๕๘. สัมมนายุติธรรมทางเลือก(๓) เรื่อง : ประเภทข้อพิพาทที่ควรไกล่เกลี่ย


โครงการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการทางกฏหมายมาใช้

การสัมมนากลุ่มย่อยกลุ่มที่ ๒ เรื่อง : ประเภทข้อพิพาทที่ควรใช้หลักเกณฑ์ในการไกล่เกลี่ย  ในการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ "โครงการนำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกและมาตรการทางกฎหมายมาใช้ " ในระหว่างวันที่ ๑๒ - ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๒  จัดโดยสำนักงานอัยการเขต ๓ ร่วมกับ สำนักงานวิชาการ  ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ และรายงานผลการสัมมนากลุ่มย่อย โดยสรุปได้ดังนี้

      ที่ประชุมกลุ่มได้มีการวิเคราะห์และแสดงเหตุผลเป็นข้อดังต่อไปนี้

 

ข้อที่ 1.      ประเภทข้อพิพาทที่ควรใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการไกล่เกลี่ย 

-    ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า   ความแพ่งความอาญาความปกครอง

ความเห็นเพิ่มเติม

-          น่าจะเปิดเรื่องทุนทรัพย์

-     คนไกล่เกลี่ยทุกคดีทุกประเภทในเรื่องของอำนาจของคุณทรัพย์ควรเปิดกว้างไว้ไม่ควรกำหนดเพดาลโดยให้ อจ ลงมากำกับดูแล

-          ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา

 

ข้อที่ 2.      ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา

-    ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า ควรเป็นอัยการเจ้าของสำนวนและ อัยการ สคช  อัยการจังหวัดฝ่ายประนอมข้อพิพาท

ความเห็นเพิ่มเติม

-    สำนักงาน สคช กับบุคคลที่คู่ความร้องขอ

-  ควรเพิ่ม สคช หรือในอนาคตอาจเพิ่มตำแหน่งโดยเฉพาะ ถ้าเอาอัยการเจ้าของสำสวนอาจใช้เวลานานมากซึ่งไม่จบในครั้งเดียว              

-  ควรให้เจ้าของสำนวนเป็นตัวหลักเพราะรู้ข้อเท็จจริงโดยให้อัยการจังหวัดเข้ามาดูด้วยและถ้าไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ก็ส่งให้ สคช. อีกครั้ง

-    เจ้าของสำนวนไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จควรฟ้องศาลหรือสั่งคดีอาจเกิดอคติต่อคดีได้

-     

 

ข้อที่ 3.   ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่ง

    -  ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  ควรเป็นอัยการเจ้าของสำนวนและ อัยการ สคช  อัยการจังหวัดฝ่ายประนอมข้อพิพาท

ความเห็นเพิ่มเติม

                    - 

ข้อที่ 4.      ควรให้ใครเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางปกครอง

    -  ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  กรณีที่ยังไม่เป็นคดีปกครองควรให้พนักงานอัยการ สคช ในกรณีที่เป็นคดีปกครองแล้วควรให้อยู่ในอำนาจของสำนักงานคดีปกครอง หรือสำนักงานอัยการจังหวัดและควรมีการเพิ่มตำแหน่งหนักงานอัยการให้ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ ซึ่งอาจให้เป็นตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายประนอมข้อพิพาท หรืออัยการจังหวัดฝ่ายประนอมข้อพิพาท แล้วแต่กรณี

 

ความเห็นเพิ่มเติม

    - 

ข้อที่ 5.      ความอาญาที่พนักงานอัยการควรดำเนินการไกล่เกลี่ย

          -ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  คดีความผิดอันยอมความได้และคดีอาญาแผ่นดินในส่วนความเสียหายทางแพ่งถ้าไกล่เกลี่ยสำเร็จให้ระบุไว้ในท้ายฟ้องด้วย

ความเห็นเพิ่มเติม

-    ถ้าเป็นความผิดต่อแผ่นดินควรเป็นดุลพินิจของอัยการ

-    คดีอาญาแผ่นดินควรไกล่เกลี่ยเฉพาะค่าเสียหายทางแพ่ง

-    ไม่ควรกำหนดอัตราโทษ และควรกำหนดไว้ในระเบียบ

 

ข้อที่ 6.      คดีอาญาที่อยู่ระหว่างการฝากขังหรือผัดฟ้องผู้ต้องหา ควรนำมาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการไกล่เกลี่ยนั้น 

         -ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  ควร

ความเห็นเพิ่มเติม

-    ควรแต่อยู่ในดุลพินิจของพนักงานอัยการ

-    ควรมีระบบคอนเฟอร์เรน

 

ข้อที่ 7.      คดีอาญาที่พนักงานอัยการจะดำเนินการไกล่เกลี่ยต้องปรากฎข้อเท็จจริงว่าการกระทำหรือพฤติการณ์ของผู้ต้องหาไม่เป็นการประกอบอาชญากรรมเป็นอาชีพ หรือเป็นผู้กระทำความผิดติดนิสัย 

                    -  ที่ประชุมกลุ่ม  เห็นด้วย

ความเห็นเพิ่มเติม

                    - 

ข้อที่ 8.      เมื่อพนักงานอัยการทำการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทความแพ่งให้แก่คู่กรณีจนตกลงประนีประนอมยอมความกันได้แล้ว ท่านเห็นว่าควรส่งข้อพิพาทนั้นไปให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทนั้นไปให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาท ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖๑/๒ ทำการไกล่เกลี่ยอีกหรือไม่

                    -ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  ควรส่งแต่โดยทำบันทึกข้อตกลงกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานไม่ให้ซ้ำซ้อนเป็นภาระต่อประชาชน

ความเห็นเพิ่มเติม

    -  และในอนาคตควรออกกฎที่มีสภาพบังคับมารองรับการไกล่เกลี่ยของอัยการ

 

ข้อที่ 9.      การจัดทำเอกสารหลักฐานการไกล่เกลี่ยตามร่างระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพื่อยุติคดีโดยสมานฉันท์ของพนักงานอัยการควรประกอบด้วยเอกสารใดบ้างนั้น

 

          -ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  เอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นสาระสำคัญในประเด็นที่พิพาท  รวมทั้งหนังสือมอบอำนาจของบุคคลที่ไม่ใช่คู้กรณีพิพาทโดยตรง

ความเห็นเพิ่มเติม

                    - 

 

ข้อที่ 10. แบบหนังสือแนบท้ายร่างระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยกระบวนการยุติธรรมทางเลือกเพื่อยุติคดีโดยสมานฉันท์ของพนักงานอัยการ พ.ศ. ....  มีความเหมาะสมเพียงใด 

                    -  ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า เหมาะสมแล้ว

ความเห็นเพิ่มเติม

-                 

ข้อที่ 11.                การไกล่เกลี่ยความแพ่ง ควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

-    ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าของสำนวนที่ไม่ทำให้รูปคดีเสียหาย

 ความเห็นเพิ่มเติม

 

ข้อที่ 12. การไกล่เกลี่ยความปกครอง ควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

-    ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  เช่นเดียวกับข้อ 11

 ความเห็นเพิ่มเติม

                    - 

 

ข้อที่ 13.    การไกล่เกลี่ยความอาญา ควรมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร

-    13.1  ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่า  ตามกรอบของกฎหมายในเรื่องอายุความไม่ให้เสียหายต่อรูปคดี

                    13.2  เห็นด้วยกับข้อ 13.1

ความเห็นเพิ่มเติม

    - 

 

ข้อที่ 14     ข้อเสนอแนะอื่นๆ

                    -  แก้ไขระเบียบการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

  

 

 

     สัมมนากลุ่มย่อยที่ ๒ เรื่อง : ประเภทข้อพิพาทที่ควรไกล่เกลี่ย

 

 

                                               

                                                               

หมายเลขบันทึก: 273768เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2009 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • มาอ่านหา..ความรู้ค่ะ
  • สบายดีนะคะ
  • สวัสดีครูคิม
  • สบายดีครับ หวังว่าอาจารย์คงสบายดี
  • ขอให้มีความสุขในวันหยุดยาวและทุกวันครับ

            

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท