2552-07-02_นายยอดรัก (คำร้องที่ ) -- การขึ้นทะเบียนแรงงาน และสิทธิของแรงงานต่างด้าว (ตอนที่ 2)


เรียน อ.ไหม..เรื่อง..ถ้าผมมีบัตรแรงงานต่างด้างแล้ว ผมสามารถเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านของ นิ่ม (อัญชลี)เขาได้ไหมรคับและสามารถแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ไหมครับ และถ้าผมทำบัตรที่ จ.ปทุมธานี แล้วผมสามารถเข้ามาในกรุงเทพได้ไหมครับแล้วผมสามารถเรียนหนังสือได้ไหมครับ ขอขอบคุณมากนะครับ ที่ค้อยให้คำปรึกษามาโดยตลอด ผมไม่รู้ว่าจะตอบแทนได้ยังไงหนอกจากคำขอบคุณแล้ว แต่ผมขอสัญญาว่าผมจะทำแต่สิ่งที่ดีและทำในสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายให้สมกับที่อาจารย์แหววและอาจารย์ไหม และคณะอาจารย์ทุกๆท่านที่ให้คำปรึกษามาโดยตลอด กราบขอบคุณมากๆครับ อ.ไหม

ประการแรก  เรื่อง..ถ้าผมมีบัตรแรงงานต่างด้างแล้ว ผมสามารถเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านของ นิ่ม (อัญชลี)เขาได้ไหมรคับ ?

ตอบ  คุณยอดรักไม่สามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ทร.๑๔(เล่มสีน้ำเงิน)ของคุณนิ่มได้นะคะ เนื่องจากทะเบียนบ้าน ท.ร.๑๔ ใช้เฉพาะการบันทึกคนสัญชาติไทยและคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยถาวรเท่านั้น  แต่คุณยอดรักจะได้รับการบันทึกในทะเบียนประวัติบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ (ท.ร.๓๘/๑) และมีเอกสารที่ทางอำเภอ/เขต ออกให้เป็นกระดาษขนาด A4 ระบุที่อยู่ตามที่อยู่ของนายจ้างค่ะ
โดยสรุปคือ คุณยอดรักกับนายจ้างจะมีที่อยู่ที่เดียวกันแต่คุณยอดรักจะมีชื่อใน ท.ร.๓๘/๑ ในขณะที่นายจ้างมีชื่อใน ท.ร.๑๔

ประการที่สอง สามารถแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ไหมครับ ?

ประการที่สาม ถ้าผมทำบัตรที่ จ.ปทุมธานี แล้วผมสามารถเข้ามาในกรุงเทพได้ไหมครับ ?

อ.บอม ตอบ มาว่า... ถ้าคุณยอดรักจดทะเบียนเป็นประเภทรับใช้ในบ้านสามารถเดินทางมากรุงเทพฯได้ไหม โดยระเบียบนั้นไม่ได้ครับ ยกเว้นจะมาพร้อมกับนายจ้าง คือคุณนิ่ม เพื่อมาทำธุระอะไรทำนองนั้น แต่ถ้ามาคนเดียวคงไม่ได้ กรณีนี้ถ้าอยากดินทางไปกลับระหว่างปทุมธานี กับกรุงเทพฯ เวลาขอทำใบอนุญาตทำงานก็แจ้งเขาว่า เราทำงานในนายจ้างคนเดียวกัน แต่ทำในสองบ้านครับ คือทำที่กรุงเทพฯ และทำที่ปทุมด้วย ซึ่งโดยระเบียบแล้วทำได้

ประการที่สี่ ผมสามารถเรียนหนังสือได้ไหมครับ ?
ตอบ สามารถเรียนได้ค่ะ ขนาดคราวก่อนคุณไม่มีเอกสารอะไรเลยยังสามารถเรียนได้ ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะ……….

...”สิทธิในการศึกษาของบุคคลนี้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน หรือโอกาสของบุคคลทุกคนที่จะได้เข้าถึงความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองรวมถึงสังคม ซึ่งมาตรา ๔๙ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒๕๕๐ รวมถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ ก็ได้รับรองสิทธิดังกล่าว โดยสิทธิหรือโอกาสทางการศึกษาของบุคคล ย่อมไม่สามารถถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง (มาตรา ๓๐ แห่งรัฐธรรมนูญฯ) ทั้งยังเป็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะถูกละเมิดมิได้ (มาตรา ๔ แห่งรัฐธรรมนูญฯ) และทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เองก็ได้ตระหนักดีถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและโอกาสของบุคคลในเรื่องนี้ ดังจะเห็นได้จากทางศธ. ได้มีระเบียบรับรองสิทธิทางการศึกษาของบุคคล โดยไม่คำนึงถึงเหตุแห่งความแตกต่างใดๆ มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๕ และต่อมาได้ปรับปรุงเป็นระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
       
…………นอกจากนี้ สิทธิทางการศึกษานี้ ยังเป็นสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดย ข้อ ๒๖ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งผูกพันประเทศไทยในฐานะกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ, ข้อ ๑๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights- ICESCR) ทั้งยังขัดต่อหลักการและสิทธิทางการศึกษาที่ได้รับการรับรองไว้ตาม ข้อ ๕ (ฉ) (๕) แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี ที่สำคัญคือ ข้อ ๒๖ แห่งกติการระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคี และขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำรายงานประเทศ (Country Report) โดยการบันทึกถึงการปฏิบัติงานของภาคส่วนราชการ และรายงานฉบับนี้จะถูกรายงานต่อสหประชาชาติในปี ๒๕๒๒”

(จากหนังสือเลขที่ ฝสร.๑๔/๒๕๕๒ ออกโดยโครงการฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ภายใต้สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่  http://statelesswatch.files.wordpress.com/2009/03/2552-3-24-lo-r2e-bigcase-_final_1.pdf  และดาวน์โหลดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ ได้ที่นี่ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00171170.PDF  )

ประการที่ห้า อาจารย์ครับ ผมมีปัญหาเรื่องที่จะลงในทะเบียนบ้านครับ ตอนแรกผมและนิ่มคิดไว้ว่าจะลงที่ทะเบียนบ้าน(คอนโด)ของพี่สาวนิ่ม แต่นิ่มโทรไปถามพี่สาวเขาว่าจะเอาชื่อผมลงในทะเบียนบ้าน(คอนโด)ให้พี่สาวเป็นนายจ้าง แต่พี่สาวนิ่มเขายังไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ที่ คอนโด ที่พี่สาวนิ่มซื้อไว้ครับ อย่างนี้ผมคงหมดโอกาสที่จะไปขึ้นทะเบียนแรงงานแล้วละ อาจารย์พอมีหนทางไหนบ้างครับ ผมไม่อยากหลุดโอกาสนี้ไปเลยครับ ?

 อ.บอม ตอบ มาว่า... เรื่องทะเบียนบ้านผมงงเล็กน้อย เอางี้ครับ ตอนนี้คุณยอดรักกับคุณนิ่มอยู่ที่คอนโดที่ปทุมธานีใช่ไหมครับ จริง ๆ โดยการขึ้นทะเบียนไม่จำเป็นว่าจะต้องขึ้นที่ภูมิลำเนาของนายจ้างนะครับ แต่ต้องขึ้นทะเบียนที่เราจะทำงาน เช่น ชื่อของคุณนิ่มอยู่ในทะเบียนบ้านอีกที่หนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วอาศัยอยู่ที่คอนโดปทุมธานี ก็สามารถขอขึ้นทะเบียนที่ปทุมธานี โดยเอาหลักฐานการเช่าซื้อ ไปยืนยันก็ได้ครับ แต่ในทะเบียนบ้านนั้นต้องมีชื่อคนไทยอยู่ครับ วิธีการที่น่าจะทำได้ คือให้โอนชื่อคุณนิ่มเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านคอนโดได้หรือเปล่าครับ เพราะมันใช้เวลาไม่นานในการย้าย หลังจากนั้นก็ไปทำเรื่องการจดทะเบียนครับ ไม่ทราบว่าพอจะเป็นไปได้หรือไม่ครับ

๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒

หมายเลขบันทึก: 273049เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ไม่มีหมายเลขแฟ้มหรือคะ 

 

เมื่อวาน ผมไปร่วมประชุมผู้ประกอบการ กับการแจ้งแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ มา

สิ่งที่ทำให้ผมตกใจ และกังวลใจมากที่สุดคือคำถามถึงเรื่องการพิสูจน์สัญชาติ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งตอบว่า

หากแรงงานต่างด้าวซึ่งอ้างว่าเป็นชาวพม่าพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน เพราะไม่ทราบว่าเป็นคนสัญชาติใด ก็จะจัดการแรงงานนั้นโดยเก็บไว้ที่ค่าย แล้วรอส่งประเทศที่ 3

เสียดายท่านผู้นั้นไม่ตอบว่าจะเก็บคนต่างด้าวไว้ที่ค่ายใด (ค่ายผู้ลี้ภ้ย, ค่ายทหาร, หรือ...) จังหวัดใด

แต่ก็สะท้อนว่าหากรัฐไทยทำตามคำของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นจริง ก็จะเกิดภาระการเลี้ยงดูแก่ประเทศไทยไปเปล่า ๆ เพราะไม่รู้ว่าประเทศ 3 ที่จะรับคนเหล่านั้นมันเมื่อไรกันแน่

แทนที่เมื่อพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน ก็ใช้บุคคลเหล่านั้นในสถานะที่เป็นแรงงานต่างด้าว ซึ่งเป็นประโยชน์แก่นายจ้างไทยที่ขาดแคลนแรงงาน, ไม่เป็นภาระแก่ประเทศชาติที่ต้องเลี้ยงดูแล

จากคำพูดของเจ้าหน้าที่คนดังกล่าว (ระดับสูงทีเดียว) ผมกังวลแทนคุณยอดรัก เพราะหากพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน เขาจะถูกส่งไปยังเขตกักกัน ตามคำขู่ของเจ้าหน้าที่หรือเปล่า

และผมก็ยังหาไม่เจอว่าเจ้าหน้าที่พูดนั้นพูดถึงส่งไปยังค่าย...อ้างกฎหมายอะไรที่รัฐไทยอนุญาต ให้คนพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่านต้องไปอยู่ค่าย...

 

 

คุณชาติชาย...

อืม น่าคิดนะคะ..คงต้องชี้ให้เห็นความสำคัญของยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ๑๘ มกราคม ๒๕๔๘ ซึ่งจำแนกคนไม่มีสถานะทางทะเบียนเป็น ๖ กลุ่ม ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ..แรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา ซึ่งพิสูจน์สัญชาติไม่ผ่าน ประกอบกับพันธกรณีระหว่างประเทศทั้ง UDHR ICCPR เราคงส่งกลุ่มนี้กลับไปเผชิญภัยต่อชีวิต อันเป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตของคนกลุ่มนี้ไม่ได้หรอกค่ะ อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน...รึปล่าว?

ไหม

คลาดเคลื่อนหรือไม่คลาดเคลื่อน ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน ทราบแต่ว่าเป็นคำขู่ที่ใช้ได้ผลทีเดียว เอิ๊ก !

ไหมและชาติชาย อย่าเถียงกันแบบคนไม่รู้กฎหมาย

เอายุทธศาสตร์มาเปิดดูเลยค่ะ

เอาข้อกฎหมายมาดูค่ะ

มันไม่ได้ทำกันง่ายๆ แบบเอาไปทิ้งทะเล หรือส่งไปกักกันแบบที่ว่า 

สงสัยเหมือนกันค่ะว่า คนที่ไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติจะมีชะตาชีวิตยังไง เป็นเรื่องเศร้านะค่ะถ้าคนกลุ่มนั้นไม่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้วถูกส่งตัวไปกักกันไว้

ได้อ่านที่คุณชาติชายบอกแล้วน่ากลัวจังค่ะ พอจะทราบไหมค่ะว่าเพราะอะไรจึงจะพิสูจน์ไม่ผ่าน พี่ยอดรักบอกว่าที่บ้านเขามีทะเบียนบ้านค่ะแล้วก็มีชื่อเขาอยู่ในนั้นด้วยแต่ว่าทะเบียนไม่มีเลขที่บ้าน และเขาก็ไม่สามารถพูด/เขียนภาษาพม่าได้ พูด/เขียนได้เฉพาะภาษไทยและไทใหญ่ ที่กล่าวมาจะมีพลต่อการพิจรณาการพิสูจน์สัญชาติไหมค่ะ

น้องเอ๋อยากรู้ค่ะว่าทำไมคนต่างด่าวถึงเปิดบัญชีไม่ได้ค่ะ

ตัวน้องเอ๋เองเป็นคนต่างด่าวค่ะเป็นแรงงานต่างด่าว

งงมากๆมีเงินก็เก็บไม่ได้ค่ะแบบนี้น้องเอ๋ยังไงดีค่ะ

ชวยตอบหนูด้วยค่ะพี่ๆๆคนไทยที่มีความรู้ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท