Flu H1N1 ไข้หวัดใหญ่ 2009


อาการที่ควรต้องไปหาแพทย์โดยเร็ว คือ หายใจลำบาก หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก อาเจียนรุนแรงหรือต่อเนื่อง

Dr Margaret Chan
Director-General of the World Health Organization

Keynote speech at a high-level meeting on influenza A(H1N1): lessons learned and preparedness
Cancun, Quintana Roo, Mexico
2 July 2009

"President Calderon, Minister Cordova, Governor Canto,
Secretary Sebelius, Minister Aglukkaq, honourable ministers, distinguished participants, ladies and gentleman  ...."

ขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขของเม็กซิโกและคานาดา ที่จัดการประชุมนี้
H1N1 พบที่นี่เป็นครั้งแรก  การห้ามเดินทางไปในที่ต่างๆที่พบผู้ป่วย Confirmed Cases
ไม่ช่วยป้องกันการแพร่ระบาด

ขณะนี้การแพร่ระบาดอยู่ในระดับที่ 6  กว่า 100 ประเทศมีรายงานการป่วย
คาดว่าโรคจะระบาดเป็นระยะเหมือนลูกคลื่น เป็นระลอกคลื่นของน้ำขึ้นน้ำลง
ในที่ประชากรหนาแน่น จำนวนป่วยจะเป็นกราฟเส้นไต่ระดับสูงอย่างรวดเร็ว และลดลง
ในที่ประชากรไม่หนาแน่น เส้นกราฟจะแบนราบกว่า
การควบคุมโรคอย่างเข้มแข็งก็จะทำให้เส้นกราฟจะแบนราบกว่าเดิม
แต่จะเป็นแบบนี้ระยะหนึ่งเท่านั้น

เม็กซิโก ที่เมืองเม็กซิกซิตี้ มีคลื่นการระบาด
คลื่นการระบาดระดับสูงสุดเดือนเมษายน 2552
คาดว่าหลายๆประเทศก็จะเป็น แบบเดียวกัน
ข้อที่เป็นที่กังวลว่าเม็กซิโกมีอันตรายน่าจะหมดไปได้
การที่เรามาประชุมกันที่เม็กซิโก
เป็นการที่ยืนยันว่า เม็กซิโกเป็นที่ปลอดภัย มาท่องเที่ยวได้

เนื่องจากเป็นโรคใหม่ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรืองจำเป็น
เนื่องจากความที่ไม่แน่นอนว่าจะเป็นอันตรายได้มากหรือไม่
เม็กซิโกได้ให้ การแจ้งเตือนกับโลก
ระบบการรายงานที่รวดเร็ว การควบคุมโรค และแจ้งข้อมูลและตัวอย่าง

คานาดาและสหรัฐก็ได้มีข้อตกลงความร่วมมือ (Collaboration)
มีแบบ Model ของการรายงาน ที่โปร่งใสไม่ปิดบัง
ตอนนี้เรารู้ว่า การระบาดคร้งนี้มีความรุนแรงปานกลาง
การที่ปิดโรงเรียนเพิ่มภาระผู้ปกครองและลูกจ้าง
ระบบสาธารณสบบางแห่งปรับตัวได้ทัน (coped well)
หลายแห่งทำให้บุคลากรสาธารณสุขเหนื่อยมากขึ้น ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ห้องแลป

ต้องคอยจับตามองฤดูหนาวปีนี้

เราจะยังคงพบกับผู้ป่วยที่อาการไม่มากและทุเลาอาการภายใน 1 สัปดาห์
จานานไม่น้อยทุเลาได้โดยไม่ต้องกินยารักษา
และมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในสัปดาห์ก่อนยืนยันเรื่องนี้
และยังคงมีผู้ที่ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดในเม็กซิโก

(As noted, the full clinical spectrum
of this disease is not yet fully understood.)
ส่วนมากผู้ป่วยที่ตายมักจะเป็นเพราะมีโรคอื่นอยู่แล้ว
ขณะนี้แพทย์ยังไม่ทราบกลไกของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งหมด
แต่ละวันก็มีข้อมูลความรู้สะสมเพิ่มมากขึ้น

ผู้ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อน และโรคจะเกิดในคนอายุน้อยมากกว่า
แต่บางทีก็มีสิ่งที่ยังคงไม่สราบสาเหตุ
ผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาวที่แข็งแรงดี (Healthy young adult) ป่วยไข้หวัดและตาย

ต่องการแจ้งประชาชนให้ทราบ
ไม่อยากให้แตกตื่นตกใจ มาเพิ่มงานโรงพยาบาลมากเกินไป
อยากให้ระบบสาธารณสุขที่มีอยู่ได้ช่วยผู้ที่ป่วยหนักที่จำเป็น

สัปดาห์ที่แล้ว นักวิจัยชาวเม็กซิกันตีพิมพ์เรืองนี้
ใน New England Journal of Medicine
(warning signs that can signal
the need for urgent medical care.
Symptoms of concern include
difficulty in breathing, shortness of breath,
chest pain and severe or persistent vomiting.)

อาการที่ควรต้องไปหาแพทย์โดยเร็วคือ
หายใจลำบาก หายใจไม่ทัน เจ็บหน้าอก
อาเจียนรุนแรงหรือต่อเนื่อง

ในผู้ใหญ่: ไข้สูงมากกว่า 3 วัน
ในเด็ก: อาการ อ่อนเพลีย ตืนยาก ง่วงนอน ไม่เล่น
เป็นอาการเตือน (Warning Sign)

การประชุมนี้จะเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือ
ป้องกันโรคที่เป็นสิ่งคุกคามสำหรับพวกเราทุกคน

ขอขอบคุณ

http://www.who.int/dg/speeches/2009/influenza_h1n1_lessons_20090702/en/index.html

Keynote speech at a high-level meeting on influenza A(H1N1): lessons learned and preparedness
Cancun, Quintana Roo, Mexico
2 July 2009

Dr Margaret Chan
Director-General of the World Health Organization

President Calderon, Minister Cordova, Governor Canto, Secretary Sebelius, Minister Aglukkaq, honourable ministers, distinguished participants, ladies and gentleman,

Let me thank the ministries of health of Mexico, the United States of America, and Canada for organizing this high-level meeting. Our special thanks to the government of Mexico for hosting this meeting. President Calderon, your leadership in managing the H1N1 outbreak in Mexico is commendable.

The fact that we are gathered here in Cancun, Mexico, reaffirms a statement consistently made by WHO since the new H1N1 virus was first detected. Recommendations to avoid travel to Mexico, or to any other country or area with confirmed cases, serve no purpose.

They do not protect the public. They do not contain the outbreak. And they do not prevent further international spread.

We are in phase 6 – that is, we are in the early days of the 2009 influenza pandemic. As we see today, with well over 100 countries reporting cases, once a fully fit pandemic virus emerges, its further international spread is unstoppable.

Influenza pandemics are remarkable events because they spread throughout a world population that is either largely or entirely susceptible to infection. They tend to hit a given area in the epidemiological equivalent of a tidal wave.

In densely populated areas, we see a steep increase in the number of cases, with a sharp peak, followed by a steep decline. Once the virus has swept through a susceptible population, transmission may continue, but at a much lower intensity.

In more sparsely populated areas, the peak may be flatter. Aggressive control measures can also flatten the epidemiological peak somewhat, but only for a while.

Mexico, and especially Mexico City, experienced this tidal wave of cases, and its peak, back in April. Other countries, where the virus was introduced later, are experiencing it now. More countries will see this pattern in the months to come.

But the worst for Mexico should be over now, at least during this first wave of spread. Our presence here is an expression of confidence. Mexico is a safe, as well as a beautiful and warmly gracious, place to visit.

Ladies and gentlemen,

When a new infectious agent causes an outbreak, it is nearly always the first country affected that suffers the most. New diseases are, by definition, poorly understood as they emerge.

The first country affected will, quite literally, not know what hit it in the early days of an outbreak. Decisions, from the doctor at the hospital bed to the head of state, have to be made quickly and decisively in an emergency situation characterized by considerable scientific uncertainty.

Mexico was the first country to experience a widespread outbreak. Mexico bore the brunt of these consequences at a time when the new virus had not yet been identified and nothing was known about the disease it causes.

Mexico gave the world an early warning, and it also gave the world a model of rapid and transparent reporting, aggressive control measures, and generous sharing of data and samples.

Canada and the United States supported the early control measures in Mexico, and then followed this model of transparent reporting and generous collaboration as their own outbreaks began to spread.

WHO and the international community have much to thank these three countries for setting a precedent that, up to now, nearly every country has followed.

Thanks to this collaboration, we have some answers that can help us greatly right now, as countries do everything possible to protect their populations, mitigate the health effects, and prepare for whatever might lie ahead.

What do we know? As I have said before, we have good reason to believe that this pandemic will be of moderate severity, at least in its early days.

We have seen some social disruption, especially when schools or camps have had to close, bringing added demands on parents and their employers. Most health systems have coped well, though some have reported some strains on staff, hospitals beds, laboratories and resources.

But we need to watch very carefully what happens during the current winter season in the Southern Hemisphere.

We are still seeing a largely reassuring clinical picture. The overwhelming majority of patients experience mild symptoms and make a full recovery within a week, often in the absence of any form of medical treatment. Research published last week confirms that this pattern, in which most patients experience mild influenza-like illness, has also been seen in Mexico.

Most cases of severe and fatal infection continue to occur in people with underlying medical conditions. We are getting, day-by-day, better data on the specific conditions that place patients at heightened risk.

Without question, pregnant women are at increased risk of complications. This heightened risk takes on added importance for a virus, like this one, that preferentially infects younger age groups.

But there are some exceptions that must be the focus of particular concern. For reasons that are poorly understood, some deaths are occurring in perfectly healthy young people. Moreover, some patients experience a very rapid clinical deterioration, leading to severe, life-threatening viral pneumonia that requires mechanical ventilation.

In keeping our populations informed, we face a difficult challenge. We cannot be alarmist, as this risks flooding emergency wards with the worried well, creating disruptively high demands for staff, hospitals, and laboratories. I am sure you will agree: health services need to stay fit for genuinely severe cases.

At the same time, if we are overly reassuring, patients in genuine need of treatment, where rapid emergency care can make a life-and-death difference, may be lulled into waiting too long.

Last week, Mexican researchers published clinical profiles of early H1N1 cases in the New England Journal of Medicine. As noted, the full clinical spectrum of this disease is not yet fully understood. We do not fully understand the predictive factors for severe or fatal infections.

However, as more and more data become available, we are getting a better grip on warning signs that can signal the need for urgent medical care. Symptoms of concern include difficulty in breathing, shortness of breath, chest pain and severe or persistent vomiting.

In adults, a high fever that lasts for more than three days is a warning sign, particularly when accompanied by a general worsening of the patient’s condition. Lethargy in a child, that is, a child that has difficulty waking up or is no longer alert, or is not playing, is a warning sign.

For a pandemic of moderate severity, this is one of our greatest challenges: helping people to understand when they do not need to worry, and when they do need to seek urgent care. This is one key way to help save lives.

Ladies and gentlemen,

Between the extremes of panic and complacency lies the solid ground of vigilance. This meeting is all about vigilance: taking stock of what we have learned, and preparing for whatever surprises this capricious new virus delivers next.

Constant, random mutation is the survival mechanism of the microbial world. Like all influenza viruses, H1N1 has the advantage of surprise on its side.

We have the advantages of science, and of rational and rigorous investigation, on our side, supported today by tools for data collection, analysis, and communication that are unprecedented in their power.

We have another advantage on our side, as exemplified by this meeting: collaboration and solidarity. It is my sincere wish that this meeting will take us some big steps forward in building our collective defences against a threat shared by all.

Thank you.


-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

Link to: การป้องกันในโรงเรียน และวิธีทำหน้ากากอนามัยใช้เอง

http://gotoknow.org/blog/nopadol/269403

หมายเลขบันทึก: 272968เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2009 06:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ที่โรงเรียนมีคุณแม่เป็นไข้หวัดเล็กน้อย

ติดจากการดูแลลูกที่แพทย์สรุปแล้วว่าเป็นH1N1

และขณะนี้ก็ปลอดภัย

แต่ผู้ใกล้ชิดมีอาการไข้หวัดเล็กน้อยค่ะ

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=26419

สธ. ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เด็กอยู่ในบ้านช่วงวันหยุดยาว ป้องกันการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่

กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือผู้ปกครองให้เด็กอยู่ในบ้าน หยุดการไปเรียนกวดวิชาช่วงวันหยุด กำชับให้โรงพยาบาลต่างจังหวัดเตรียมรับมือผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ โรคปอด หัวใจ เบาหวาน ฯลฯ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และหญิงตั้งครรภ์ เป็นกรณีพิเศษ หากไม่มั่นใจในการรักษา ให้ประสานงานไปที่กระทรวงสาธารณสุข

วันนี้ (4 กรกฎาคม 2552) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปแจกเอกสารแผ่นพับให้ความรู้การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เจลล้างมือ และหน้ากากอนามัย ที่สถานีขนส่งหมอชิต สถานีรถไฟหัวลำโพง ห้างสรรพสินค้าสยามสแคว์ กรุงเทพฯ และในตอนเย็นเวลา 18.00 น. จะไปแจกให้ประชาชนที่จะเข้าชมคอนเสิร์ตอัสนี วสันต์ ที่อิมแพค เมืองทองธานี

นายวิทยา ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มีเพิ่มมากขึ้น ช่วงวันหยุดยาว 5 วันนี้ กระทรวงสาธารณสุข ขอแนะนำให้นักเรียนซึ่งหยุดเรียน หยุดการไปเรียนกวดวิชาด้วย โดยขอให้อยู่ในบ้าน จะสามารถตัดวงจรการแพร่ระบาดของโรคได้ อีกทั้งวันหยุดหลายวันนี้ประชาชนจำนวนมากเดินทางออกจากกทม.เพื่อกลับบ้านหรือไปท่องเที่ยว ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะนำเชื้อไปด้วยหรือไม่ ขณะนี้ประชาชนต่างจังหวัดและอสม.กว่า 9 แสนคน รู้จักวิธีการป้องกันตัว เพื่อห่างไกลจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยหากเป็นไข้หวัด”

นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า ได้ให้โรงพยาบาลทุกจังหวัดเตรียมรับมือกับโรคนี้ ปรับมาตรการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ โดยให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับทั่วประเทศ เพิ่มช่องทางให้บริการผู้ป่วยที่มีอาการของไข้หวัดใหญ่ คือมีไข้สูง ไอ จาม ปวดเมื่อยตามตัว มีน้ำมูก เจ็บคอ หรือท้องเสียเป็นการเฉพาะ ในรายที่มีไข้สูง ไม่มีอาการแทรกซ้อน สามารถพักผ่อนที่บ้านได้ จะให้เจ้าหน้าที่ติดตามสอบถามอาการความคืบหน้าในวันรุ่งขึ้นว่าดีขึ้นหรือไม่ และจำเป็นต้องมาโรงพยาบาลอีกหรือไม่

กรณีผู้เสียชีวิตรายที่ 6 เป็นคนอ้วนนั้น ได้กำชับให้ทุกโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว คือ โรคปอด หัวใจ เบาหวาน ฯลฯ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และหญิงตั้งครรภ์ เป็นกรณีพิเศษ หากไม่มั่นใจในการดูแลรักษา ให้ประสานงานไปที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกรมการแพทย์ได้จัดตั้งคณะปรึกษาด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่รวมทั้งโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพื่อให้คำปรึกษาด้านการรักษาแก่แพทย์ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งแพทย์สามารถเปิดดูได้ที่เว็ปไซด์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th

ทั้งนี้ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯเพิ่ม 134 ราย เป็นนักเรียน 115 ราย อยู่ระหว่างการสอบสวนรายละเอียด 19 ราย รวมผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน – 4 กรกฎาคม 2552 จำนวน 1,845 ราย เสียชีวิต 6 ราย

แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ

ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ

[4/ก.ค/2552]

ttp://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=26430

วิทยา-มานิต เดินสายกำชับมาตรฐานรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ร.พ.ในสังกัด

รัฐมนตรีว่าการฯและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมผู้บริหารระดับสูง ออกตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลในสังกัดในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ลดการเสียชีวิต เน้นบริการแบบวันสต็อบ เซอร์วิส ตรวจรักษา จ่ายยาเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อสู่คนอื่น ล่าสุดในวันนี้ได้รับรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบยืนยันติดเชื้อเพิ่มอีก 231 ราย รวมมีผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 ถึงวันนี้มีทั้งหมด 2,076 ราย อาการหายเป็นปกติ 2,036 ราย เสียชีวิตเท่าเดิม 7 ราย พร้อมทั้งเตือนผู้ที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ ห้ามกินยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้ตับวาย มีโอกาสเสียชีวิตได้ง่าย

วันนี้( 5 กรกฎาคม 2552 ) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดร.นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี โรงพยาบาลตราด โรงพยาบาลระยองและโรงพยาบาลชลบุรี เพื่อติดตามมาตรฐานการดำเนินงานดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 เพื่อลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย รวมทั้งการป้องกันควบคุมการแพร่เชื้อ

นายวิทยากล่าวว่า การพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ได้วางแนวทางการดูรักษาไว้ 2 ส่วน โดยในกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง ซึ่งจะพบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่รายที่ไข้ไม่สูง ไม่มีอาการซึม และรับประทานอาหารได้ สามารถรักษาตามอาการด้วยตนเองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาล โดยในการใช้ยาลดไข้ ให้ใช้ยาพาราเซตามอล นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ควรหยุดเรียน หยุดงาน จนกว่าจะหายเป็นปกติ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีคนใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น

นายวิทยากล่าวต่อว่า หากอาการไม่ดีขึ้น ไข้ยังสูงติดต่อกัน 2-3 วัน มีอาการไอมาก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก มีอาการซึมลง ควรรีบพบแพทย์ ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศกว่า 800 แห่งทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ได้จัดช่องทางบริการพิเศษให้ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเป็นการเฉพาะ เพื่อผู้ป่วยได้รับความสะดวก ได้รับการดูแลอย่างรวดเร็ว ไม่แพร่เชื้อสู่คนอื่น หากมีอาการรุนแรงหรืออยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงอาการรุนแรง แพทย์จะรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล และดูแลอย่างดีที่สุด เพื่อป้องกันการเสียชีวิต ซึ่งขณะนี้โรงพยาบาลในสังกัดทุกระดับ ได้จัดเตรียมห้องแยกไว้ดูแลเป็นการเฉพาะแล้ว และจัดทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนกลางไว้เป็นที่ปรึกษาแพทย์ทั่วประเทศทั้งรัฐและเอกชนตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในวันนี้ได้รับรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบผลยืนยันติดเชื้อเพิ่มอีก 231 ราย โดยเป็นนักเรียน 205 ราย ที่เหลือ 26 รายติดเชื้อภายในประเทศ รวมจำนวนผู้ป่วยทั้งประเทศสะสมตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 ถึงวันที่5 กรกฎาคม 2552 จำนวน 2,076 ราย เสียชีวิต 7 รายเท่าเดิม เป็นชาย 4 ราย หญิง 3 ราย หายป่วยอาการเป็นปกติแล้ว 2,036 ราย ที่เหลืออีก 33 ราย ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลสมุทรสาคร และโรงพยาบาลราชบุรี เพื่อติดตามการดำเนินดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯเมื่อเช้าวันนี้ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทุกแห่งทั่วประเทศ จัดช่องทางพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะ ดูแลทั้งโรคไข้หวัดทั่วไปและโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯ ไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยอื่นๆ เป็นบริการแบบเบ็ดเสร็จ ตรวจ รักษา จ่ายยาที่จุดเดียวหรือวัน สต็อบ เซอร์วิส ให้ใช้สถานที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อให้ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯได้รับความสะดวก และไม่แพร่กระจายเชื้อให้ผู้ป่วยอื่นๆ เพราะโดยทั่วไปผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล จะมีภูมิต้านทานต่ำอยู่แล้ว อาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย

“ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะโรคนี้สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ โดยขอให้ดูแลตนเองตามที่กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ คือกินร้อน ช้อนกลางและล้างมือ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อมาถึงที่ทำงานหรือที่โรงเรียน ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลล้างมือฆ่าเชื้อโรคในระหว่างการเดินทาง มือจะสัมผัสกับเชื้อโรคที่ติดอยู่กับสิ่งสาธารณะต่างๆที่มีผู้คนใช้รวมกันมากๆเช่นราวโหนรถเมล์ ที่จับประตูเป็นต้น” นายมานิตกล่าว

นายมานิตกล่าวต่อว่า ได้เน้นย้ำให้ผู้ดูแลพื้นที่สาธารณะต่างๆ ดูแลทำความสะอาดเพิ่มขึ้น โดยเน้นทำความสะอาดบ่อยๆ ด้วยน้ำผสมผงซักฟอก สำหรับเด็กนักเรียน ในช่วงวันหยุดยาว 5 วันนี้ ขอให้ดูแลตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯ โดยไม่ไห้ไปร้านเกม งดไปโรงเรียนกวดวิชา หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนอยู่จำนวนมากๆ โดยขอให้อยู่บ้านอ่านหนังสือแทน ส่วนคนที่ป่วยให้ดูแลตนเองมากขึ้น

ด้านนายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการลดไข้ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ ที่มีไข้สูง ทำได้ 2 วิธี คือเช็ดตัวด้วยน้ำสะอาด น้ำธรรมดาทั่วๆไป โดยบิดผ้าให้เปียกหมาดๆ น้ำจะมีคุณสมบัติช่วยพาความร้อนระเหยออกจากร่างกาย วิธีการเช็ดให้เช็ดจากส่วนปลายอวัยวะเข้าหาหัวใจ เช่นปลายเท้า มือ เพื่อกระตุ้นระบบไหลเวียนขับความร้อนออกจากร่างกายให้ดียิ่งขึ้นและวางผ้าตามซอกคอ รักแร้ ข้อพับ เพื่อถ่ายเทความร้อนออกมาจากผิวหนัง และใส่เสื้อผ้าบางๆ ส่วนยาลดไข้แนะนำให้ใช้พาราเซตามอล อาจจะกินทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรกินยาแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาตับอักเสบและตับล้มเหลวที่เรียกว่า เรย์ ซินโดรม (Reye’s syndrome) เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้

****************************** 5 กรกฎาคม 2552

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=26440

รมช.กำชับร.พ.ในสังกัดทั่วประเทศ ทุ่มเทรักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เต็มที่ ไม่ต้องห่วงเรื่องงบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำชับโรงพยาบาลในสังกัดกว่า 800 แห่ง ให้พร้อมรับมือผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ในวันเปิดทำการหลังหยุดยาว 5 วัน คาดจำนวนจะเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัว ขอให้เจ้าหน้าที่ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ ไม่ต้องคำนึงเรื่องงบประมาณ เผยวันนี้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบยืนยันติดเชื้ออีก 156 ราย ร้อยละ 82 เป็นนักเรียน เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย รวมเป็น 9 ราย ขณะนี้ยังนอนรักษาในโรงพยาบาล 38 ราย พร้อมวอนสื่ออย่าเรียกไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ว่าหวัดมรณะ ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะโรคนี้ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตทุกราย

นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอเอช 1 เอ็น 1 ว่า ในวันนี้ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย ในกทม.และจ.เพชรบุรี รวมแล้วขณะนี้ไทยมีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 ราย ซึ่งมาตรการขณะนี้ การควบคุมป้องกันการแพร่กระจายเชื้อทำได้ค่อนข้างยาก เพราะเชื้อนี้มีแหล่งแพร่ในคนซึ่งมีการเดินทาง มีกิจกรรมตลอดเวลา กระทรวงสาธารณสุขได้มุ่งเน้นที่การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งรวมทั้งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯด้วย ให้ได้รับความปลอดภัยมากที่สุด และลดการสูญเสียชีวิตให้ได้มากที่สุด ได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศทุกระดับ เปิดจุดตรวจรักษาผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด แยกจากจุดบริการผู้ป่วยทั่วไป เป็นแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยโรคนี้แพร่เชื้อสู่คนอื่น และป้องกันไม่ให้ติดเชื้อจากผู้ป่วยอื่นๆด้วย

นายมานิตกล่าวว่า จากการตรวจเยี่ยมความพร้อมของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัดในช่วง 2 วันนี้ ไม่น่าห่วง ทุกแห่งสามารถจัดจุดตรวจเบ็ดเสร็จที่จุดเดียวได้ มีอัตรากำลังทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่เพียงพอ “ได้เน้นย้ำขอความร่วมมือให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุ่มเทสรรพกำลังทำงานดูแลผู้ป่วยอย่างเต็มที่ ไม่ต้องห่วงค่ารักษาหรือเรื่องงบประมาณไม่พอ ผมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อให้ความมั่นใจกับประชาชน คาดว่าเมื่อเปิดทำการในวันพฤหัสบดี และวันศุกร์นี้ จำนวนผู้ป่วยไข้หวัดจะทยอยเข้าตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมากกว่าวันหยุดประมาณ 2-3 เท่าตัว ที่เป็นห่วงขณะนี้คือโรงพยาบาลชุมชน เนื่องจากมีแพทย์น้อย บางที่มีแพทย์ 2 คน อาจไม่เพียงพอ ได้มอบหมายให้นายแพทย์สมชัย นิจพานิช รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ศึกษารูปแบบที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นการด่วนแล้ว เพื่อนำมาแก้ไขปรับปรุงบริการให้ราบรื่นที่สุด” นายมานิตกล่าว

ทั้งนี้ สำหรับการป้องกันโรค ขณะนี้พบการแพร่ระบาดในโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ แต่จุดที่ยังไม่เกิดการระบาดและเป็นแหล่งคนมากคือตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าไปดำเนินการเฝ้าระวังและรณรงค์ประชาสัมพันธ์การป้องกัน และประสานขอความร่วมมืออธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำรวจจุดลักษณะงานที่อาจเสี่ยงแพร่โรคนี้ เพื่อร่วมมือกันป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่

สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯวันนี้ (7 กรกฎาคม 2552) ได้รับรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบยืนยันติดเชื้ออีก 156 ราย เป็นนักเรียน 128 ราย หรือร้อยละ 82 ที่เหลือ 28 รายติดเชื้อในพื้นที่ รวมแล้วมีผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 2,428 ราย อาการหายดีแล้ว 2,381 ราย เสียชีวิต 9 ราย วันนี้ทั่วประเทศมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่นอนรักษาในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 38 ราย อย่างไรก็ดีอยากขอความร่วมมือสื่อมวลชนอย่าเรียกไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ว่าหวัดมรณะ ทำให้ประชาชนตื่นตระหนก เพราะโรคนี้ไม่ได้ทำให้เสียชีวิตทุกราย

สำหรับผู้เสียชีวิต 2 รายล่าสุด รายแรกเป็นชาย อายุ 58 ปี อยู่ในกทม. เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอาการไข้ ไอ อ่อนเพลีย มีน้ำมูก รายนี้มีประวัติไตวาย โรคความดันโลหิตสูง และโรคเก้าท์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 แพทย์รับตัวไว้สังเกตอาการที่ห้องฉุกเฉิน วินิจฉัยเบื้องต้นว่า ปอดอักเสบ ต่อมาวันที่ 2 ก.ค. ผู้ป่วยหายใจดีขึ้น แพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้าน ต่อมาผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินในวันที่ 5 กรกฎาคม 2552 ด้วยอาการหายใจหอบ กระสับกระส่ายมาก แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาเสียชีวิตที่ห้องฉุกเฉินในวันเดียวกัน และได้เก็บตัวอย่างเสมหะในลำคอส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจในวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 ยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็วร่วมกับกทม.ควบคุมโรคที่บ้านของผู้เสียชีวิต ผู้เสียชีวิตรายที่ 2 เป็นเด็กหญิง อายุ 8 ขวบ เป็นนักเรียนชั้นป.1 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี แต่ไม่ได้ไปโรงเรียน 3 ปี มีประวัติเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และได้รับการรักษาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลในกทม.เป็นประจำ ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2552 เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า เพชรบุรี ด้วยอาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย มีน้ำมูก หลังรักษา 2 วันแรกอาการดีขึ้น ต่อมาอาการทรุดลง แพทย์ได้ทำการรักษาตามอาการอย่างเต็มที่ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในวันที่ 5 กรกฏาคม 2552 ยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ผู้เสียชีวิตรายนี้จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรีได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วไปควบคุมโรคที่บ้าน ทำการเฝ้าระวังผู้สัมผัสโรคร่วมบ้านจำนวน 4 คน ติดตามอาการเป็นเวลา 7 วัน จนถึงวันนี้ทุกคนยังไม่มีใครป่วย

***************** 7 กรกฎาคม 2552

แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ
[7/ก.ค/2552]


สธ.เผยผู้ป่วยเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่ม 2 ราย
รวมยอด 11 ราย

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยยอดผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 วันนี้เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 ราย จากกรุงเทพฯ และภูเก็ต รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดขณะนี้ 11 ราย ส่วนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้ออีก 290 ราย ส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี วันนี้มีดูแลในโรงพยาบาล 110 ราย เตรียมจัดอบรมแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนเรื่องไข้หวัดใหญ่วันพรุ่งนี้ 

วันนี้(8 กรกฎาคม 2552)นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ขึ้นทะเบียนผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯอีก 2 ราย รวมทั้งหมด 11 ราย โดยรายที่ 10 อยู่ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นชายอายุ 19 ปี เริ่มป่วยเมื่อ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอาการไข้ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนในภูเก็ตแต่ไม่ยอมนอนโรงพยาบาล วันที่ 2 กรกฎาคม 2552 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต ผู้ป่วยมีอาการหนักมาก ความดันโลหิตต่ำ แพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจช่วยชีวิต และเอ็กซ์เรย์ปอด พบปอดบวมทั้ง 2 ข้างและมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจำนวนมาก แพทย์ส่งน้ำในช่องปอดตรวจ พบติดเชื้อแบคที่เรียร่วมด้วย แพทย์ให้การดูแลอย่างเต็มที่ ต่อมาผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 

ส่วนผู้เสียชีวิตรายที่ 11 เป็นหญิงอายุ 21 ปี อยู่กรุงเทพฯ ตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน และมีโรคไทรอยด์ (Hyperthyroid) เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ด้วยอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีไข้และไปรับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 ได้รับแจ้งว่าเป็นคออักเสบให้กลับไปพักที่บ้าน ต่อมาวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 เวลาประมาณเที่ยงคืนผู้เสียชีวิตเข้ามารับการรักษาที่วชิรพยาบาลด้วยอาการไข้สูง หายใจหอบ ไอ ผลเอ็กซ์เรย์พบปอดอักเสบทั้ง 2 ข้าง เสียชีวิตในวันเดียวกันเวลา 15.00 น.

นายมานิต กล่าวต่อไปว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย สำนักระบาดวิทยาได้ทราบผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อเย็นวันที่ 7 กรกฎาคม 2552 พบยืนยันติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็วเข้าไปควบคุมโรคที่พักของผู้เสียชีวิตร่วมกับพื้นที่ทั้งหมดแล้ว อย่างไรก็ตามขอย้ำเตือนผู้ที่มีอาการไข้หวัด และมีไข้ หากภายใน 1-2 วันไข้ไม่ลดมีอาการมากขึ้น ควรให้มาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพื่อได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที 

สำหรับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ 2009 วันนี้ได้รับรายงานผลการตรวจยืนยันพบติดเชื้ออีก 290 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปีซึ่งรวมนักเรียนจำนวน 243 ราย รวมผู้ป่วยสะสม ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2552 – 8 กรกฎาคม 2552 จำนวน 2,714 ราย หายเป็นปกติแล้ว 2,593 ราย เสียชีวิตทั้งหมด 11 รายเป็นเด็ก 1 ราย เป็นผู้ใหญ่ 10 รายในจำนวนนี้เป็นชาย 6 ราย เป็นหญิง 4 ราย ในวันนี้ยังมีผู้ป่วยอยู่ในการดูแลในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน 110 ราย ได้กำชับให้ทีมแพทย์ให้การรักษา ติดตามอาการอย่างเต็มที่ไม่ต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่าย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยในชีวิตมากที่สุด 

นายมานิต กล่าวต่อไปอีกว่า ในวันพรุ่งนี้ (9 กรกฎาคม 2552) กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งดูแลโรงพยาบาลเอกชน และกรมการแพทย์ซึ่งดูแลในเรื่องมาตรฐานการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ 2009 จัดอบรมฟื้นฟูวิชาการแพทย์ของโรงพยาบาลเอกชนทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล เรื่องแนวทางการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ 2009 ที่โรงแรมมิราเคิล เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วยและจะเร่งขยายการอบรมทั่วประเทศต่อไป

....... 8 กรกฎาคม 2552 


แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ 
ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ 
[8/ก.ค/2552]

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=26585

สธ.ขอความร่วมมือร้านขายยา ช่วยคัดกรองผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯส่งโรงพยาบาล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือร้านขายยาช่วยเป็นด่านแรกคัดกรองและให้คำแนะนำผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 หากพบกลุ่มเสี่ยง เช่น ไข้สูง มีโรคประจำตัว หรืออ้วน รีบส่งรักษาต่อโรงพยาบาล เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต เตรียมประสานการสื่อสารแห่งประเทศไทย และบริษัทมือถือทุกค่าย ส่งคำแนะนำการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฯ ผ่านทางจดหมายและข้อความทางโทรศัพท์มือถือ

วันนี้ (12 กรกฎาคม 2552) นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานเปิดงาน อย.-ร้านยารวมใจสู่ภัยไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่โรงแรมเซ็นจูรี่ปาร์ค กทม. และเดินทางไปแจกหน้ากากอนามัยพร้อมเจลล้างมือ ที่ สนามมวยช่องเจ็ดสี ว่า ร้านขายยาเป็นที่พึ่งแรกของประชาชน เมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อย มักไปขอคำปรึกษาและซื้อยามารับประทาน ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ขอความร่วมมือผู้ประกอบการร้านขายยาทุกแห่ง เภสัชกรประจำร้าน ขอให้ช่วยซักประวัติและอาการผู้ที่ป่วยคล้ายไข้หวัดอย่างละเอียด หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หรือมีโรคประจำตัว มีภาวะอ้วน ให้แนะนำไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงจะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการร้านขายยาเป็นอย่างดี

นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขห่วงใยกลุ่มบุคคลที่มีโรคประจำตัว ที่มีความเสี่ยงจะเป็นอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้มีอยู่ 2.4 ล้านคนทั่วประเทศ โดยมีข้อมูลผู้ป่วยที่โรงพยาบาลทั่วประเทศอยู่แล้ว ทั้งนี้ได้ขอความร่วมมือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย จัดส่งคำแนะนำข้อปฏิบัติตัวทางจดหมายให้แก่บุคคลกลุ่มดังกล่าว และให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านลงไปติดตามให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ส่งไปให้ โดยในวันพรุ่งนี้(13 กรกฎาคม 2552) จะได้ประสานกับบริษัทมือถือทุกค่าย ขอความร่วมมือส่งข้อความคำแนะนำการปฏิบัติตัวป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฯ ไปยังเจ้าของโทรศัพท์ทุกหมายเลขอีกด้วย

นายวิทยากล่าวต่อว่า สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ขณะนี้ประเทศไทย ได้ให้องค์การเภสัชกรรมสั่งจองวัคซีนชนิดเชื้อตายไปยังบริษัทซาโนฟี่ จำนวน 2 ล้านโดส ในวงเงิน 10 ล้านยูโร ใช้งบรัฐบาลและงบจาก สปสช. จะได้วัคซีนประมาณต้นธันวาคม 2552 นี้ ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่องค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้ผลิต อยู่ระหว่างรอเชื้อไวรัสต้นแบบจากองค์การอนามัยโลก ซึ่งได้มาจากประเทศรัสเซีย จะมาถึงไทยในวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 นี้ หลังจากนั้นจะทำการผลิตวัคซีนเพื่อทดลองในสัตว์และในคนทันที คาดว่าจะได้ใช้ภายในปลายปีนี้แน่นอน

************************************************** 12 กรกฎาคม 2552

แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ

ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ

[12/ก.ค/2552]

http://www.moph.go.th/ops/iprg/iprg_new/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=27096

“วิทยา” ระบุคลินิกที่จะเข้าร่วมจ่ายยาโอเซลทามิเวียร์ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยผลการประชุมคณะอนุกรรมการ ฯระบุคลินิกที่จะเข้าร่วมจ่ายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ รักษาผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 8 ข้อที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ป้องกันเชื้อดื้อยา แนะประชาชนหากเป็นไข้โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงให้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลรัฐ ทั่วประเทศ มียารักษาเพียงพอ

วันนี้ (28 กรกฎาคม 2552) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคืบหน้าการกระจายยาโอเซลทามิเวียร์ในคลินิก เพื่อให้ประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เข้าถึงยาว่า การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ฯ ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัว ส่วนหนึ่งไปรักษาและได้รับยาช้า จึงต้องเร่งแก้ไข โดยได้นำข้อมูลนี้รายงานต่อคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นผู้ชี้และแนะนำกำหนดแนวทางทั้งหมดให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ

ผลจากการประชุมเมื่อวานนี้ ได้รับรายงานว่า คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาทางวิชาการได้กำหนดยุทธศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข มีข้อแนะนำให้กระจายยาในคลินิกได้ แต่มีเงื่อนไขต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด 8 ข้อ ซึ่ง เป็นไปตามการชี้แนะของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาระดับชาติ โดยมีอาจารย์จากทุกมหาวิทยาลัยเป็นคณะอนุกรรมการ เพื่อระมัดระวังปัญหาดื้อยา กระทรวงสาธารณสุขพร้อมปฏิบัติตาม ซึ่งการควบคุมการใช้ยาในคลินิกทำได้ไม่ยาก เนื่องจากแพทย์ในคลินิกต่างจังหวัด ส่วนหนึ่งเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลอยู่แล้ว

นายวิทยากล่าวต่อว่า ในวันพรุ่งนี้จะประชุมนายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด และจะแจกข้อสรุปเงื่อนไขดังกล่าวเป็นคู่มือ เพื่อให้คลินิกที่เข้าร่วมโครงการปฏิบัติตาม เพื่อให้แพทย์จ่ายยาด้วยความระมัดระวัง โดย ประชาชนที่เข้าไปรักษาที่คลินิกจะต้องเสียเงินค่ารักษาเอง แต่หากใช้บริการในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพจะให้การรักษาฟรี ซึ่งขณะนี้เปิดช่องทางพิเศษสำหรับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไว้แล้ว และมียารักษาเพียงพอ

“อยากเรียกร้องให้ประชาชน หากป่วยไม่สบายให้เข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ส่วนคนที่สุขภาพดีหากเป็นไข้ หากดูอาการที่บ้าน กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที” นายวิทยา กล่าว

*********************************** 28 กรกฎาคม 2552

แหล่งข่าวโดย.... สำนักสารนิเทศ

ผู้จัดทำ.... ฝ่ายข่าวและสื่อมวลชนสัมพันธ์ กลุ่มสารนิเทศ

[28/ก.ค/2552]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท