KM.ในสถาบัน "อุดมปัญญา"


หลายปีมานี้กระแสของการ "จัดการความรู้" นับได้ว่าเป็นกระแสที่มาแรงมาก ประกอบกับมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาก็บรรจุเป็นหนึ่งตัวบ่งชี้ที่ทุกหน่วยงานต้องทำให้เกิดมีขึ้น เพื่อที่จะให้เกิดเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ซึ่งการที่จะเกิดเป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้" ได้นั้นจะต้องเริ่มจากการที่บุคลากรในองค์กรนั้นเป็น "บุคคลแห่งการเรียนรู้" หรือ "ผู้ปฏิบัติงานแห่งการเรียนรู้" และรวมถึง "ผู้บริหารแห่งการเรียนรู้" ด้วย

กระแส KM ก็มาแรงในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งนับเป็นสถาบันสำคัญที่รับช่วงต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมัธยม และมัธยมก็รับช่วงต่อจากระดับประถม ประถมรับต่อจากระดับปฐมวัย และปฐมวัยรับต่อจากสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดของโลกนั่นคือ "บ้าน" อันเป็น "หน่วยที่เล็กที่สุด" ของทุกองค์กรที่มนุษย์จัดให้มีขึ้นในบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สถาบันอุดมศึกษาจึงเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเตรียมทรัพยากรบุคคลก่อนที่จะส่งออกไปสู่โลกของงานอาชีพและสู่การเป็น "ส่วนหนึ่ง"ของกระบวนการทางสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

สถาบันอุดมศึกษา หรือที่ผมชอบเรียกว่า "สถาบันอุดมปัญญา" จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งยวดในขั้นตอนของการ "เติมปัญญา" เข้าไปในสังคม ชุมชน ในองค์กร และใน "บ้าน" หากว่า "สถาบันอุดมปัญญา" สามารถทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมตามกำลัง "ปัญญา" ที่ครอบครองอยู่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่หากไม่เป็นเช่นนั้น หรือในทางกลับกัน แทนที่จะเป็นสถาบัน "อุดมปัญญา" แต่กลับเป็นสถาบัน"อุดมปัญหา" ก็คงจะยุ่งน่าดู เพราะจะไปซ้ำเติมเพิ่มปัญหาเข้าไปในสังคม ชุมชนที่เดิมก็มีปัญหาอยู่แล้ว

การจัดการ "ความรู้" ในระดับอุดมศึกษาจึงควรเป็นการจัดการที่จะทำให้เกิดเป็นสถาบัน "อุดมปัญญา" อย่างแท้จริง ทำให้ทุกหน่วยงานในสถาบันอุดมปัญญาเป็นหน่วยงานที่ "อุดมปัญญา" เป็น "คณะอุดมปัญญา" เป็น"สาขาวิชาอุดมปัญญา" เป็น"สำนักงานอุดมปัญญา" และแม้ว่าเราจะไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะไม่ไห้มีปัญหา แต่การที่เราครอบครอง "ปัญญาอันอุดม" ก็จะสามารถใช้ "ปัญญา" นั้นคลี่คลายด้วย "หลักการ" แห่งองค์ความรู้ที่ครอบครองอยู่

คงจะแปลกน่าดูทีเดียวที่ หากปรากฏว่าในสถาบันอันอุดมด้วยปัญญาในขณะเดียวกันก็อุดมด้วย"ปัญหา" ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถจัดการกับ "ปัญหา"เหล่านั้นให้คลี่คลายลงได้

หมายเลขบันทึก: 272442เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2009 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ปัญหาสร้างปัญญาครับ ปัญหาเยอะ แก้ได้เยอะ ปัญญาก็เกิดได้เยอะ

  • อืม...ครับ เห็นด้วยที่ปัญหาก่อให้เกิดปัญญา
  • แต่...ถ้าปัญหาเดิมๆ ยังคงเจิดจรัสอย่างที่อาจารย์กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในเช้าเมื่อวาน ก็อีกเรื่องหนึ่งใช่ไหมครับ

อย่างประเด็นในวันนั้น ผมว่ามันเข้าข่ายหะดีษที่ว่า

"มุสลิมที่ดีจะต้องไม่ถูกงูกัดในรูเดิมซ้ำเป็นครั้งที่สอง" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท