วิเคราะห์ข่าวการศึกษา


ห่ากดสหฟก

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 269785เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 07:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

(20มิ.ย.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการสัมนาผู้บริหารโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ว่า ปัญหาการศึกษาสะสมมาเป็นเวลานาน ที่ผ่านมามีการทุ่มเททรัพยากรมหาศาลจากภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหา แต่คุณภาพการศึกษาก็ยังคงมีปัญหา คนไทยมีการศึกษาเฉลี่ยแค่ 9 ปี น้อยกว่าประเทศอื่นๆ ที่ตัวเลขอยู่ที่ 12-16 ปี ขณะที่การเรียนวิชาสำคัญเช่นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษและภาษาไทย ก็มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน จึงจำเป็นต้องมีการทบทวนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ในปี 2540-2544 ตนได้มีการผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นหลักการที่ดี แต่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังมีช่องว่าง ทำให้มีการผลักดันไม่เต็มที่ รัฐบาลปัจจุบันจึงกำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐบาลไม่อยากให้เด็กละทิ้งการศึกษา จึงเร่งผลักดันโครงการเรียนฟรี ซึ่งขณะนี้ กทม.มีความพร้อมค่อนข้างสมบูรณ์ โดยรัฐบาลได้จัดงบประมาณ 18,000 ล้านบาท สำหรับเรียนฟรี 15 ปี ซึ่งในช่วงเริ่มต้นมีความยุ่งยากในการบริหารจัดการ แต่กระทรวงศึกษาธิการก็บริหารจัดการได้อย่างโปร่งใส ขณะนี้ประชาชนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์มีความพึงพอใจว่าการส่งลูกหลานเข้าเรียนไม่เป็นภาระอีกต่อไป

อย่างไรก็ตามนโยบายเรียนฟรี จะไม่กระทบต่อคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐบาลจะพยายามดูแล 100 เปอร์เซ็นต์ จะมีค่าใช้จ่ายก็เป็นเพียงหลักสูตรหรือกิจกรรมเสริมพิเศษของแต่ละโรงเรียนเท่านั้น ทั้งนี้ในปีต่อๆ ไป รัฐบาลจะปรับปรุงโนบายเรียนฟรีให้ดีขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเยาวชนที่ประสงค์เรียนต่อแต่มีฐานะยากจน รัฐบาลได้จัดเตรียมงบประมาณ 10,000 ล้านบาท สำหรับกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา

นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า การเรียนในปัจจุบัน สอบตกเป็นเรื่องยาก ใครสอบตกก็จะซ่อมจนผ่าน เพราะมีแนวความคิดว่า การเรียนไม่ผ่านจะส่งผลกระทบต่อผู้บริหารโรงเรียนซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะความสามารถในการศึกษาของแต่ละคน ไม่เท่ากัน จะหลอกตัวเองว่าคุณภาพต้องเสมอภาคกันไม่ได้ ดังนั้นนโยบายการศึกษาระยะหลังจึงหลงทางไปมาก ผู้บริหารจะต้องเอาใจใส่นักเรียนให้มากขึ้นโดยต้องศึกษาว่านักเรียนแต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมอย่างไร ซึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเนื่องจากระบบการสอบคัดเลือกและประเมินผลยังเป็นอุปสรรค

นายกฯ กล่าวต่อไปว่า เด็กไทยตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาได้รับการศึกษาในเรื่องเนื้อหาสาระมากเกินไปจนกระทบต่อการกระตุ้นให้เกิดการวิเคราะห์และแสดงออกซึ่งเป็นจุดอ่อนของระบบการศึกษาในประเทศ จึงอยากให้แต่ละโรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมพิเศษและกีฬา เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ แต่ขอร้องไม่ให้จัดกิจกรรมที่เป็นภาระแก่ครูและนักเรียน เช่นการเดินขบวนรณรงค์ต่างๆ ซึ่งตนก็ไม่เแน่ใจว่า เด็กได้รู้ซึ้งถึงกิจกรรมที่ต้องการรณรงค์หรือไม่

ศึกษาให้มากๆๆจะเป็นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท