2.  การยึดลูกดกในเพลง

                                3.  การแสวงหาตัวเอง

ทางเทวดา

เป็นทางที่สมบูรณ์ในการสร้างผลงานออกมาให้มีทักษะที่สมบูรณ์ มีความถูกต้องและแม่นยำ การเป็นตัวของตัวเอง สร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาใหม่จนกระทั่งมีความแตกฉานในด้านนั้น

ความเป็นฉัน

วัฒนธรรมอันเป็นหัวใจของงานศิลปะคือ ความเป็นฉัน ซึ่งเป็นวิญญาณของคนและผลงานที่ได้แสดงออกมา วัฒนธรรมทางศิลปะมีอยู่ 2 ระดับด้วยกัน

                                1.  วัฒนธรรมที่เป็นสันดานภายใน

                                2.  วัฒนธรรมที่เป็นของสังคมภายนอก

 

2.การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด ด้วยกลยุทธ์หมุนวงล้อทางปัญญา

ความสำคัญของเรื่องการคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด     

    การคิดและ การสอนคิดเป็นเรื่องที่จัดว่าสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้คุณภาพสูง เน้นในเรื่องของการพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพในทุก ๆ ด้าน

         ทั้งทางด้านสติปัญญา   คุณธรรมและการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ  

           การพัฒนาด้านสติปัญญา เป็นด้านที่มักได้รับความเอาใจใส่สูงสุด   เนื่องจากเป็นด้านที่เห็นผลเด่นชัด ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถสูง มักจะได้รับการยอมรับและได้รับโอกาสที่ดีกว่าผู้มีความรู้ความสามารถต่ำกว่า     

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

ทฤษฏี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ การคิด จากต่างประเทศ

         มีนักคิดนักจิตวิทยา และนักวิชาการจากต่างประเทศจำนวนมากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับการคิด ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดที่สำคัญ ๆ เช่น

-        เลวิน (Lewin) นักทฤษฎีกลุ่มเกสต์ตัลท์ (Gestalt) เชื่อว่า ความคิดของบุคคลเกิดจากการรับรู้สิ่งเร้า ซึ่งบุคคลมักรับรู้ในลักษณะภาพรวมหรือส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย

-      เพียเจต์ (Piaget, ๑๙๖๔) ได้อธิบายพัฒนาการทางสติปัญญาว่าเป็นผลเนื่องมาจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

การสอนเพื่อพัฒนาการคิด

              สามารถสรุปได้ ๓ แนว คือ(เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์, ๒๕๓๐)

     ๑. การสอนเพื่อให้คิด (Teaching for Thinking) เป็นการสอนเนื้อหาวิชาการ โดยมีการเสริมหรือปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการคิดของเด็ก

     ๒. การสอนการคิด (Teaching of Thinking) เป็นการสอนที่เน้นเกี่ยวกับกระบวนการทางสมอง ที่นำ มาใช้ในการคิดโดยเฉพาะ เป็นการฝึกทักษะการคิด ลักษณะของงาน

    ๓. การสอนเกี่ยวกับการคิด (Teaching about Thinking) เป็นการสอนที่เน้นการใช้ทักษะการคิดเป็นเนื้อหาสาระของการสอน โดยการช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้รู้และเข้าใจ

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

แนวที่ ๑ การสอนเพื่อพัฒนาการคิดโดยตรงโดยใช้โปรแกรม สื่อสำเร็จรูป หรือบทเรียน/กิจกรรมสำเร็จรูป

         ครูและโรงเรียนที่สนใจจะพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนเป็น

    พิเศษและสามารถที่จะจัดหาเวลาและบุคลากรรวมทั้งงบประมาณที่จะดำ เนินการได้สามารถพัฒนาการคิดของเด็กได้โดยใช้โปรแกรมและสื่อสำเร็จรูป รวมทั้งบทเรียน/กิจกรรมสำเร็จรูปที่มีผู้ได้พัฒนาและจัดทำ ไว้ให้แล้ว อาทิเช่น

              โปรแกรม  The Ideal Problem Solver (Bransford & Stein, ๑๙๘๔) เป็นโปรแกรมเน้นการแก้ปัญหาประกอบด้วยขั้นตอนการแก้ปัญหา ๕ ขั้นตอนคือ

             ๑) การระบุปัญหา (Identifying Problems)

                                ๒) การนิยาม (Defining Problems)

                                ๓) การเสนอทางเลือก (Explaning Alternatives)’

                                ๔) การวางแผนดำ เนินการ (Acting on a plan)

                                ๕) การศึกษาผล (Looking at the Effects)

แนวที่ ๒ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยใช้รูปแบบ หรือกระบวนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด

รูปแบบ/กระบวนการสอนที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิดจากต่างประเทศ

                ๑. รูปแบบการสอนแบบอุปนัยของจอยส์และเวลล์ (Inductive Thinking)

                ๒. รูปแบบการสอนแบบซักค้านของจอยส์และเวลล์ (Jurisprudential InquiryModel)

                ๓. รูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวนของจอยส์และเวลล์ (Inquiry Model)

รูปแบบ/กระบวนการสอนของไทยที่เน้น/ส่งเสริมกระบวนการคิด

                ๑. รูปแบบการสอนตามขั้นทั้ง ๔ ของอริยสัจ โดย สาโรช บัวศรี

                ๒. ระบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนตามแนวพุทธศาสตร์ โดยวีระยุทธ วิเชียรโชติ

                ๓. รูปแบบการสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โดย สุมน อมรวิวัฒน์

 

แนวที่ ๓ การสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ โดยพยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดลักษณะการคิด และกระบวนการคิด ในกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่าง ๆ

        น่าจะเป็นแนวทางที่ครูสามารถทำ ได้มากที่สุดและสะดวกที่สุดเนื่องจากครูสอนเนื้อหาสาระอยู่แล้ว และมีกิจกรรมการสอนอยู่แล้ว เมื่อครูมีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดตามกรอบความคิดที่ได้เสนอมาข้างต้น ครูจะสามารถนำ ความเข้าใจนั้นมาใช้ในการปรับกิจกรรมการสอนที่มีอยู่แล้วให้มีลักษณะที่ให้โอกาสผู้เรียนได้พัฒนา ทักษะการคิด ลักษณะการคิด และกระบวนการคิดที่หลากหลาย

การวัดและประเมินความสามารถในการคิด

การวัดความสามารถในการคิด  พอสรุปได้  2 วิธี คือ

1.       แนวทางของนักวัดกลุ่มจิตมิติ

2.       แนวทางของการวัดจากการปฏิบัติจริง

แนวทางของนักวัดกลุ่มจิตมิติ แยกออกได้เป็น 2  ลักษณะ คือ

         แบบสอบมาตรฐานที่ใช้สำหรับวัดความสามารถในการคิด ซึ่งมีผู้สร้างไว้แล้ว เช่น  แบบสอบความคิดทั่วไป,แบบสอบความคิดความสามารถในการคิดเป็นต้น

         การสร้างแบบวัดการคิดขึ้นใช้เอง  เป็นแบบวัดความคิดที่ผู้สอนสร้างขึ้นเอง  ตามความเหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนรู้

ขั้นตอนของการพัฒนาแบบวัดความสามารถทางความคิด

กำหนดจุดมุ่งหมายของแบบวัด

กำหนดกรอบของการวัดและนิยามเชิงปฏิบัติการ

สร้างผังข้อสอบ

เขียนข้อสอบ

นำแบบวัดไปทดลองใช้

แบบวัดสำหรับนำไปใช้จริง

ทฤษฎีที่ 3: การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

       การคิดเชิงวิเคราะห์

      ความสามารถในการจำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสภาพความเป็นจริง หรือสิ่งสำคัญของสิ่งที่กำหนดให้

       การคิดเปรียบเทียบ

      ความสามารถในการพิจารณาเปรียบเทียบได้สองลักษณะ คือ การเทียบเคียงความเหมือน และ / หรือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งหนึ่ง กับสิ่งอื่น ๆตามเกณฑ์

       การคิดสังเคราะห์

      ความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อยต่าง ๆ มาหลอมรวม ได้อย่างผสมผสานจนกลายเป็นสิ่งใหม่

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

       การคิดเชิงวิพากษ์

      ความสามารถในการพิจารณา ประเมิน และตัดสินสิ่งต่าง ๆ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่มีข้อสงสัย หรือข้อโต้แย้งโดยการพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล

       การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

      ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล มีหลักเกณฑ์ และหลักฐานอ้างอิง ก่อนตัดสินใจเชื่อหรือไม่เชื่อ

       การคิดเชิงประยุกต์

      ความสามารถทางสมองในการคิดนำความรู้มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม

       การคิดเชิงมโนทัศน์

      ความสามารถในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมดโดยมีการจัดระบบ จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล เพื่อสร้างความคิดรวบยอด (Concept)

       การคิดเชิงกลยุทธ์

      ความสามารถในการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดโดยใช้จุดแข็งที่ตัวเองมี มีความยืดหยุ่น พลิกแพลงได้ภายใต้สภาวการณ์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

       การคิดเพื่อแก้ไขปัญหา

      ความสามารถในการขจัดสภาวะความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น โดยพยายามปรับตัวเอง และสิ่งแวดล้อมให้กลับเข้าสู่สภาวะสมดุล

       การคิดเชิงบูรณาการ

      ความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูล หรือแนวคิดหน่วยย่อย ๆ ทั้งหลายที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลเข้าด้วยกันกับเรื่องหลักได้อย่างเหมาะสม กลมกลืน เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์

       การคิดเชิงสร้างสรรค์

      ความสามารถในการขยายขอบเขตความคิดที่มีอยู่เดิมสู่ความคิดที่แปลกใหม่ โดยเป็นความคิดที่ใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

       การคิดเชิงอนาคต

      ความสามารถในการคาดการณ์แนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างชัดเจน และสามารถนำสิ่งที่คาดการณ์นั้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด

       ฝึกสังเกต

หมายเลขบันทึก: 274158เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2009 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตอนนี้ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการคิดเชิงอนาคตมากกกกกกกกกกกก

ใครที่รู้ว่าการคิดเชิงอนาคตนั้นคืออะไรและแนวคิดมีอะไรบ้าง  มีประโยชน์อย่างไรในการนำไปใช้ช่วยหาข้อมูลนั้นที

..........ไม่เอาหนังสือน่ะค่ะไม่มีตังค์ซื้อ...............

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท