รายงานการใช้แบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. (TAI) ภาษาไทย ป.3


การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค ที.เอ.ไอ. (TAI) เป็นการแบ่งกลุ่มเด็ก แต่ละกลุ่มมี 4 คน เป็นเด็กเก่งกลางอ่อน

ชื่อเรื่อง                  รายงานการใช้แบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค  ที.เอ.ไอ.   (TAI)        เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนคำที่สะกด ไม่ตรงตามมาตรา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนัก     เรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3


ผู้ศึกษา                  นางจิตรา  ยิ้มหงษ์
ที่ปรึกษา                นางกุลธิดา  ปัญญาจิรวุฒิ
ปีการศึกษา           2550
บทคัดย่อ             
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)  เพื่อสร้างแบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค        ที.เอ.ไอ.  (TAI)  เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคที.เอ.ไอ.  (TAI)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3/3  โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ  มหามงคล  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  39  คน  ได้มาด้วยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค  ที.เอ.ไอ.  (TAI)  และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าอำนาจจำแนก  ค่าความยากง่าย  ค่าความเชื่อมั่น  และค่าที  (t-test Dependent)


                ผลการวิจัยพบว่า

                1.ประสิทธิภาพแบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค  ที.เอ.ไอ.  (TAI)  เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา  มีค่าเท่ากับ  87.87/86.58  เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  ที่ตั้งไว้  ปรากฏว่าแบบฝึกที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  80/80  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

2.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  การเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกการเรียนแบบร่วมมือเทคนิคที.เอ.ไอ. (TAI)  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้


222.123.155.214
 
หมายเลขบันทึก: 268223เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2009 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายครูภาษาไทย ป.3 ค่ะ เหมือนกันเลย..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท