ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการศึกษา


ความฉลาดทางอารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์ต่อการศึกษา         

           

            โดยทั่วไปถ้าพูดถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนดี   พ่อแม่อาจจะนึกถึงการเรียนพิเศษในวิชายาก ๆ           เช่นคณิตศาสตร์  ฟิสิกส์  เคมี  ภาษาอังกฤษ  เราเคยเชื่อว่าถ้าทุ่มเทเวลาให้กับการอ่านหนังสือมีโอกาส     กวดวิชาเหล่านั้นจากอาจารย์เก่ง ๆ เด็ก ๆ ก็จะมีผลการเรียนที่ดีขึ้นและสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้  

ในโลกของความเป็นจริง การที่เด็กจะเรียนดีมีอนาคตที่ดี  นอกจากความสามารถทาง          วิชาการแล้ว  ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ อีกมากโดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งยั่วยุ พบว่า          มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่เผชิญปัญหาทางด้านอารมณ์ความรู้สึก จนทำให้เสียโอกาสทางการศึกษาไป        อย่างน่าเสียดาย เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน  หรือปัญหาด้านพฤติกรรม              อื่น ๆ ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้มีที่มาจากความอ่อนแอทางเชาวน์ปัญญา แต่มาจากความอ่อนแอ                     ทางอารมณ์ ที่ไม่สามารถรู้เท่าทันและจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกทั้งของตนเองและผู้อื่นได้

 การที่จะให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข   สามารถทำกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เรียนรู้การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและอยู่รอดปลอดภัย  สถานศึกษา           ควรจะมีสอดแทรกการเรียนการสอนให้เด็กมีทักษะทางอารมณ์  เช่น  การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี           กับพ่อ แม่  ครูและเพื่อน ๆ วิธีการควบคุมอารมณ์ของตนเอง  รู้จักปรับตัวเข้ากับปัญหาความขัดแย้ง       ความโกรธ  ความเครียดต่าง ๆ โดยควรมีเทคนิคการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ในสถานศึกษา เช่น

            1. ประชาธิปไตยในการเรียน   สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นประชาธิปไตย  มีความอิสระ

ที่จะแสดงความคิดเห็น  มีความเคารพในกันและกัน ครูรับฟังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเห็นว่า  ความรู้สึก            ของตนเป็นที่รับฟัง ไม่ใช่สิ่งที่ไม่มีความหมาย หรือไร้คนสนใจ

            2. เรียนรู้เรื่องอารมณ์ หน้าที่ของครูอาจารย์ในการพัฒนาความลาดทางอารมณ์ คือ การช่วย         ให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความรู้สึก อารมณ์ของตน มีการแสดงออกที่เหมาะสมกับบุคคลและสถานที่              และมีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น

            3. เริ่มต้นให้ดี เริ่มที่ครู   การเริ่มต้นที่ดีที่สุด คือ  การที่ครูอาจารย์ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี             ให้ผู้เรียน  โดยการทำในสิ่งที่ตนเองพร่ำสอน เช่น  เรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจอารมณ์ ความรู้สึก           บุคลิกลักษณะของตนเองระมัดระวังคำพูดและการแสดงอารมณ์ให้เหมาะสมอยู่เสมอ

หมายเลขบันทึก: 273912เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท