วงน้ำ SHA ที่ท่าบ่อ
รพ.สมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จ.หนองคาย

ยังมีความสวยงาม ระหว่างทางที่ก้าวเดิน


ถือเป็นความประทับใจเรื่องหนึ่งในหลายๆ เรื่อง ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตการทำงานเป็นหมอเด็ก  ที่โรงพยาบาลชุมชน ที่ห่างไกลจากแสง สี ความเจริญ  หมอได้ทำงานที่นี่มาเป็นเวลาหลายปี 

การทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ไม่เหมือนกับการทำงานในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่หมอสาขาอะไร ก็ทำงานสาขาที่ตัวเองเรียนมา  ที่นี่ต้องตรวจทั้งผู้ป่วยOPD ทั่วไป  อยู่เวรนอกเวลาต้องดูแลผู้ป่วยทุกสาขา  แต่มีระบบที่สามารถจะ consult แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขานั้นๆ ได้ตลอดเวลา และบางครั้งก็ต้องเป็นวิทยากร เป็นอาจารย์สอนหนังสือ เป็นระยะๆ

 

                แล้ววันนั้น  เป็นเช้าวันเสาร์หมอก็ไปตรวจเยี่ยมอาการผู้ป่วยตามปกติ  แล้วหลังจากนั้นจะต้องไปเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาหลักสูตรเวชปฏิบัติ เวลาประมาณ 9.00 น.-12.00น. หลังจากเยี่ยมอาการผู้ป่วยที่ห้องคลอด ซึ่งเป็นที่สุดท้าย จึงได้แจ้งพยาบาลที่ขึ้นเวรว่า

 

"ช่วงเวลานี้ถึงเที่ยงวัน ถ้ามีปัญหาอะไรที่ไม่เร่งด่วน ไม่ต้องรายงาน เพราะหมอต้องไปสอนนักศึกษา  หลังจากสอนเสร็จแล้วจึงจะมา round อีกครั้ง" 

 แล้วหมอก็ไปสอนนักศึกษาตามโปรแกรมที่ได้วางไว้  เมื่อสอนเสร็จ  รับประทานอาหารแล้ว จึงได้กลับมาที่ห้องคลอดอีกครั้ง  ถามพยาบาลที่อยู่เวร ซึ่งเป็นพยาบาลน้องใหม่ ว่า

"ตอนที่หมอไม่อยู่มีอะไรรายงานหรือเปล่าคะ"  คุณหมอถามเมื่อมาถึง

น้องพยาบาลก็บอกว่า "มีค่ะคุณหมอ.."  แล้วน้องก็เดินไปหยิบ chart ผู้ป่วยรายหนึ่งมา แล้วบอกว่า

"ผู้ป่วยเด็กคนนี้ คลอด NL เมื่อเวลาตีสองครึ่ง ตอนที่หนูมาวัดสัญญาณชีพ หนูสังเกตดูสีผิวของเด็กแล้ว หนูว่าเด็กเหลือง  หนูก็เจาะ MBB ของเด็กคนนี้ส่งตรวจ โดยยังไม่ได้รายงานคุณหมอก่อนค่ะ และก็ได้พยายามกระตุ้นให้เด็กดูดนมแม่  ผล MBB มาแล้วได้ 18.7% ค่ะ  แล้วตอนนี้หนูก็ได้ On Photo Rx  ให้เด็กคนนี้แล้วค่ะ"  

 

หมอได้ฟัง ก็รู้สึกประทับใจว่านี่เป็นน้องพยาบาลใหม่นะ  น้องยังช่างสังเกต  ใส่ใจผู้ป่วยขนาดนี้  หมอจึงบอกน้องว่า

"ขอบคุณนะคะ ที่น้องห่วงใย ใส่ใจผู้ป่วย  ถ้าเด็กคนนี้ต้องรอจนกว่าหมอจะสอนนักศึกษาเสร็จ แล้วหมอจึงจะมาดูอาการ อาจจะทำให้เด็กคนนี้ตัวเหลืองนาน หรืออาจต้องเปลี่ยนถ่ายเลือดเลยก็เป็นได้" 

 

                หมอจึงรู้อย่างหนึ่งว่า CPG  แนวทางต่างๆ ที่เขียนขึ้นมาให้ปฏิบัติ  ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นสูตรสำเร็จในการแก้ไขสิ่งต่างๆ  ได้ทั้งหมด  หมอคิดว่าถ้าเราทำด้วยใจ  ทำด้วยความห่วงใยผู้ป่วยจริงๆ  นั่นเป็นสิ่งที่ดีกว่าแนวทางหรือระเบียบที่กำหนดหลายเท่านัก  ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเด็กตัวเหลืองที่มีการทำแนวทางไว้ คือ เด็กหลังคลอด 48 ชั่วโมง ที่มีอาการตัวเหลือง เจาะ MBB ได้เลยโดยไม่ต้องรอรายงานแพทย์  แต่ถ้าเด็กคนนี้ไม่มีใครสังเกตสีผิวของเขา  และต้องรอถึง 48 ชั่วโมงจริงๆ  อาจต้องได้เปลี่ยนถ่ายเลือดและไม่รู้ว่าอีกกี่วันจะได้กลับบ้าน

                นี่คือ...ความสวยงามที่หมอได้พบ  ที่นี่  กับทีมงานที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจ

             "ญาฌาดา"

บันทึกความประทับใจของ PCT เด็ก

หมายเลขบันทึก: 269970เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาให้กำลังใจ SHA ท่าบ่อ
  • เสียดาย
  • ผ่านไปแล้ว
  • ไม่ได้แวะ
  • คงมีสักวัน...

ถ้ามีพยาบาลดีๆแบบนี้ มากๆก็ดีเลยนะคะ

เห็นด้วยกับคุณหมอ บางครั้งเราต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ผู้ป่วยปลอดภัยก่อน ถ้าต้องมารอโดยไม่ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยก้อคงไม่ใช่ แต่บางแห่งพยาบาลต้องรอ consult แพทย์ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ทำให้การช่วยเหลือผู้ป่วยล่าช้าและอาจสายเกินไป แต่ถ้าเราช่วยเหลือด้วยใจที่เป็นกุศลจริงๆคิดว่าคงไม่มีเรื่องฟ้องร้องเกิดขึ้น ซึ่งต้องขอชื่นชมน้องพยาบาลแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีจริงๆ แต่อย่าลืมพื้นฐานทางวิชาการนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท