ประวัติความเป็นมาของดนตรีพื้นเมือง


ดนตรีพื้นเมือง

 การ ศึกษาเรื่องราวและวิวัฒนาการของการดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือ (ล้านนาไทย) ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันค่อนข้างจะยุ่งยากและไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด อันอาจเนื่องมาจากไม่ได้รับการเหลียวแล จากผู้มีอำนาจในการปกครองหรือจากนักวิชาการในสมัยก่อน เท่านั้นยังไม่พอยังอาจถูกบิดเบือนหรือทำให้ตกหล่น หรือสูญหายจากนักพงศาวดารและนักประวัติศาสตร์  

              แต่ พอจะสรุปได้ว่าเครื่องดนตรีล้านนาได้ถูกกล่าวถึงครั้งแรก ในพงศาวดารล้านช้าง (ศรีสัตตนาคนหุต) เมื่อประมาณพุทธศักราชที่ ๑๓ กล่าวว่าพญาแถนได้ส่งพวกเทวดามาบอกกล่าวแนะให้ผู้คนรู้จักดนตรี เช่น ฆ้อง กลอง ปี่พาทย์ พิณเปี๊ยะ สอนเพลงกลอน (ซอ จ๊อย ค่าว) การฟ้อน ตีฉิ่ง และตีฉาบต่อมาเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ หลังจากพญามังรายสถาปนาเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาพระองค์ทรงพัฒนาบ้านเมืองด้านต่าง ๆ ตลอดจนการดนตรี มีการใช้เครื่องดนตรีในกิจพิธีเฉลิมฉลองงานสำคัญต่าง ๆ สืบเนื่องต่อมาจนกระทั่งแผ่นดินล้านนารวมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทยล้านนา เคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอื่นบ้าง แต่ไม่ได้ทำให้สภาพความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวัฒนธรรมของล้านนาด้อยลงไป วัฒนธรรมทางล้านนายังคงมีสืบต่อมาจนถึงกาลปัจจุบันไม่ว่าจะด้าน ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลป นาฏศิลป์ และดนตรี   ส่วนซึงเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาที่มีมาแต่โบราณอย่างหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรีพื้นเมือง09
หมายเลขบันทึก: 269969เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 12:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ดีค่ะ ช่วนอนุรักษร์ประเพณีของไทยเรา

ถ้าจะมาโพสด่าโปรดอย่าทำ มันแสดงถึงจิตใจคนโพส เวบนี้มีแต่สิ่งดีๆเท่านั้น

ผมขอนำเนื้อหานี้ไปทำรายงานส่งอาจายร์นะครับ

จะไปบอกเพื่่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท