การออกแบบการสอน


การออกแบบการจัดการเรียนรู้

 

บทที่ ขั้นวิเคราะห์ (Analyze Phase)

1.      การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น

ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นมี  7  ขั้นด้วยกันทำได้ดังต่อไปนี้คือ

1.1    รวบรวมข้อมูล

1.2    ระบุความไม่สอดคล้อง

1.3    วิเคราะห์การปฏิบัติ

1.4    ระบุข้อจำกัดและทรัพยากร

1.5    ระบุคุณลักษณะของผู้เรียน

1.6    ระบุเป้าประสงค์ก่อน หลัง

1.7    เขียนประพจน์ปัญหา

บทที่ 2 ขั้นตอนการออกแบบ

2.      การวิเคราะห์ผู้เรียน\

 

         2.1   วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล           

         2.2    ผลการเรียนของนักเรียน

       

การออกแบบการเรียนรู้จำต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้

1.       วิเคราะห์เนื้อหา ภาระงาน ตามจุดประสงการเรียนรู้

2.       พัฒนาผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้

3.       จัดลำดับจุดประสงค์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่จะเรียน

4.       เครื่องมือประเมินการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบการบรรลุจุดประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้

5.       วางแนวทางในการสอนให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตามมาตรฐานการเรียนรู้

     การพัฒนา 5  ขั้นเป็นการออกแบบการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายและจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งให้คลอบคลุมกับงาน ภาระงานหรือกิจกรรม  สาระการเรียนรู้หรือเนื้อหาที่วิเคราะห์ไว้แล้วสามารถออกแบบการเรียนการสอน

 

บทที่ 3

ขั้นตอนพัฒนา

1.  แผนการจัดการเรียนรู้

                   ขั้นตอนการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้แบบร่วมมือในครั้งนี้ได้กำหนดขั้นตอนในการสร้าง ดังนี้

 1.  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  เกี่ยวกับความเป็นมา  หลักการ  จุดหมาย  โครงสร้าง   ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

2. ศึกษาวิธีการจัดทำแผนการเรียนรู้  (อาภรณ์  ใจเที่ยง  2540  :  201)

3.ศึกษาสาระการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง คำอธิบายรายหน่วย  และศึกษาวิธีการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ที่จะมาสร้างจากเอกสารตำราต่างๆ

4. ศึกษาทฤษฎีหลักการ  และแนวคิดเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้(เลือกรูปแบบการสอนในการพัฒนา หรือพัฒนารูปแบบการสอนใช้เอง)

5 . ศึกษาหนังสือ  เอกสารประกอบการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของ  สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   หน่วยการเรียนรู้ที่  6  เรื่องเศษส่วน 

6 . วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมของเรื่องที่ใช้ทดลอง

 

บทที่ 4

ขั้นตอนการนำไปใช้

มีขั้นตอนการนำไปใช้ดังนี้

1. นำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre - test)  จำนวน 8 ข้อ เป็นข้อสอบอัตนัย   25  คะแนนไปทดสอบกับนักเรียนก่อนการทดลองสอน

                        2.  ดำเนินการทดลอง  ผู้ออกแบบเป็นผู้สอนเอง

                        3.  เมื่อสิ้นสุดการทดลองแล้ว นำแบบทดสอบหลังเรียน (Post - test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดิม ไปทดสอบนักเรียนอีกครั้งหนึ่ง

                        4.  นำผลการทดสอบมาตรวจให้คะแนน แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

   แล้วนำเสนอในรูปตาราง และความเรียง

 

บทที่ 5

ขั้นตอนประเมิน

ขั้นตอนการประเมิน เป็นการประเมินทั้งผู้เรียนและผู้สอน จะต้องวัดผลการเรียนรู้ของ ผู้เรียนตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ มีการรวบรวมข้อมูลการเตรียมการและการนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในสภาวะแวดล้อมกับการทำงานจริง เป้าหมายสำคัญของการระเมินก็คือ การแก้ปัญหาและทำให้ระบบดีขึ้น การประเมินจึงเป็นกระบวนการของการตัดสิน สรุป คุณค่า และประสิทธิภาพของโปรแกรมการเรียนการสอน โดยใช้การประเมินเป็นเครื่องมือพิสูจน์การดำเนินทั้งหมดของกระบวนการ คือประเมินการวิเคราะห์ ประเมินการออกแบบ ประเมินการพัฒนา และประเมินการนำไปใช้ ทั้งนี้การวัดผลการปฏิบัติของโปรแกรมการจัดการเรียนรู้ในสภาพการทำงานจริง

 

อ้างอิง 

ชนาธิป พรกุล.(2543).รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.  

                กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

                                ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิดวิธีและเทคนิค

                   การสอน 1,2. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์ กรุ๊ป แมเนจเมนท์.

ยุพิน พิพิธกุล. (2546). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ :

                         บพิธการพิมพ์.

               ละออง ลำเทียน. (2549).  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้แบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการ

                               เรียนและ   ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต 

                                มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่ม

               คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ :กราฟฟิค โกร.

อภิณห์พร สถิตย์ภาคีกุล. (2548). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครศรีธรรมราช:

          คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

 

หมายเลขบันทึก: 267734เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2009 21:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท