การบริการรับ-ส่งเพื่อการรักษาพยาบาล


การส่งต่อ การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

Refer   กับ  EMS
           Refer   การส่งต่อผู้ป่วย    เป็นการรับและส่งต่อผู้ป่วยจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่ง   เช่นส่งระหว่างโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถต่ำกว่าไปยังโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถสูงกว่า  ส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถสูงกว่าไปยังโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถต่ำกว่า  หรือการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้บ้าน  ผู้ป่วยอาจจะมีภาวะเจ็บป่วยอย่างฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้
           EMS ( Emergency  Medical  Service )  ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นบริการช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ได้มีโอกาสขอความช่วยเหลือในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินทั้งในภาวะปกติและในภาวะภัยพิบัติได้โดยจัดให้มีระบบการรับแจ้งเหตุระบบการเข้าช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน ณ จุดที่เกิดเหตุ ระบบการลำเลียงขนย้าย และการส่งผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินให้แก่โรงพยาบาลที่เหมาะสมได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็วตลอด 24 ชม.

แต่จุดเหมือนที่ต้องมีการจัดเตรียมความพร้อมตลอดเวลาคือ
1. บุคลากร ต้องมีการฝึกอบรมให้มีความรู้ และความชำนาญในการช่วยเหลือผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเสริมการฝึกซ้อมเป็นระยะ
2. รถในการขนย้ายผู้ป่วยต้องมีสภาพที่พร้อมใช้งาน มีการตรวจตราดูแลเช็คสภาพเพื่อตัวผู้ป่วยและบุคลากรที่ใช้งานจะได้ปลอดภัยในการเดินทาง
3. อุปกรณ์เครื่องใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้น ต้องมีการดูแลตรวจสภาพการพร้อมใช้งานที่สำคัญเจ้าหน้าที่ควรต้องใช้เป็นถูกต้อง
4. ระบบการสื่อสาร ตั้งแต่ การแจ้งข่าว ระบบข้อมูล หน่วยงานเครือข่าย ต้องสะดวกง่ายต่อการติดต่อ
5. ขวัญและกำลังใจของผู้ให้บริการ
             จากประสบการณ์ได้มีโอกาสได้รับบริการจาก EMS  ด้วยการโทรศัพท์ 1669  เบอร์เดียวทุกพื้นที่ยอมรับว่ามีความรวดเร็วมากแต่เนื่องจากอยู่ในเขตเทศบาลและใกล้ ร.พ. แต่ไม่รู้ว่าในระดับ อำเภอ ตำบลที่มีการขยายงานไปถึงท้องถิ่น ณ ขณะนี้บริการจะเป็นเช่นไร ถ้าปฏิบัติได้เหมือนกันก็ถือเป็นการได้รับบริการที่เท่าเทียมในหมู่คนทุกกลุ่ม  แต่จุดหนึ่งที่อาจเป็นตัวปัญหาที่จะต้องหาแนวทางแก้คือผู้ที่เจอเหตุการณ์กลุ่มแรกมักขาดความรู้ในการช่วยเหลือที่ถูกต้องเพราะเจอด้วยตนเองเห็นรถจักรยานยนต์ล้มพลเมืองดีรีบเข้าไปอุ้มตัวออกมาจากรถทันทีซึ่งลักษณะนี้อาจเป็นผลต่อการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นได้ เคยดูหนังฝรั่งมักจะเห็นว่าประชาชนให้ความสำคัญของการปฐมพยาบาลเขาจะไม่ค่อยเข้าไปหามกันออกมามักจะมีการตรวจสภาพและรอรถพยาบาลแต่เรามักจะใจร้อนอยากช่วยเหลือด้วยใจจริงๆแต่ลืมคิดถึงวิธีการที่ถูกต้องคงต้องให้ความรู้กับประชาชนไปอีกเรื่อยๆ

หมายเลขบันทึก: 273904เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 10:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • เป็นการได้ช่วยเหลือประชาชนอย่างเข้าถึงได้ง่ายอีกแบบค่ะ
  • เรื่องการเตรียมคนสำคัญนะคะ ต้องไม่เพิ่มโรคให้เขาค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท