สังคมวิทยากับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก


สังคมเด็กและการอบรมเลี้ยงดู

สังคมวิทยากับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก

            คุณลักษณะทางสังคมตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี

 การเรียนรู้ทางสังคมหรือการขัดเกลาทางสังคมบางคนเรียกว่าสังคมกรณ์ (Socialization) เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มนุษย์ปรับปรุงตัวให้เข้ากับสังคม และสามรถดำรงตนอยู่ในสังคมได้เช่นเดียวกับผู้อื่นทุคนต้องผ่านกระบวนการสังคมกรณ์มาตั้งแต่เริ่มคลอดจากครรภ์มารดา โดยกลุ่มแรกที่ทำหน้าที่สังคมกรณ์ก็คือครอบครัว เมื่อโตขึ้นมีการสังสรรค์กับคนอื่นเด็กถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติบ้านเมือง เมื่อเด็กเกิดมาคนหนึ่ง สังคมนับตั้งแต่พ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนในครอบครัวต้องรับผิดชอบร่วมกันในอันที่จะเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน ปลูกฝังสิ่งที่ดีงาม  ถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่เด็ก ดังมีผู้เปรียบว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว หากแต้มสีใดลงไปย่อมเป็นสีนั้น ฉะนั้นผู้ใหญ่จึงควรแต้มสีที่ดี สะอาด สดใส ให้เขา เพื่อเขขาจะได้เติบโตเป็นคนดี มีคุณค่า สร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคมต่อไป (พรรณเพ็ญ เครือไทย. 2550: 31-37)

 

การจัดการศึกษาปฐมวัยด้านสังคมวิทยาโดยอาศัยแนวคิดพื้นฐานจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546:1)

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 254 6

“การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่ แรกเกิดถึง 5 ปี 11 เดือน 29 วัน บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม และวัฒนธรรม ที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรักความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคนเพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3 – 5 ปี

                หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3- 5 ปีเป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา เด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคล

พัฒนาการด้านสังคม ของเด็ก 3 ปี

                - รับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง

            - ชอบเล่นแบบคู่ขนาน (เล่นของเล่นชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่างเล่น)

              - เล่นสมมติได้

               - รู้จักรอคอย

พัฒนาการด้านสังคม ของเด็ก 4 ปี

                                - แต่งตัวได้ด้วยตนเอง ไปห้องส้วมได้เอง

                                - เล่นร่วมกับคนอื่นได้

                                - รอคอยตามลำดับก่อน-หลัง

                                - แบ่งของให้คนอื่น

                                - เก็บของเล่นเข้าที่ได้

 พัฒนาการด้านสังคม 5 ปี

                                - ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

                                - เล่นหรือทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกับผู้อื่นได้

                                - พบผู้ใหญ่ รู้จักไหว้ ทำความเคารพ

                                - รู้จักขอบคุณ เมื่อรับของจากผู้ใหญ่

                                - รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

แนวทางในการวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดการศึกษาปฐมวัยตามปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย คือ ต้องจัดการศึกษาให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริงด้วยบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุข ให้จัดการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวของเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หาแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับชีวิตและสังคมของเด็กปฐมวัย ให้ส่งเสริมลักษณะนิสัยทางจริยธรรม และให้การศึกษาสำหรับพ่อและแม่ในฐานะเป็นครูคนแรกของลูกเพื่อมีส่วนร่วมจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัย ให้ประเมินผลพัฒนาการเด็กทุกด้านในหลายรูปแบบควบคู่ไปกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษา

หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้จริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 กำหนดให้จัดการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย(อายุ 3-5 ปี) ให้เน้นเด็กเป็นสำคัญ และให้เรียนรู้ผ่านการเล่นให้ใช้จิตวิทยาพัฒนาการมาจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่เด็ก ตลอดจนให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งเรียนรู้หลากหลายในวิถีชีวิตของเด็กที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีด้วยการสอดแทรกจริยธรรม ให้ครูวางแผนการจัดประสบการณ์ทั้งในแบบล่วงหน้าและในลักษณะที่เกิดขึ้นตามสภาพจริง โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ที่ให้เด็กได้ริเริ่มคิดวางแผนตัดสินใจ ลงมือกระทำ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในบรรยากาศอบอุ่นมีความสุขในการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตลอดจนให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์โดยจัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคลและมีการประเมินพัฒนาการเด็กอย่างต่อเนื่องทุกด้านเป็นรายบุคคลสม่ำเสมอตลอดปีให้สภาพการประเมินมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวันตามสภาพจริง และประเมินอย่างเป็นระบบ

การจัดกิจกรรมประจำวัน ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีการกำหนดแนวทางจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไม่ควรใช้เวลาต่อเนื่องนานเกินกว่า 20 นาที ทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ส่วนกิจกรรมเล่นตามมุม เล่นกลางแจ้ง ใช้เวลาประมาณ 40-60 นาที โดยกิจกรรมในห้องและนอกห้องต้องสมดุลกัน และกิจกรรมที่ใช้กำลังกายและไม่ใช้กำลัง ควรจัดสลับกันเพื่อเด็กจะได้ไม่เหนื่อยเกินไปโดยขอบข่ายการจัดกิจกรรมประจำวัน มีดังนี้ (1) การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่(2) การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก (3) พัฒนาอารมณ์จิตใจและปลูกฝังจริยธรรม (4) การพัฒนาสังคมนิสัย (5) การพัฒนาการคิด (6) การพัฒนาภาษา (7) การส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

การพัฒนาสังคมนิสัย เพื่อให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดี แสดงออกอย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ช่วยเหลือตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน มีนิสัยรักการทำงาน รู้จักระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น จึงควรจัดให้เด็กได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เช่น รับประทานอาหาร พักผ่อนนอนหลับ ขับถ่าย ทำความสะอาดร่างกาย เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น ปฏิบัติตามกฎกติกาข้อตกลงของส่วนรวม เก็บของเข้าที่เมื่อเล่นหรือทำงานเสร็จ ฯลฯ

การจัดประสบการณ์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชาแต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เกิดความรู้ ทักษะ จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยมีหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้

1. หลักการจัดประสบการณ์

1.1 จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง

1.2 เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่

1.3 จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต

1.4 จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์

1.5 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

2. แนวทางการจัดประสบการณ์

2.1 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือเหมาะกับอายุ วุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ

2.2 จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5 ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

2.3 จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้

2.4 จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก

2.5 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ในบรรยากาศที่อบอุ่นมีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆกัน

2.6 จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก

2.7 จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอด จนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2.8 จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริงโดยไม่ได้คาดการณ์ไว้

2.9 ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ ทั้งการวางแผน การสนับสนุนสื่อการสอน การเข้าร่วมกิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ

                               2.10 จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน

คุณค่าของการจัดประสบการณ์ทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย 

 นักจิตวิทยาและนักการศึกษามีความเชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้ในช่วงปฐมวัยมีผลกระทบในระยะยาวต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์เพราะเป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองกำลังสร้างโครงสร้างที่มีอัตราการเจริญเติบโตในอัตราสูงสุดถึงกว่าร้อยละ 80 ของวัยผู้ใหญ่ ส่งผลให้ เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ได้เร็วและซึมซับได้ง่าย

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ควบคู่การเรียนรู้ทางสังคม มีคุณธรรมจริยธรรมให้กับเด็กปฐมวัยนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะช่วงปฐมวัยเป็นวัยพื้นฐานแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนามนุษย์ได้ตลอดชีวิต ทำให้สามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างสมดุล สอดคล้องกับ รุ่ง แก้วแดง (2547 : 1) กล่าวไว้ว่า เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เป็นระยะรากฐานของการพัฒนาการเรียนรู้ที่จะหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม และสติปัญญา การตระหนักและให้ความสำคัญกับคุณภาพการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมศักยภาพของเด็กในช่วงนี้ จึงเป็นเรื่องของผู้เกี่ยวข้องกับเด็กทุกคนที่จะร่วมกันพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนและสร้างเด็กซึ่งจะเติบใหญ่เป็นอนาคตของชาติต่อไป และการจัดกระบวนการเรียนรู้จริยธรรมเด็กปฐมวัย เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นในการเตรียมความพร้อมให้เด็กตามธรรมชาติและพัฒนาเด็กเต็มตามศักยภาพในบรรยากาศการเรียนปนเล่นที่มีกระบวนการสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก

หมายเลขบันทึก: 268539เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2009 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอคุณอาจารย์มากค่ะที่เผยแพร่ความรู้

ขอบคุณมากคะสำหรับความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์เด็กปฐมวัยค่ะ พี่เก๋

สบายดีนะคะยังคิดถึงเสมอ

สวัสดีค่ะ

อ่านเรื่องที่อาจารย์เขียนทั้ง 3 บล็อกแล้ว เห็นว่าเป็นเรื่อง "ปฐมวัยศึกษา" เหมือนๆ กัน อยากเสนอแนะให้ย้ายบันทึกมารวมไว้ในบล็อกเดียวกัน จะช่วยให้ผู้อ่านติดตามอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้สะดวกขึ้นค่ะ

..........ขอบคุณอาจารย์มากที่นำความรู้มาเผยแพร่ให้กับนักศึกษาทุกคน อาจารย์...เออ...น่ารักมากๆเลยค่ะขอบคุณมากคะ

ดีใจมากค่ะที่ได้เรียนกับครูเก๋อีกเทอมแล้ว ขอบคุณสำหรับข้อมูล เนื้อหาการเรียนในเทอมนี้ค่ะ (3/2552)

อาจารย์น่ารักมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆสอนก็สนุกด้วย

ครูน่ารัก

สอนสนุก

ไม่เบื่อค่ะ

ขอบคุณอาจารย์นะค่ะ

ที่สอนพวกเราค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครู

ก้อย ( สุพัตรา สุยะ )

อาจารย์น่ารัก ขอบคุณอาจารย์มากที่นำความรู้มาเผยแพร่ให้กับนักศึกษาทุกคน

..................*-*.........................

วันนี้เรียนสนุกมากนะอาจารย์ เสนองานตื่นเต้นมากแต่เห็นรอยยิ้มอาจารย์ทำให้หนูมีกำลังที่จะสู้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ

สวัสดีคะ อ.ชไมมน

บังเอิญมากเลยค่ะที่เจอเวปไซต์ของ อ.

ได้ความรู้เยอะเลย ^6^

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมากเลยค่ะ^^

อาจารย์ก็น่ารักมากๆๆๆๆๆๆค่ะ ใจดีอีกต่างหาก^^

เป็นครั้งแรกที่หนูเข้ามาอ่านของอาจารย์ ไม่รู้จะจำหนูได้หรือเปล่าคะ จันทรา แซ่ลิ่ว

รุ่นที่เรียนกับพี่ศักดิ์

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท