บทบาท HR ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน


การพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน

ผู้เขียน                    กฤติน   กุลเพ็ง      

ผู้วิพากษ์                นางรัฐกานต์  สุขศิริ

 

สรุปประเด็นสำคัญ

               

                คนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง องค์การทุกภาคส่วนพยายามที่หันมาใส่ใจ เรื่อง คนกันมากขึ้น             ยิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีพของพนักงาน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ องค์การเองคงจะไม่มุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ขององค์การอย่างเดียวควรจะให้มาใส่ใจเรื่อง คุณภาพชีวิตของพนักงานควบคู่ไปด้วย เพราะสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ มีส่วนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพนักงานอย่างแน่นอน องค์การจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานอย่างไร ซึ่งผู้เขียนจะพยายามหาข้อมูลปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิต และพยายามศึกษาหาวิธีการ เพื่อที่จะมาปรับปรุงการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมกันด้วย  ถ้าเรามามองกันในด้านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต

                   เมื่อผู้บริหารได้อ่านคุณภาพชีวิตในการดำเนินชีวิต กับคุณภาพชีวิตในองค์การ หัวข้อที่จะไปในทิศทางเดียวกันนั้นน้อยมาก จึงเป็นข้อมูลและที่มาว่า องค์การแห่งความสุข (Happy Workplace) กับองค์การที่มุ่งเน้นผลงาน (High Performance Organization) จะไปด้วยกันได้หรือไม่ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีความห่างไกลกันสักเท่าไร ก็ยังเป็นงานที่ท้าทายความสามารถของ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ที่ถูกมอบหมายงานให้ไปศึกษาและหาวิธีการมาเพื่อที่จะให้องค์การที่ท่านเป็นผู้บริหารอยู่ จะต้องเป็นองค์การที่มีความสุข และยังต้องเป็นองค์การที่มีผลงานดีเลิศอีกด้วย 

                ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิพากษ์บทความนี้ คือ

                1.  การเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงานในองค์การอย่างทั่วถึง เมื่อมีความชัดเจนในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานแล้ว ย่อมส่งผลให้ เกิดขวัญกำลังใจที่ดีแก่พนักงาน พนักงานเกิดความมั่นใจ ยึดมั่นในสถาบันที่ดำรงอยู่ มีความพร้อมที่ช่วยเหลือสนับสนุนองค์การได้ทุกเวลา เมื่อเกิดภาวะคับขันและความรู้สึกว่าอยากทำงานในสถานที่มี สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี มีความสุขในการทำงาน

 

                 2. เมื่อพนักงานมีความสุขในการทำงานที่ดี ย่อมส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้องค์การมีผลประกอบการดีขึ้น เมื่อผลประกอบการดี ประสิทธิภาพการทำงานดี ย่อมส่งผลโดยตรงต่อลูกค้าที่เข้ามารับบริการ ลูกค้าชื่นชม มีความประทับใจ ซึ่งสุดท้ายย่อมส่งผลต่อองค์การ เป็นองค์การที่น่าอยู่ มีความสุข

                3.  ทำให้ทราบถึงความสุขในมุมมองของพนักงาน ได้แก่ การได้ทำงานดี มีความมั่นคง สภาพแวดล้อมในการทำงานดี มีรายได้ที่เหมาะสม มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ครอบครัว  มีความสุข เป็นต้น

                4.  ทำให้ทราบถึงมุมมองของผู้บริหารองค์กรที่มีต่อพนักงาน

                                                              @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

หมายเลขบันทึก: 269366เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 00:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

การพัฒนาพนักงานให้มีความรู้เพิ่มขึ้น และการทดสอบความรู้ของพนักงานนับว่าเป็นเรื่องที่ดีครับจะได้จัดคนให้เหมาะกับงาน และจัดคนให้เหมาะกับ Competency ของบุคคลนั้นๆ

ทราบแล้วเปลี่ยน

การพัฒนาในทุก ๆ ด้านนับว่าเป็นการดียิ่งของมนุษย์ที่ต้องการที่จะDevelopment

ตัวเอง การศึกษาข้อมูลมากและทำตัวเป็นแก้วที่ว่างเปล่ายอมรับในสิ่งที่เป็นประโยชน์

ที่ประเทืองปัญญา ย่อมทำให้มนุษย์เราเจริญ และ เจริญ......

หวัดดีนะคะพี่ปู เมย์เองคะ แวะมาทักทายกันก่อนนะคะ..

คนรุ่นใหม่ชอบอยู่แล้วการพัฒนา

หวัดดีคร๊าบ...แวะเข้ามาอ่านแล้วได้ประโยชน์ดีนะบทความ

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

ดีมีประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของรากมาก

อชิตพล ผลินสุคนธ์

เป็นบทความที่ดีครับ

ครูสาว (ร.ร.วัดป่าประดู่)

แวะเข้ามาอ่านผลงานของคุณแล้วนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท