เหนือวิทยาศาสตร์ ๑๐


          พระพุทธเจ้าท่านยังไปไกลกว่านี้อีก  ในข้อที่ว่า จะไม่ให้ถือทุกอย่างนี้ว่าเป็นตัวตน  แม้ที่มันมาจากกรรม มาจากเหตุของมันโดยตรง ก็อย่าให้ถือว่าเป็นตัวตน  เป็นของตน  ให้ถือว่ามันเป็นเหตุปัจจัย  เป็นธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างๆ ไป  อย่าถือว่านี้เป็นของเรา  เราทำกรรม  กรรมของเราทำให้เราเป็นทุกข์  อย่างนี้พูดภาษาเด็กๆ  ภาษาชาวบ้าน  ภาษาคนโง่  มีเรา  มีของเรา  เป็นสัสสตทิฏฐิ อะไรทำนองนั้น

           จะพูดให้ถูกตามเรื่องของพระพุทธเจ้าก็คือ  ไม่มีเรา  ไม่มีกรรม  ไม่มีการกระทำของเรา  ไม่มีการรับผลกรรม  "ของเรา" ต้องไม่มีเรา  เหตุปัจจัยมันมีคือ : นั้นคือจิต  นั้นคือร่างกาย  นั้นคือตา หู จมูก ลิ้น กาย  นั้นคือ รูป  เสียง  กลิ่น  รส  สัมผัส  มากระทบกันเข้า  เกิดความรู้สึกเป็นวิญญาณ  เกิดผัสสะ  เกิดเวทนา  เกิดความโง่  ยึดถือในเวทนานั้น  เป็นอุปาทาน  เป็นตัณหา  เป็นอุปาทาน  เป็นทุกข์  ความทุกข์เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมี "เรา"  ไม่ต้องมีตัวผู้ทุกข์  หรือเป็นผู้สร้างความทุกข์  หรือผู้ทำทุกข์ให้  ให้ทุกๆตอนเป็นธรรมชาติ  ตามธรรมชาติ เรียกเป็นบาลี อย่างถูกต้องเต็มที่ ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรม  คือสิ่งที่อาศัยกันเกิดขึ้น  ไม่มีความรู้สึกเป็นตัวเป็นตน  เป็นเราเป็นของเรา

หมายเลขบันทึก: 273611เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2009 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท