หลักการบริหารที่ผู้บริหารไม่ควรมองข้าม


หลักบริหาร

 

สิ่งเล็ก ๆ น้อยอย่าคิดว่าไม่สำคัญ  สิ่งที่ผู้บริหาร (บางคน)คิดว่าไม่สำคัญแต่เมื่อผลมันเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ลูกน้องหมดความรัก ความศรัทธาเลยก็ได้  อาจารย์มนัสวี ธาดาสีห์ ยกตัวอย่างสิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรทำไว้ ดังนี้

 

สิ่งที่ผู้บริหารไม่ควรทำ

1.        บริหารสิ่งที่มองไม่เห็น
ไม่ได้เห็นด้วยตา เพียงรับฟังมาแล้วดำเนินการ

2.        มุ่งแต่เพียงการตรวจสอบ

ถ้าผู้บริหารมุ่งแต่การตรวจสอบ ก็จะเป็นการเกิดปัญหาเดิมซ้ำซ้อนอีก

3.        มุ่งเน้นที่การรายงาน และการประชุมมากเกินไป

ผู้บริหารจะต้องออกไปสัมผัสด้วยตา ไม่พิจารณาหรือรับฟังเฉพาะที่รายงานขึ้นมาเท่านั้น

4.        คิดว่าการเป็นผู้บริหารนั้นคือ การสั่งการ แปลว่าได้จัดการแล้ว

การบริหาร/การจัดการ หมายถึง ต้องชี้แนะ และช่วยเหลือด้วย

5.        คิดว่า PDCA ก็เพียงพอแล้ว

ผู้บริหารคิดว่า คือการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขนั้นเป็นการเพียงพอ ในความเป็นจริงแล้ว ยังไม่พอ ต้องเพิ่มขั้นตอน ตรวจสอบหลังการวางแผนก่อนลงมือทำจริงอีก 1 ขั้นตอน คือ ต้อง PDCA จะช่วยให้โอกาสผิดพลาดน้อย เสียหายน้อย

6.        คิดว่าเป็นผู้บริหารแล้วไม่มีหน้าที่ปรับปรุงงาน คือ

เข้าใจหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงผิด คิดว่าเมื่อเป็นผู้บริหารแล้วไม่จำเป็นต้องลงมาช่วย หรือทำหน้าที่ในการปรับปรุงงาน สั่งการอย่างเดียว ดังได้กล่าวแล้วว่า การปรับปรุง (KAIZEN)  เป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ทุกคนต้องร่วมมือกัน เพื่อแก้ปัญหา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้น

7.        ตัดสินหรือวัดค่าจากผลงานเท่านั้น ไม่สนใจกระบวนการ คือ

ในความเป็นจริงผลงานอาจจะออกมาดี แต่ในกระบวนการอาจมีการสูญเสีย หรือทำผิดกระบวนการ ซึ่งสามารถปรับปรุงแก้ไขกระบวนการได้ เพื่อผลออกมาจะได้ดียิ่งขึ้นไปอีก นั่นคือ การเพิ่มผลผลิตที่สูงขึ้น ดังนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญในกระบวนการด้วย การดูเฉพาะผลงานนั้นไม่เพียงพอ

8.        มองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเป็นไปได้

ผู้บริหารหลายคนติดอยู่กับกรอบความเชื่อที่ว่าการสูญเสียนั้นมีอยู่ไม่กี่อย่าง คือ ไม่คิดให้ลึกลงไป ทำให้มองไม่เห็นความสูญเสียที่จะเป็นไปได้ หรืออาจเกิดขึ้น (potential wastes)

9.        ไม่วิจารณ์ผลงานที่ดี

เพราะมองไม่ลึกจึงเชื่อในผลงานที่ดีว่าดีที่สุดแล้ว และไม่คิดหาทางปรับปรุงต่อ อันเป็นผลให้ไม่มีการกระตุ้นให้คิดปรับปรุงมาตรฐานให้สูงขึ้น

10.     ชอบการประนีประนอม

จะเป็นเพราะด้วยความเกรงใจ หรือไม่กล้าตัดสินใจกลัวผิด ผู้บริหารหลายคนจึงใช้หลักการประนีประนอมเสมอ ซึ่งในหลายกรณีผู้บริหารไม่ควรประนีประนอม โดยเฉพาะเรื่องที่ยุ่งยาก และจำเป็นต้องใช้ความเป็นผู้นำเพื่อหาทางออก

 

คำสำคัญ (Tags): #วิสัยทัศน์
หมายเลขบันทึก: 273265เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เยี่ยมครับ ความคิดเฉียบแหลมมาก

ดีมาก เก่งมากแล้วพี่จะขออนุญาตเก่งด้วยคนนะ

พี่แอ๊วก็เก่ง และมากด้วยประสบการณ์ น้องต้องขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพี่ด้วย

บทความของพี่อ่านแล้วได้ประโยชน์จัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท