การตรวจสอบภายใน


การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือ หรือกลไกที่สำคัญของฝ่ายบริหาร

     การตรวจสอบภายในเป็นเครื่องมือ หรือกลไกที่สำคัญของฝ่ายบริหาร ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานและระบบการควบคุมภายในขององค์กร ซึ่งผู้บริหารสามารถนำผลผลิตของงานตรวจสอบภายในไปใช้ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบภายในหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฎิบัติงานด้านการตรวจสอบภายใน จึงควรมัความเข้าใจถึงภาพรวมเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน มีความรู้ในหลักการ และวิธีการตรวจสอบ ปฎิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจสอบที่ยอมรับโดยทั่วไป
     การตรวจสอบภายในเป็นการบริหารให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหารและเพื่อส่งเสริมการปฎิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ดังนี้
1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใสในการปฎิบัติงาน
2. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) สามารถตรวจสอบได้
3. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฎิบัติงาน (Efficiency and Effectiveness of Performance) ขององค์กร
4. เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ (Check and Balance)  ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรการใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ
5. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบ หรือการทุจริตในองค์กร ลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

หมายเลขบันทึก: 273908เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2009 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท