ทำอย่างไรให้ได้คนเก่งเข้าทำงาน


คัดคนดี คนเก่ง คัดอย่างไร

 

คัดคนดี คนเก่ง คัดอย่างไร

 ผมได้ไปพบบทความในการทำ KM ของ สพท. ตรัง งานบุคลากรเกี่ยวกับการสรรหาบุคลากรให้ได้คนดี คนเก่ง เข้าทำงาน มีวิธีการสังเกตอย่างไรว่าคนนั้นเป็นคนดี คนเก่ง ตรงกับที่หน่วยงานต้องการมาฝาก เพราะความสำเร็จขององค์กรในปัจจุบันเป็นเรื่องคน คนที่เราจะเลือกเข้า มาทำงานกับเรานั่นเอง คนที่จะมาช่วยเราสร้างองค์กรให้มีความแข็งแกร่ง และคนที่จะมาช่วยกันดูแลลูกค้า ของเราให้มีความพอใจสูงสุด

มีหลักในการสังเกตเพื่อเลือกสรรคนดี คนเก่ง เข้าทำงานสรุปได้ดังต่อไปนี้ นะครับ

ว่ากันว่า

1. คนดีจะฉายแววกระตือรือร้น (Bright Personality and Aggressiveness)

คนที่ฉลาดในการตั้งคำถาม การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การเอาใจใส่ต่อการปฏิสัมพันธ์เป็นอย่างดี สนใจงานทุกอย่างด้วยความตั้งใจอยู่เสมอ


2. คนดีจะมั่นคง (Good Staff may Reliable)

ดูที่ประวัติการทำงาน เพื่อทำนายอนาคตของเขาว่าจะอยู่กับเรานานหรือไม่


3.คนเก่งต้องเก่งเทคโนโลยี (Smart and Up – to date)

ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ อย่างน้อยก็รู้โน้ตบุ๊ก คืออะไร สามารถนำเสนองานผ่านคอมพิวเตอร์ได้ หรือมีความสนใจในการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับเทคโนโลยี


4. คนเก่งต้องพูดได้มากกว่าสองภาษา (Speak Influence Thai – English or more)

คนที่ชอบภาษาแสดงว่าชอบการติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้าง ภาษาไทยต้องใช้ได้ดี และภาษาอังกฤษต้องเก่ง ไม่ใช่แค่พอใช้ การเก่งภาษาอังกฤษนอกจากจะช่วยให้เรียนรู้ได้ในโลก Internet ยังช่วยให้การทำงานติดต่อกับชาวต่างชาติราบรื่น และจะเป็นกำลังสำคัญขององค์กรนั้นๆ ในอนาคตอีกด้วย


5. คนเก่งจะต้องมีสัมมาคาราวะ (Respect Senior with the good Manner)

คนที่มีสัมมาคาราวะเป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้ดีที่พึงจะมีคนมีสัมมาคาราวะ รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ รู้จักพูด และกาลเทศะ เป็นการผ่านการอบรมมาจากครอบครัวที่ดี และอบอุ่น การนำคนเข้าองค์กรก็เป็นการเอานิสัย และบุคลิก ท่าทางของคนๆ นั้นเข้ามาด้วย นอกจากนิสัยมารยาทดูเรียบร้อยแล้ว คนเหล่านี้ยังแต่งตัวดี บุคลิกดี และภาพที่ชอบมอง สะอาดเรียบร้อย


6. หาอุปกรณ์ช่วยคัดคน (Find the right Tools)

เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือช่วยคัดคนเป็นแบบสอบถามที่จะดึงเอาพฤติกรรมของคนออกมาเป็น Behavior ของแต่ละคนว่านิสัยเขาเหล่านั้นจะเหมาะสมกับงานของเรา หรือไม่ ช่วยให้ไม่เสียเวลารับคนผิด


7. คนสัมภาษณ์ต้องเตรียมตัว (Prepare Yourself)

คนที่จะต้องคุยกับผู้ที่ถูกสัมภาษณ์จะต้องมีเวลาเตรียมการให้ดี รู้ว่าต้องอ่านประวัติของผู้ที่ถูกสัมภาษณ์ให้ละเอียด เตรียมตั้งคำถามให้ถูกต้องหาจุดอ่อน จุดแข็งของคนที่จะมาสัมภาษณ์ให้ได้ มีสมาธิและให้เวลามากพอที่จะคุยกับผู้ถูกสัมภาษณ์ หลังจากฟังเขาเสร็จให้ถามว่าเขาอยากรู้อะไรเกี่ยวกับเราบ้าง พยายามให้เขาอยากทำงานกับเรา หรือเห็นคุณค่าขององค์กรเรา ไม่ว่าเขาจะทำงานกับเราหรือไม่ อย่างน้อยเราก็ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรออกมาดี เป็นที่ประจักษ์ในอนาคตเขาอาจจะมาเป็นลูกค้าเราก็ได้ใครจะไปรู้ใช่ไหมครับ

 

เมื่อได้บุคคลที่เรารับมาด้วยความยากลำบากเช่นนี้แล้วอย่าลืมรักษาเขาไว้

ให้นานๆ นะครับ

ขอขอบคุณ ที่มา http://210.246.188.53/trang1kmc/index.php

หมายเลขบันทึก: 270880เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2009 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ เพราะเดี๋ยวนี้คนที่มีคุณสมบัติครบทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้น

หายากเหมือนกันค่ะ

น้องเมย์ก็เห็นด้วยนะคะพี่กรุง ขอนำข้อมูลตรงนี้นำไปใช้ต่อในอนาคตนะคะ! แม้ว่าจะหาได้ยากก็ตาม

เห็นด้วยจ้ากับข้อมูลที่ได้อ่าน

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

 

สโลแกนของครูกรุง"สร้างสรรค์ เลอเลิศ บรรเจิดความฝัน แบ่งปันเพื่อนร่วมงาน"

บทความดีจังเลยนะ

             ใช้ได้นะครับ  สุดยอดยิ่งกว่าชาเขียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท