ผีเสื้อถุงทองธรรมดา


ผีเสื้อถุงทองธรรมดา

 

   วันนี้เรามารู้จักผีเสื้อสวยๆกันซักชนิดกันดีไหมครับ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา Golden Birdwing; Troides aeacus เป็นผีเสื้อที่อยู่ในสกุลของผีเสื้อถุงทองเป็นผีเสื้อที่มีขนาดใหญ่  ใหญ่แค่ไหนหรือครับเค้าใช้การวัดขนาดระหว่างปลายปีกคู่หน้า(Wingspan)ของผีเสื้อครับ   เจ้าผีเสื้อถุงทองจะมีระยะที่ว่านี้ประมาณ ๑๔๐-๑๗๐ มม.ครับ  ใหญ่พอดูเลยใช่ไหมครั   ด้วยความที่ปีกของมันมีความกว้างมากทำให้เวลาบินดูเหมือนนก  ฝรั่งเค้าก็เลยเรียกว่า Birdwing ยังไงละครับ  ผีเสื้อชนิดนี้ทั้งเพศผู้และเมียมักชอบหากินตามดอกไม้ขนาดใหญ่   เจ้าผีเสื้อถุงทองนั้นไม่ค่อยมีศัตรูเนื่องรสชาดไม่โอชะนัก ลำตัวรึก็เหนียว  มันชอบที่จะบินช้าๆ เพื่อให้ศัตรูเห็นได้ชัดว่ามันมีพิษ

  ผีเสื้อถุงทองธรรมดาจัดอยู่ในวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง(Family Papiliondae)ที่เรียกกันอย่างนี้ก็เพราะว่าผีเสื้อหลายชนิดในวงศ์ผีเสื้อหางติ่งนี้มักจะมีกางยาวรูปทรงต่างยื่นออกมาจากปีกคู่หลังครับ

  เจ้าถุงทองนั้นมักจะพบบินอยู่สูงในระยะ ๓ เมตรขึ้นไปออกแหมสูงจังเลยนะครับ สองรูปด้านบนเป็นผีเสื้อถุงทองธรรมดาเพศเมียเกาะดอกพนมสวรรค์ป่าอยู่ในระดับความสูง ๓-๔ เมตรแต่เผอิญที่ผมนั้นยืนอยู่บนเนินที่สูงกว่าครับ    เราอยู่ห่างกันประมาณ ๕ หรือ ๖ เมตรงานนี้จึงเป็นหน้าที่ของเลนส์เทเลโฟโตครับ

  ผีเสื้อถุงทองธรรมดาและพี่น้องอีกสองชนิดก็คือ

  • ผีเสื้อถุงทองป่าสูงและ
  • ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้

นั้นยังมีสถานะภาพเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองอีกด้วยแน่ะ การที่ทางราชการเค้ากำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองนั้นเหตุก็เนื่องมาจากมีการจับผีเสื้อในสกุลนี้กันมากในบ้านเราและต่างประเทศครับ   จนมีแนวโน้มว่ามันอาจจะสูญพันธุ์ไปได้ครับ   และ CITES (คณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์) ก็ได้กำหนดให้ผีเสื้อทุกชนิดในในสกุลผีเสื้อถุงทองอยู่ในกฏหมายคุ้มครองอีกด้วย  ซึ่งก็ทำให้ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้ที่พบน้อยมากได้รับการคุ้มครองด้วย :)


     ใครก็หนอนกันครับ  ผมเองไม่กลัวนะครับแต่สำหรับเจ้าหนอนของผีเสื้อถุงทองนี้ขอยกเว้นไว้สักชนิดแล้วกันครับ  เพราะว่าตัวมันอวบอ้วนใหญ่น่าจั๊กจี้ยังไงก็ไม่รู้เวลาที่มองดูขาของมันไต่   ธรรมชาติมอบหนามปลอมที่มองดูให้ความรู้สึกว่า ไม่ควรจะเข้าไปใกล้หรือสัมผัส  จุดคู่สีส้มๆที่หัวซึ่งมองดูคล้ายดวงตานั้นคือต่อมออสมีทีเรียมที่จะปล่อยกลิ่นฉุนออกมาเมื่อหนอนถูกรบกวนมากๆ แต่วันนั้นที่ผมเจอเค้ากำลังกัดกินใบต้นกระเช้าถุงทองอย่างเอร็ดอร่อย   รู้ได้ยังไงเป็นหนอนรึไง? ก็พี่หนอนกินหมดไปครึ่งใบแถมไอ้ที่เหลือแต่ก้านอีกล่ะ     ผมเด็ดใบที่หนอนเกาะอยู่ออกมาเพื่อที่จะถ่ายรูปเป็นที่ระทึกในที่ที่แสงมากหน่อย เจ้าหนอนชูต่อมที่ว่านี่ออกมาแต่ผมไม่ยักจะได้กลิ่น  เอ...หรือว่าเราจมูกเสียไปแล้วนะ อิอิ

 

ที่มาของข้อมูล:

  1. "คู่มือดูผีเสื้อในประเทศไทย" โดย ดร.จารุจินต์ นภีตะภัฎ และลุงเกรียง(เกรียงไกร สุวรรณภักดิ์),  สำนักพิมพ์วนา พิมพ์ที่ด่านสุทธาการพิมพ์ กรุงเทพฯ, ธันวาคม ๒๕๔๔

  2. "ผีเสื้อ ผืนป่ามรดกโลก ดงพญาเย็น-เขาใหญ่"  โดยลุงหนานกะเบ้อ (สินธุยศ จันทรสาขา),      อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัดมหาชน กรุงเทพฯ, ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑

 

หมายเลขบันทึก: 267717เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2009 19:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ตัวผีเสื้อ น่ารัก

หนอนผีเสื้อ..บรื๊ออออ

Pครู ป.1

  • สวัสดีครับ มีคนเห็นด้วยกับผมหนึ่งคนแล้วซิครับ 
  • เจ้าหนอนถุงทองนี่ปู่ของเจ้าเป็ดน้อยมาเจอเข้าละก็วิ่งทั่วบ้านแน่ๆครับ อิอิ
  • งามมั่กมั่ก ทั้งผีเสื้อทั้งตอนที่เป็นหนอน ชอบตรงที่มีปลายแหลมสีแดงๆ ด้วย
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ดีดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท