Workshop OM เครือข่ายการจัดการความรู้ DM-HT วันที่สอง


ด้วยคำว่า “ความท้าทาย” นี้เอง ทำให้ภาคอีสานขอ ปรับพันธกิจ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งข้อ

       บันทึการอบรม “แผนที่ผลลัพท์กับการจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง”  (OM DM-HT) สามารถอ่านได้ที่ บรรทึก ของ ดร.วัลลา ตันตโยทัยครับ  ส่วนวันที่สอง และสาม ผมได้บันทึกลงบล๊อกนี้เพิ่มเติมครับ

 

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน 52

                 วันที่สองของการทำ work shop เริ่มต้นด้วยการนัดเจอกันก่อนกำหนดการ  ที่เก้าโมงเช้า เพื่อที่จะได้รวมพันธกิจ ที่แต่ละภูมิภาคไปแยกกลุ่มกัน แล้วคิดว่าอยากจะทำอะไร ซึ่งเปรียบได้กับว่าแต่ละแห่งอยากกัดผลแอปเปิลตรงส่วนไหน หลังจากที่ได้คิดวิสัยทัศน์ร่วมกันตั้งแต่วันแรก(แอปเปิลทั้งลูก)  และจากพันธกิจ 4 ภาค ก็สามารถรวมกันได้ทั้งหมด 5 ข้อ คือ

1.พัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุข ให้มีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

2.พัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้สามารถดำเนินกิจกรรมคัดกรอง ป้องกัน ส่งเสริม ดูแลรักษาและฟื้นฟูสุขภาพในเรื่องเบาหวานและความดันโลหิตสูง

3.สร้างแกนนำผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มและดูแลสุขภาพสมาชิกภายในกลุ่ม

4.สนับสนุนให้เยาวชนได้รับความรู้เกี่ยวกับเบาหวานและความดันโลหิตสูง

5.สนับสนุนการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาต่อยอด

        หลังจากนั้น คุณอ้อ ก็บอกให้ทุกคนช่วยกันหาหุ้นส่วนหรือ partner ที่เราเกี่ยวข้องตามพันธกิจ โดยแบ่งเป็น Direct Partner (DP) และ Strategy partner หรือว่าหาคนที่เราร่วมทำกิจกรรมโครงการกับเรา  ดร.ประพนธ์ เปรียบให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเช่นเดียวกับ down line ของงานขายตรงนั่นเอง  การทำงานแบบเพื่อนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ไม่ใช่เราทำเองได้ทั้งหมด(อะไรอะไร ก็กู)  การหา DP จึงมีส่วนสำคัญ และตอนกำหนดพันธกิจ ก็ควรจะมี partner เข้ามาร่วมด้วยเสมอ  ในกิจกรรมตอนแรกทุกคนร่วมเสนอชื่อ partner บน chart โดยคุณสุภาพรรณ และคุณหญิงเป็นคนพิมพ์ลงหน้าจอคอม ระหว่างนั้นผู้อบรมมีการสอบถามกันเป็นระยะ ว่าน่าจะเรียกว่าอะไรดี เพราะ partner เป็นบุคคล กลุ่ม และหน่วยงาน   คุณอ้อ เลยบอกว่ายังไม่สนว่าใครจะเรียกว่าอะไร เดี๋ยวค่อยช่วยกันแยกอีกครั้ง จนสุดท้าย จึงได้เป็น DP และ SP ตามตาราง ก่อนที่จะพักเบรกในช่วงเช้า

Direct Partner; DP

Strategy Partner; SP

         แกนนำผู้ป่วย

          สอบต. (สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล)

          อสม.

          บุคลากรทางสาธารณสุข

          ทีมดูแลผู้ป่วย

          ครู, อาจารย์

          เยาวชน

 

         ครอบครัวและญาติ

          เทศบาล, ผู้ใหญ่บ้าน, กำนัน, อบต., อบจ., เทศบาล

          สสจ., สสอ.

          หัวหน้าส่วนราชการท้องถิ่น

          มูลนิธิ, สโมสร, สมาคมและนักปฏิบัติวิชาชีพ

          ผอ.โรงเรียน

          ผู้นำศาสนา

          พรพ., สปสช., สสส., สคส.

 

หลังจากที่พักเบรกในช่วงเช้า ผู้เข้าประชุมก็ได้แยกกลุ่มตามภาคอีกครั้ง ทั้ง 4 ภาคต้องทำโจทย์ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญที่สุด  เพราะกิจกรรมนี้เป็นขั้นตอน  กำหนดความท้าทาย เชิงผลลัพธ์ (Outcome challenge)  หรือ OC   และด้วยคำว่า ความท้าทาย นี้เอง ทำให้ภาคอีสานขอ ปรับพันธกิจ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งข้อ หลังจากทำขั้นตอนนี้แล้วมองเห็นว่าการพัฒนาคักยภาพบุคลากรนั้น สิ่งที่ท้าทายมากกว่ามีความรู้ คือการสร้างหรือได้มาซึ่งงานวิจัยหรือนวัตกรรม  แต่พอกลับไป check กับพันธกิจกลับไม่ได้ระบุไว้ตั้งแต่แรก  และพันธกิจที่เพิ่มเป็นข้อที่ 6 ของ work shop โดยผ่านการเห็นชอบจากทุกภาค แต่ก็มีเสียงแซวขึ้นมาว่า ตอนจะกัดผลแอปเปิล ค่อยว่าอีกที ว่าจะกัดพันธกิจกันตรงตำแหน่งไหน และจะใช้ภาคอิสานเป็นต้นแบบถ้าบรรลุพันธกิจด้วยนะ

พันธกิจ ข้อ6 สนับสนุนให้บุคลากรสาธารณสุขสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ และทักษะเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ไปใช้ในการพัฒนา ต่อยอดและขยายผลสู่ชุมชน รวมทั้งเกิดนวัตกรรมหรืองานวิจัย

เบื้องหลัง กลุ่มภาคกลาง เบื้องหน้า กลุ่มภาคใต้

กิจกรรมในขั้นตอน กำหนด OC ยาวนานต่อเนื่องจนเลยเที่ยง ไปนิดหน่อย โดยส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการ ซึ่งแตกต่างจากโครงการที่คุ้นเคย เพราะ OM บอกว่า ให้โครงการเป็นการมุ่งพัฒนาไปที่ตัว DP  ว่าเราอยากให้ DP มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงพฤติกรรมอย่างไร  ไม่ใช่มองที่ผลลัพธ์สุดท้ายเหมือนกับที่เคยเขียน เช่นแทนที่จะบอกว่ามุ่งพัฒนา จนท. ซึ่งเป็น DP ที่แท้จริงตามพัธกิจเรา แต่เรามักมุ่งทำกิจกรรมที่ผู้ป่วยเองเป็นต้น นอกจากนี้การแบ่งประเภทของ DP ก็สร้างความสับสนให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่น้อย เพราะผู้เข้าร่วมประชุมมักจะใส่ความรู้สึกตนเองลงไปตลอดว่า ตนเองก็เป็น DP คนหนึ่ง และมีผู้รับผลงานเป็นผู้ป่วย  ดังนั้นคุณอ้อ จึงทบทวนไสลด์นำเสนอ ของ ดร.ประพนธ์ ว่ายังมี DP ซ้อน DP อยู่เสมอเวลาเราทำโครงการจริงๆ  ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก โดยเฉพาะโครงการใหญ่ๆ ที่มีความซับซ้อนสูง

                   

 

          ในขั้นตอนนี้ ภาคเหนือ และภาคใต้ มุ่งไปที่เครือข่ายแกนนำผู้ป่วย และ อสม. ส่วนภาคกลางและภาคอีสาน มุ่งไปที่การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขที่ทำงานเบาหวานความดัน  ทำให้ในทุกๆ พันธกิจ ที่เราได้คิดร่วมกันทั้ง 4 ภาค จะเป็นภาพฝันที่เป็นไปได้ เนื่องจากคนอาสารับไปทำแน่นอน  

 

ช่วงบ่าย ของ work shop วันที่สอง

ช่วงบ่ายของการอบรม ผู้เข้าประชุมทุกคนบอกว่าอยากรีบทำกิจกรรมให้เสร็จก่อนรับประทานอาหารเย็น เพื่อที่ว่าจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืน  แต่ละภูมิภาคจึงแยกกลุ่มเหมือนช่วงเช้าโดยไม่มีขบวนการผ่อนพัก นอนกลางวันแบบเด็กอนุบาลเหมือนวันแรก  เพื่อเร่งทำกิจกรรม ในขั้นตอนที่ 5 ต่อเนื่องจากตอนเช้า

ขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นขั้นที่ 5 ของ OM  คือการทำ Progress Marker (PM)  โดยทีมวิทยากรให้ลองเขียนความต้องการเป็นขั้นบันได 3 ขั้น เพื่อให้บรรลุถึง OC ที่เรากำหนดความท้าทายไว้แล้ว ว่าเราอยากให้เป็นอย่างไร  คือ

ขั้นที่1. Expect to see - คาดว่าน่าจะเกิด

ขั้นที2. Like to see - อยากจะให้เกิด

ขั้นที่3. Love to see - ถ้าเกิดได้ก็ดี

                 ในขั้นตอนนี้ แต่ละแห่งก็เริ่มคิดกันละครับว่า อยากเห็นอะไรบ้างในตัว DP ที่กำหนดไว้ โดยใช้ขั้นการติดตาม เป็นสามขั้น  โดยมีวิทยากร คุณอ้อ และคุณหญิง คอยเตือนอยู่ตลอดว่า อย่าคิดเกินOC นะ และก็อย่ากลับไปลด OC ล่ะ เพราะตอนที่คิดๆ กันอยู่ บางทีรู้สึกยากมากที่จะติดตาม  จึงการมีการแซวกันตลอดว่า อย่างนี้ต้องกลับไปลดความท้าทายของภาคีสานลง รวมทั้งมีการย้ำจากวิทยากรว่า ตามโครงการเราจะทำตามพันธกิจที่ตั้งไว้ทุกอย่าง โดยมีกำหนด 1 ปี

                ตรงกิจกรรมนี้ ทุกคน มีความตั้งใจสูงมากที่จะคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นไปตามคาดหวัง  วิทยากรก็เลยบอกให้ทำ ขั้นที่ 6  ของ OM เลย คือขั้นกำหนด ยุทธศาสตร์  และแต่ละยุทธศาสตร์ มีกิจกรรมอะไร โดยใช้คำถามง่ายๆ กลับไปกลับมาเพื่อบอกว่ายุทธศาสตร์ ดีหรือไม่ดี คือสามารถทำให้ OC สำเร็จได้หรือไม่ ให้ดูที่ PM ที่เราเขียนเป็นหลัก  ส่วนนี้เลยเป็นการแลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์กันหลากหลายระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม ว่าแต่ละที่เคยทำอะไรไปแล้วบ้าง บางอย่างสำเร็จ บางอย่างเป็นปัญหา และบางอย่าง โรงพยาบาลกำลังทำอยู่  และเมื่อได้ยุทธศาสตร์ แต่ละกลุ่มก็คิดต่อทันทีว่าอะไรที่จะมีส่งเสริมเราให้ทำโครงการนี้สำเร็จหรือง่ายขึ้น  ซึ่ง OM เรียกว่า Required  Practice หรือ RP  หรือคิดง่ายว่า อะไรที่จะส่งเสริมให้เราทำงานกับ DP ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเราคิดถึง นโยบายระดับสูง การได้รับสนับสนุนจากผู้บริหาร ก่อนเป็นอันดับแรก  หลังจากนั้นก็มาคิดถึงวัฒนธรรม ในหน่วยงานที่จะเอื้อต่อเรา เช่น ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชน องค์กรท้องถิ่น ของภาคอีสาน  การมอบสวัสดิการให้ อสม. มีแรงจูงใจในการทำงาน ของภาคเหนือ   กระแสด้านข้อมูลข่าวสารในสังคม ของภาคใต้ และหน่วยงานมีแนวทางปฏิบัติมาตรฐานที่ชัดเจน ของภาคกลาง เป็นต้น

การระบุยุทธศาสตร์ แบ่งเป็นสองส่วน  คือ ที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับตัวบุคคล (Individual) และที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม (Environment)   ในกลุ่มภูมิภาคต่างๆ มีการใช้ยุทธศาสตร์  การสร้างแรงจูงใจ ให้สวัสดิการ และเพิ่มคุณค่าของ อสม. และบุคลากรสาธารณสุข เป็น ยุทธศาสตร์แรกเหมือนกันทุกกลุ่ม  จะแตกต่างกันบ้างตรงส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ที่กลุ่มภาคอีสานเน้นยุทธศาสตร์การสร้างศูนย์เรียนรู้ ศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานความดัน  ภาคกลางใช้ทั้ง IT และทางทาง KM  ส่วนภาคใต้ใช้สร้างการประชาสัมพันธ์ในทุกมวลชน

ในช่วงก่อนอาหารเย็น ประมาณ หกโมงเย็น เราสังเกตเห็นความล้า ของผู้อบรม อย่างเห็นได้ชัด จึงใช้วิธีการยกยอดนำเสนอ ของแต่ละกลุ่มเป็นวันถัดไป โดยนัดแนะกันว่าตอนเช้าๆ จะเริ่มทบทวนการทำ กันตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงการทำยุทธศาสตร์ อีกครั้ง ก่อนที่จะถึงขั้นตอนสุดท้ายของ OM  คือการติดตามประเมินผล (Monitoring & Evaluation) หรือ M&E

 

หมายเลขบันทึก: 268315เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คุณ Anek ลงทะเบียน GotoKnow สัญจร ครั้งที่ 1แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสุข ฅ ฅน หน้างาน ที่ขอนแก่นหรือยัง วันที่ 18 กันยายน 2552 ก่อนวันที่ 15 กันยายน 2552นะ

  • สวัสดีค่ะน้องเอนก
  • ตามหาบันทึกอยู่ตั้งนาน
  • เพิ่งเจอวันนี้เอง
  • .........
  • คิดถึงค่ะ
  • ตอนนี้กำลังทำ patient tracer ค่ะ
  • แล้วจะมาเล่าให้ฟัง

เอาความรู้มาฝากครับ

พื้นฐานการเยียวยาผู้ป่วยไตวาย

จงกล้าเปลี่ยน....

ข้อเท็จจริงในผู้ป่วยไตวาย

ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

ผู้ป่วยไตวาย ถือ เป็นผู้ป่วยหนักกลุ่มใหญ่ที่สุด ในอำเภออุบลรัตน์ คือมีมากกว่า 220 คนเลยทีเดียว ผู้ป่วยไตวาย หลายคน ต้องทุนทุกข์ทรมานจากการไตวาย เนื่องจากโรคไตวาย มีภาวะแทรกซ้อนมากมายได้แก่ ซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คัน หลายคนมีโรคหัวใจแทรกซ้อน บางคนมี อาการผมร่วง คนไข้ไตวายหลายคนปัสสาวะไม่ออก ทำให้ตัวบวม เหนื่อยหอบได้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายโดยมาก จะเสียชีวิต เนื่องจากการเข้าถึงการฟอกไต ยังเป็นสิ่งใหม่มากของ ผู้ป่วยในชนบท ทั้งที่ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถล้างไตผ่านทางหน้าท้องได้ฟรีแล้ว

 

สำหรับผู้ป่วยไตวายที่มีค่า Cr ตั้งแต่ 1.7 -6.0 mg/dL นั้นยังไม่ใช่ไตวายระยะสุดท้าย ยังมีโอกาสรอดชีวิต โดยไม่จำเป็นต้องฟอกไต โดยเฉพาะในคนไข้ที่ไตวายมาไม่นานค่า Cr มักต่ำกว่า 3.5 mg/dL ยังมีโอกาสฟื้นฟูสภาพไตได้ โดยเราต้องดูแลผู้ป่วย ให้ดี เพื่อที่จะจัดการ ลด ภาวะทำลายไตของร่างกายซึ่งได้แก่ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะยูริกแอซิดในเลือดสูง นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง สารทำลายไตได้แก่ เกลือโซเดี่ยม และยาบางชนิดอีกด้วย ดังนั้นการเยียวยาผู้ป่วยไตวายก็เพียงแค่

 

  1. ควบคุมความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงค่าปกติ

  2. จำกัดการบริโภคเกลือ และน้ำของผู้ป่วย

  3. รักษา โรคเกาต์ ด้วยยาลดกรดยูริค

  4. หลีกเลี่ยงยาและสารที่มีพิษต่อไต

  5. เสริมกำลังใจ ชมเชย หาจุดแข็ง เพื่อให้คนไข้เปลี่ยนพฤติกรรม

  6. ลดข้าว และแป้ง หากน้ำตาลในเลือดสูง

  7. ออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำทุกวัน

ข้อมูลเหล่านี้ แนวทางพวกนี้

ใครๆ ก็ทำได้ ครับ

เภสัชกร พยาบาล แพทย์ จนท. สาธารณสุขชุมชน  นักกายภาพบำบัด

เอาความรู้ ชุดนี้ ไปดูแลผู้ป่วยไตวาย ผู้ป่วย

เพียงแต่ การเยียวผู้ป่วย ต้องอดทนและขยันครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท