แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ให้ "เข้าถึง" ตามหลักสากล


วันนี้หยิบเรื่อง เว็บไซต์ มาพูดคุยกัน มีผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกัน คือ ...

ฝ่ายแรก : ที่เป็นกลุ่มผู้ใช้งานเว็บไซต์ ...เชื่อว่าหลายคนคงผ่านการใช้งานเว็บไซต์มาด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป และหนึ่งในประสบการณ์ที่ทุกคนคงเคยได้สัมผัสกันมาบ้างแล้ว เช่น เข้าเว็บไซต์แล้วอาจจะ งง หรือ หาทาง(คลิก)ไปไหนไม่สะดวก(ใจ)นัก นี้เป็นส่วนของคนปกตินะครับ ยังไม่นับรวมถึงผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่ม "คนพิการ" ว่าเขาจะลำบากมากกว่าคนปกติอีกหลายเท่าตัวนัก

ฝ่ายที่สอง : ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ก็จะต้องมีการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีความสะดวก โดยคำนึงถึงผู้ใช้เว็บไซต์ รวมทั้งการเข้าถึง (Web accessibility) พูดถึงเรื่อง "การเข้าถึง" การใช้งานเว็บไซต์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้พิการ ในต่างประเทศโดย องค์กร World Wide Web Consortium (W3C) จึงได้พัฒนา Guidline สำหรับให้ทุกคนเข้าถึงได้ เรียกว่า Web Content Accessibility Guideline (WCAG) เมื่อปี ค.ศ. 1999 ในเวอร์ชั่นแรก WCAG 1.0 จนถึงปัจจุบันพัฒนามาเป็น WCAG 2.0  สำหรับในประเทศไทย มีการนำมาปรับใช้ตั้งแต่ปี 2007 เพื่อให้เป็นไปตามหลักสากล

ค้นเรื่อง Web Content Accessibility Guideline จาก wiki ดู พบแนวทางการออกแบบเว็บไซต์ ดังนี้


แนวทางการออกแบบเว็บไซต์ (http://th.wikipedia.org/wiki/Web_Content_Accessibility_Guidelines)

หลักการ (Principle) – มี 4 หลักการตามวัตถุประสงค์ในการออกแบบเว็บไซต์

  • หลักการที่ 1 - ผู้อ่านต้องสามารถรับรู้เนื้อหาได้
  • หลักการที่ 2 - องค์ประกอบต่าง ๆ ของการอินเตอร์เฟสกับเนื้อหาจะต้องใช้งานได้
  • หลักการที่ 3 - ผู้ใช้สามารถเข้าใจเนื้อหา และส่วนควบคุมการทำงานต่างๆ ได้
  • หลักการที่ 4 - เนื้อหาต้องมีความยืดหยุ่นที่จะทำงานกับเทคโนโลยีเว็บในปัจจุบันและอนาคตได้ (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)


แนวทาง (Guideline) – จะแบ่งออกเป็นข้อๆ ตามหลักการ

  • แนวทางที่ 1.1 - จัดเตรียมข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) แทน เนื้อหาที่มีรูปแบบเป็นอื่น
  • แนวทางที่ 1.2 - จัดเตรียมข้อความบรรยายที่ตรงกับเหตุการณ์ในสื่อมัลติมีเดีย
  • แนวทางที่ 1.3 - การออกแบบโครงสร้าง และเนื้อหา ต้องสามารถทำงานเป็นอิสระจากกันและกัน
  • แนวทางที่ 1.4 - ต้องมั่นใจได้ว่าพื้นหน้าและพื้นหลัง(สีและเสียง) ต้องมีความแตกต่างกันมากพอที่ผู้ใช้จะสามารถแยกแยะได้
  • แนวทางที่ 2.1 - การทำงานทุกอย่างต้องรองรับการใช้งานจากคีย์บอร์ดได้
  • แนวทางที่ 2.2 - จัดเตรียมเวลาให้เพียงพอในการอ่าน หรือการกระทำใดๆ ของข้อมูล สำหรับผู้ใช้ที่เป็นคนพิการ
  • แนวทางที่ 2.3 - ไม่สร้างเนื้อหาที่อาจเป็นสาเหตุของอาการลมชัก
  • แนวทางที่ 2.4 - จัดเตรียมทางช่วยเหลือสำหรับผู้ใช้ในการสืบค้นเนื้อหา รู้ว่าตัวเองอยู่ในตำแหน่งใดในเนื้อหา และท่องไปในเนื้อหานั้นได้
  • แนวทางที่ 3.1 - สร้างเนื้อหาให้สามารถอ่านและเข้าใจได้
  • แนวทางที่ 3.2 - การทำงานของระบบต่างๆ หรือการแสดงผลบนหน้าเว็บ ต้องเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สามารถคาดเดาได้
  • แนวทางที่ 3.3 - จัดเตรียมส่วนการช่วยเหลือให้ผู้ใช้ให้สามารถกรอกข้อมูลได้ถูกต้อง
  • แนวทางที่ 4.1 - รองรับการใช้งานร่วมกับ User Agent ได้ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต (รวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก)


เกณฑ์ความสำเร็จ (Success Criteria) – เป็นตัวบอกถึงระดับความสำเร็จของหัวข้อแนวทางที่จะทำให้เป็นไปตามหลักการ และได้แบ่งเป็น 3 ระดับของความสำเร็จ

  • เกณฑ์ระดับ A เป็นเกณฑ์ที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ต้อง ปฏิบัติตามเพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้
  • เกณฑ์ระดับ AA เป็นเกณฑ์ระดับสำคัญรองลงมาที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ ควรจะ ปฏิบัติตามเพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
  • เกณฑ์ระดับ AAA เป็นเกณฑ์ที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ อาจจะ ปฏิบัติตามเพื่อให้คนพิการเข้าถึงเว็บไซต์ได้ง่ายที่สุด

ระดับการเข้าถึง (Level) - การที่จะทำให้ทราบถึงว่าเว็บไซต์ใดเป็นเว็บไซต์ที่อำนวยความสะดวกให้กับคน พิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้นั้น จะต้องมีสัญลักษณ์ (Icon) กำกับอยู่ที่หน้าของเว็บไซต์นั้นๆ (URI) ซึ่งหมายถึงการที่เว็บไซต์นั้นๆ ได้ผ่านการตรวจสอบความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ ตามแนวทางของการเข้าถึงข้อมูล (Web Content Accessibility Guideline : WCAG) สำหรับสัญลักษณ์ที่แสดงนั้นจะแบ่งระดับความสามารถในการเข้าถึงเป็น 3 ระดับ ด้วยกันคือ

  • การเข้าถึงระดับ เอ (A) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมด ที่กำหนดในระดับเอ
  • การเข้าถึงระดับ ดับเบิ้ลเอ (AA) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้งหมด ที่กำหนดในระดับเอ และดับเบิ้ลเอ
  • การเข้าถึงระดับ ทริปเปิ้ลเอ (AAA) หมายถึง ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์การตรวจสอบทั้ง 3 ระดับ

หมายเลขบันทึก: 269941เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2012 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่านอาจารย์คะ

มีสารดีๆอีกแล้วนะค่ะ

ขอบคุณ คุณญาดา Tator

  • ที่แวะมา สบายดีนะครับ
  • อย่าเครียดเรื่องเรียนมากนักนะครับ รักษาสุขภาพ(ร่างกาย)ด้วย ...อิอิ ^_^

สวัสดีค่ะ

แวะเข้ามาอ่านสาระดีๆ ค่ะ ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นแยะเชียวค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

 

WCAG เป็น concept ที่เว็บไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไรครับ แค่ให้ผ่าน w3c htmk/css validation ยังไม่ค่อยทำกันเลยนะครับ

ผมใช้ CMS ไม่ทราบว่าจะครอบคลุมทุกแนวทางหรือไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท