หลังจากผมไปฟังบรรยายของ ริชชี่


ทำผิด สำนึกผิด ขอโทษ ให้อภัย แล้วไม่ทำผิดเพิ่ม

กลับมาจากการได้ไปฟังการบรรยายของคุณ ริชชี่ เรื่อง สมาธิ เข็มทิศสู่ปัญญาและการแก้กรรม

ผมขอเก็บเอามาเฉพาะส่วนผมที่คิดว่าใช่ ในส่วนที่ยังเป็นข้อสงสัยขอหาคำตอบเพิ่มก่อนจึงจะเชื่อตาม

ผู้บรรยายได้อธิบายถึงคำว่า "กรรม" คืออะไร ทุกคนมีกรรมอย่างไร แบบไหน

เจ้ากรรมนายเวร คือใคร "สมาธิ" คืออะไร เริ่มฝึกอย่างไร ทำให้จิตใจให้สงบและมีสติ

ทำอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องชาวพุทธเราได้ยินกันบ่อยครั้ง แต่ขึ้นอยู่กับใครจะเอามาเป็นสาระเนื้อหา

ให้ตัวเองได้ฝึกปฏิบัติกัน การฝึกสมาธิ ขั้นเริ่มต้นทำอย่างไร เป็นต้น ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่าง

ที่เป็นปัจุบันให้ผู้ฟังได้เข้าถึงมากขึ้น แต่ผมเริ่มเห็นผู้ที่ผิดหวังว่า ผู้บรรยายจะมาแสดง

หรือบอกแนวทางลัด ให้ตนหายจากความทุกข์หรืออะไรที่เขาหวังให้ช่วย เริ่มเดินออกจากห้องบรรยายแล้ว

โดยส่วนใหญ่ ผู้บรรยายจะยกตัวอย่างให้ผู้ฟังเข้าใจ ด้วยการพูดคุย สอบถามจากผู้ที่นั่งฟังบรรยายบางท่าน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการบรรยาย ทุกท่านสามารถเข้าไปอ่านที่ www.superrichy.org ครับ

ผมจับประเด็นหลักๆจะอยู่ ผู้บรรยายได้กล่าวว่า "การแก้กรรม คือการอโหสิ หรือการขอโทษจากเจ้ากรรม

นายเวรที่ยังจ้องอาฆาตเรา ให้เขาปลดปล่อยเรา" โดยการสื่อสารกันทางสมาธิ

และการชวนเจ้ากรรมนายเวร ไปรับผลบุญ ที่เราจะไปทำ

ผมก็เลยสรุปเนื้อหาให้ตัวผมเอง แบบง่ายที่สุดคือ "เมื่อทำผิด ให้สำนึกว่าผิด แล้วก็ขอโทษกับคนที่เราทำ

ผิดต่อเขา ขอให้เขายกโทษให้(ขึ้นอยู่กับเขา) " และที่สำคัญคือ "ต้องไม่ทำผิดเพิ่มอีก"

ส่วนเนื้อหาอื่นนอกจากเหนือไปจากนี้ ผมเก็บไว้เป็นประสบการณ์จากการฟัง ขอเอาเฉพาะส่วน

ตรงตามคำสอนของพระพุทธองค์ มาเล่าสู่กันฟังครับ

คำสำคัญ (Tags): #กรรม#ผลของกรรม
หมายเลขบันทึก: 271534เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การกระทำทุกอย่างจัดเป็นกรรมสิ่งที่เราทำมาแล้วไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแลงแก้ไขได้ขึ้นอยู่ว่าจะให้ผลช้าหรือเร็วเท่านั้น สิ่งที่เราทำต้องปรากฏอย่างแน่นอนไม่ทางรูปธรรมก็นามธรรมทางใดทางหนึ่ง การจะแก้กรรมที่ทำมาไม่ให้มีผลเป็นไปไปม่ได้แต่เขาเรียกว่าอโหสิกรรมก็เป็นกรรมอย่างหนึ่งเหมือนกันในกรรม12อย่างตามหลักพุทธศาสนา เปรียบว่า มีเกลืออยู่ช้อนชาหนึ่งใส่ลงในแก้วใส่น้ำครึ่งแก้ว(เกลือเท่ากับการทำไม่ดีน้ำเท่ากับการทำดี)แล้วคนให้เข้ากันลองชิมดูว่ารสเค็มขนาดไหนแล้วเติมน้ำให้เต็มแก้วคนให้เข้ากันแล้วชิมดูจะรู้สึกว่ารสเค็มเบาบางลงแต่ถามว่าเกลือหนึ่งช้อนชาหายไปไหมก็ยังอยู่เท่าเดิมการให้ผลของกรรมก็คล้ายกันจะตัดกกรมให้ไม่เกืดผลนั้นคงไม่ได้แต่เรียกว่าเป็นการไม่ทำสิ่งที่รู้ว่าผิดอีกต่อไปพยายามเติมน้ำเพื่อให้รสของความเค็มจืดลงเท่านั้นเอง

อาจจะเปรียบให้ชัดขึ้นอีกก็ เรื่อง ตอกตะปูบนฝาบ้าน

หากสิ่งที่เราทำผิดลงไป เปรียบดังตอกตะปูบนฝาบ้าน

แต่พอสำนึกผิด เราไปถอนตะปูตัวนั้นออกจากฝาบ้าน

เป็นการขอโทษ ขออโหสิ ใช่ ตะปูไม่ได้อยู่บนฝาบ้านแล้ว

แต่ร่องรอยรูตะปู จะมีตลอดไปจนฝาบ้านเปลี่ยนไป

จึงจะไม่มีร่องรอยรูตะปู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท