เบาหวาน


อันตราย...จากโรคเบาหวาน
ที่มาของรูป:www.ku.ac.th
อันตราย.....จากโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นกลุ่มของโรคซึ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของการสร้าง หรือการออกฤทธิ์ หรืออาจจะเกิดจากกลไกทั้งสอง ผลจากการที่น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งและมีการทำลาย ไต สมอง หัวใจ ระดับน้ำตาลเมื่อเป็นใหม่ๆจะไม่สูงแต่เมื่อเวลาผ่านไประดับน้ำตาลจะสูงขึ้น

โรคเบาหวานโดยหลักๆ แบ่งเป็น 2 ชนิด

1. เบาหวานชนิดที่หนึ่ง [Type 1 diabetes,immune-mediated ] หรือที่เคยเรียกว่า Insulin-dependent diabetes (IDDM) ผู้ป่วยมักจะเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปี ด้วยอาการหิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด เกิด ketosis ได้ง่าย เกิดจากมีการทำลายของ ß-cell ทำให้มีการหลั่งอินซูลินน้อยลง

* immune-mediated เป็นโรคเบาหวานชนิดที่1เกิดจากมีการทำลายของตับอ่อนเนื่องจากมีภูมิคุ้ม antibody กันต่อ beta-cell ของตับอ่อน นอกจากนั้นยังพบมี antibody ต่อ insulin ผู้ป่วยจะไม่มีการสร้าง insulin หรืออาจจะมีแต่น้อยมาก ความรุนแรงของโรคในแต่ละคนจะไม่เท่ากัน บางคนเป็นมากและเร็ว นอกจากนั้นผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังเสียงต่อการเกิดโรคแพ้ภูมิต่างๆ เช่น Graves’ disease, Hashimoto’s thyroiditis, Addison’s disease, vitiligo, celiac sprue, autoimmune hepatitis, myasthenia gravis, and pernicious anemia


มักพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย หรือพวกที่กินมากๆ แต่ไม่อ้วน

2. เบาหวานชนิดที่สอง [Type 2 diabetes,noinsulin dependent : NIDDM] ความสำคัญของโรคเบาหวานชนิดนี้ก็คือคนอาจจะเป็นโรคเบาหวานโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร เมื่อผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวานมักจะมีโรคแทรกซ้อนแล้วร้อยละ 50 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจะต้องตรวจเลือดแม้ว่าจะยังไม่มีอาการของโรคเบาหวาน ผู้ป่วยมักจะมีอายุมากกว่า 30 หรือคนแก่ ปีมักจะวินิจฉัยโดยการเจาะเลือดตรวจร่างกายโดยไม่มีอาการ ผู้ป่วยมักจะอ้วนโรคจะค่อยๆดำเนินจนเกิดโรคแทรกซ้อน ผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูงสาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน insulin resistance(ร่างกายมีความต้านทาน insulin ทำให้มันทำงานได้ไม่ดีทั้งที่ร่างกายสร้างอินซูลินได้ปกติ) การลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวาน





อาการของโรคเบาหวาน

คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-110 มก.% หลังรับประทานอาหารแล้ว 2 ชม.ระดับน้ำตาลไม่เกิน 140 มก.% ผู้ที่ระดับน้ำตาลสูงไม่มากอาจจะไม่มีอาการอะไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานจะทำได้โดยการเจาะเลือด อาการที่พบได้บ่อย

* คนปกติมักจะไม่ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะในเวลากลางดึก หรือปัสสาวะอย่างมากไม่เกิน 1 ครั้ง เมื่อน้ำตาลในกระแสเลือดมากกว่า180มก.% โดยเฉพาะในเวลากลางคืนน้ำตาลจะถูกขับออกทางปัสสาวะทำให้น้ำถูกขับออกมากขึ้น จึงมีอาการปัสสาวะบ่อยและเกิดการสูญเสียน้ำ และอาจจะพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
* ผู้ป่วยจะหิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
* อ่อนเพลีย น้ำหนักลดเกิดเนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลจึงย่อยสลายส่วนที่เป็นโปรตีนและไขมันออกมา
* ผู้ป่วยจะกินเก่งหิวเก่งแต่น้ำหนักจะลดลง
เนื่องจากร่างกายน้ำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานไม่ได้ จึงมีการสลายพลังงานจากไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อ
* อาการอื่นๆที่อาจเกิดได้แก่ การติดเชื้อ แผลหายช้า คัน
* คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง สาเหตุของอาการคันเนื่องจากผิวแห้งไป หรือมีการอักเสบของผิวหนัง
* เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัวต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงสายตา เช่นสายตาสั้น ต่อกระจก น้ำตาลในเลือดสูง
* ชาไม่มีความรู้สึก เจ็บตามแขนขาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากน้ำตาลสูงนานๆทำให้เส้นประสาทเสื่อม เกิดแผลที่เท้าได้ง่าย เพราะไม่รู้สึก
* อาเจียน




ใครที่ควรจะต้องเจาเลือดหาโรคเบาหวาน


ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองพบมากและมักจะวินิจฉัยไม่ได้ในระยะแรก การที่มีภาวะน้ำตาลสูงเป็นเวลานานๆทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆเช่น ตา หัวใจ ไต เส้นประสาท เส้นเลือด นอกจากนี้ยังพบว่ามีโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในโลหิตสูงร่วมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งในการวินิจฉัยให้เร็วที่สุดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อน การตรวจคัดกรองเบาหวานในผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการ ผู้ที่สมควรได้รับการเจาะเลือดตรวจตรวจหาเบาหวาน คือ



* ประวัติครอบครัวพ่อแม่ พี่ หรือ น้อง เป็นเบาหวานควรจะตรวจเลือดแม้ว่าคุณจะไม่มีอาการ
* อ้วน ดัชนีมวลกายมากกว่า27% หรือน้ำหนักเกิน20%ของน้ำหนักที่ควรเป็นสำหรับประเทศในเอเซียเราพบว่าเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 23 จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานมาก ดังนั้นแนะนำว่าควรจะเจาะเลือดตรวจเบาหวานเมื่อดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อยากทราบว่าดัชนีมวลกายเท่าไรคลิกที่นี่
* อายุมากกว่า45ปี
* ผู้ที่ตรวจพบ IFG หรือ IGT
* ความดันโลหิตสูงมากกว่า140/90 mmHg
* ระดับไขมัน HDL น้อยกว่า35 มก%และหรือ TG มากกว่า250 มก.%
* ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

ที่มา:

คำสำคัญ (Tags): #บ้านแหร#เบาหวาน
หมายเลขบันทึก: 268146เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2009 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Artichoke (ATISO, actiso) อาร์ติโช๊คบำรุงตับไตถุงน้ำดี

อาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus) เป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ เฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร เท่านั้น ปี 2513 นักวิทยาศาสตร์ชาวยุโรป ได้ค้นพบสารไซนาริน ” มีคุณค่าทางอาหาร และยา นำมาบริโภคสด หรือปรุงอาหารได้ทุกส่วน หรือนำมาสกัดสารไซนาริน(Synarin) รับประทานเพื่อบำรุงรักษาสุขภาพได้ดี” ในยุคโบราณอาร์ติโช๊คเป็นอาหาร และยารักษาโรคของชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวโรมัน และเป็นเมนูอาหารที่สำคัญในทุกงานเลี้ยงของกรุงโรม นอกจากจะเป็นอาหารเสริม แล้วยังมีสรรพคุณทางยา ดังนี้

1. ช่วยบำรุง กระตุ้นการทำงานของตับ ซึ่งตับเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่ในการสกัดสารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมออกจากกระแสโลหิต สร้างน้ำดีและน้ำย่อย และเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสารอาหาร ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

2. กระตุ้น การสร้างน้ำดีของตับ ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดไขมัน (Chloresteral) ในเลือด ช่วยให้ระบบหลอดเลือดและหัวใจทำงานดี ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน

3. เสริมสร้างการทำงานของถุงน้ำดี ช่วยสร้างน้ำดีป้องกันถุงน้ำดีอักเสบ ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ทำให้ระบบการย่อยอาหารดี ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก

4. ช่วยป้องกันตับอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคดีซ่าน และโรคตับแข็ง (Cirrhosis) ในประเทศบราซิล อาร์ติโช๊ค เป็นยาสมุนไพรพื้นฐาน ที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยของตับ และโรคอื่นหลายโรค ได้อย่างกว้างขวาง เช่น โรคโลหิตจาง เบาหวาน ไข้ รักษาบาดแผล และเกาต์

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติม

www.artichokeliver.com หรือ

www.smethai.com/shop/gms

Tel: 02 - 888 - 9954, 081 – 627 1521 คุณวัลลภา

อยากรู้โรคไตไม่ใช่โรคเบาหวาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท