ค้นพบสารนาโนฯ มีอันตรายต่อปอด


 

...

อาจารย์เชินเกียว เจียง (Chengyu Jiang) ผู้เชี่ยวชาญสาขาชีววิทยาโมเลกุล แห่งสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีน ปักกิ่ง (Chinese Academy of Medical Sciences in Beijing) และคณะ ค้นพบกลไกที่อนุภาคขนาดจิ๋ว หรืออนุภาคนาโนฯ (nanoparticles) อาจมีอันตรายต่อปอดได้ 

นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) เป็นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยการผลิต และใช้อนุภาคขนาดจิ๋ว ระดับ 1/1000 ล้านเมตร

...

มีการนำสารกลุ่มนี้มาใช้ในผลิตภัณฑ์การกีฬา เสริมสวย ยางรถยนต์ อุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์ และยา ซึ่งคาดว่า มูลค่าของอุตสาหกรรมนี้มีขนาดประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ฯ หรือ 35 ล้านล้านบาทในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558

ทีมวิจัยจีนใช้สาร polyamidoamine dendrimers (PAMAMs - พาแมมส์ ซึ่งออกเสียงคล้าย "ป๋ากับแหม่ม")

...

เจ้าสารป๋ากับแหม่มนี้... ทำลายปอดได้โดยกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์ที่เรียกว่า 'autophagic cell death' หรือการย่อยสลายตัวเอง

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ภายในเซลล์ของเราจะมีน้ำย่อย (enzymes) อยู่ภายในมากมาย น้ำย่อยเหล่านี้มีการบรรจุหีบห่อ การบรรจุภัณฑ์ที่เรียกว่า 'packaging' หรือที่คนไทยเรียกว่า "แพ็คฯ" ของเรียบร้อย

...

วิธีแพ็คฯ ของเซลล์คือ นำน้ำย่อยเก็บไว้ในถุงขนาดเล็ก คล้ายๆ กับการใส่ถุงพลาสติก ปิดผนึกไว้เรียบร้อย

ถ้าถุงนี้แตก... จะทำให้น้ำย่อยออกมาย่อยเซลล์ตัวเอง ทำให้เซลล์บาดเจ็บ หรือตายได้ (คำว่า "ถุงแตก" นี่ ถ้าใครซุกซนแล้วถุงยางอนามัยแตกอาจมีอันตรายมากกว่านี้ เช่น ติดเอดส์ ฯลฯ)

...

กลไกนี้เป็น 1 ในสารพัดกลไกที่ช่วยอธิบายได้ว่า ทำไมเวลาคนเราเกิดอุบัติเหตุ หรือชอกช้ำมากๆ จึงตายได้ ทั้งๆ ที่ดูจากภายนอกไม่เห็นบาดแผลอะไร

การป้องกันอุบัติเหตุ โดยเฉพาะ "เมาไม่ขับ", "ง่วงไม่ขับ" จึงมีผลต่ออายุขัยของคนเรามาก และมาตรการที่มีผลมากจากการศึกษาที่ผ่านมาคือ ยิ่งมีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจมากเท่าไร คนเมาแล้วขับจะยิ่งลดลงมากเท่านั้น

...

ปัญหาสำคัญที่ประเทศพัฒนาแล้วมองว่า การ "เมาแล้วขับ" ไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล คือ เป็นการทำให้คนดีๆ เสี่ยงอันตรายจากคนเมา

และถ้าคนเมาพิการ... คนที่ไม่เมาจะเป็นฝ่ายจ่ายภาษีมากมายมหาศาลเป็นค่ารักษาพยาบาลคนเมา

... 

การศึกษานี้พบว่า การนำสารป๋ากับแหม่มไปใส่ในเซลล์ปอดไม่ได้ทำให้เกิดการตายที่พบบ่อย ซึ่งเรียกว่า 'โพโทซิส (apoptosis)'

กลไกนี้คือ เซลล์ของร่างกายจะมีนาฬิกาเวลาอายุขัย และถึงกำหนดก็จะตายไปเสียเฉยๆ ราวกับคนตรอมใจตาย

...

ถ้ามีอะไรไปตั้งเวลาตายของเซลล์ใหม่ (ปกติตั้งให้น้อยลงง่าย ตั้งให้มากขึ้นยากมากๆ)... เซลล์จะตายเร็วขึ้น

กลไกโพโทซิสพบมากในการตายทั่วไป เช่น การฉายแสงรักษามะเร็ง, การให้ยาเคมีบำบัด ฯลฯ คือ เมื่อเซลล์เข้าสู่วงจรชีวิต (เป็นช่วงของการแบ่งตัว)... เซลล์จะเกิดการตายเงียบ

...

 

คณะนักวิจัยค้นพบด้วยว่า การใช้สารห้ามการย่อยสลายตัวเองของเซลล์ (autophagy inhibitor) ในหนูและสัตว์กัดแทะ ทำให้ปอดเสียหายน้อยลง และสัตว์มีโอกาสรอดตายมากขึ้น

ทุกวันนี้สินค้าหลายๆ ชนิดมีการนำสารนาโนฯ มาใช้หลายอย่าง... เราเองก็ไม่ทราบแน่ว่า การ "ลองของ" ใหม่ๆ เหล่านี้จะปลอดภัยหรือไม่ในระยะยาว 

... 

ทางที่ดีทางหนึ่ง คือ ให้คนอื่นใช้ไปก่อน... ถ้า 5 ปี 10 ปีไม่มีพิษภัยอะไร เราค่อยใช้ตาม

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 

 > Thank Reuters

ที่มา                                                                      

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 13 มิถุนายน 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 267904เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2009 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท