มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน


การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ในฐานะผู้รับผิดชอบงานประเมินคุณภาพภายนอสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ขอบันทึกนโยบายการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สอง ที่กรรมการบริหาร สมศ. ให้แนวทางไว้ ๙ ข้อ

แนวทางการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓)
๑)     กำหนดให้ใช้มาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๔๙) จำนวน ๑๔ มาตรฐาน   (สาระของมาตรฐานตามคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้ใช้ในการประเมิน  เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๔๓  และวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๓)  แต่มีการปรับลำดับของมาตรฐานใหม่ให้มีความต่อเนื่องของลำดับที่  และมีความสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย จำนวน ๑๘  มาตรฐาน ที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้ใช้  ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๘   ซึ่งเป็นการกำหนดมาตรฐานภายใต้มาตรฐานการศึกษาชาติ   จำนวน ๓ มาตรฐาน ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
๒)   มาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในรอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๔๙)  จำแนกเป็น  ๒  ส่วน  คือ  มาตรฐานเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการประเมินการจัดการศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  จำนวน ๑๔ มาตรฐาน ๖๐ ตัวบ่งชี้    และสำหรับการประเมินการจัดการศึกษาปฐมวัย   จำนวน ๑๔  มาตรฐาน   ๕๐  ตัวบ่งชี้
๓)   วิธีการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในรอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๔๙)  พิจารณาจากผลการประเมิน  ๒ แบบ  คือ ผลการประเมินแบบอิงเกณฑ์ ตามเกณฑ์การพิจารณา  และตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐานตามที่ สมศ. กำหนด  และผลการประเมินแบบอิงสถานศึกษา  ซึ่งพิจารณาพัฒนาการของผลประเมินในรอบที่สองเทียบกับผลการประเมินรอบแรก  และความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย/มาตรฐานตามแผนของสถานศึกษา
๔)   การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในรอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๔๙)  จะเป็นการประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ. ทั้งเป็นรายมาตรฐาน และในภาพรวมของการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
๕)   การบริหารการประเมิน  โดยการจัดจ้างหน่วยประเมินที่ได้ผลการพิจารณาสูงสุดในการเสนอข้อเสนอในการประเมินกลุ่มสถานศึกษาที่ สมศ. ประกาศไว้  หน่วยประเมินต้องรับผิดชอบดำเนินการประเมิน  และจัดทำรายงานการประเมินตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่  สมศ. กำหนด ซึ่งจะระบุไว้ในการทำสัญญาแต่ละครั้ง 
๖)     สถานศึกษาที่จะได้รับการประเมิน กำหนดไว้ ดังนี้ 
-       สถานศึกษาที่ประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔  ถึง ๒๕๔๖  จะรับการประเมินรอบที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙
-          สถานศึกษาที่ประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗  จะรับการประเมินรอบที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
-           สถานศึกษาที่ประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘  จะรับการประเมินรอบที่สอง ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑
-       สถานศึกษาที่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบแรก เนื่องจาก  จัดตั้งหลัง วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๒  จะขอรับการประเมินเพื่อการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.  โดยจัดทำหนังสือมาขอรับการประเมิน
๗)   สมศ. จะแจ้งกำหนดแผนการประเมินให้สถานศึกษาทราบช่วงระยะเวลาในการประเมิน โดยไม่กำหนดวันที่ประเมินให้สถานศึกษาทราบ ซึ่งจะทำให้การประเมินสะท้อนภาพที่เป็นจริงได้ดียิ่งขึ้น  โดยการแจ้งกำหนดแผนการประเมิน ทาง website  ของ สมศ. (onesqa.or.th) และจัดทำหนังสือแจ้งสถานศึกษาอย่างเป็นทางการ  เพื่อให้สถานศึกษาส่งรายงานการประเมินตนเองให้   สมศ.   ทั้งนี้  ห้ามมิให้หน่วยประเมินที่ได้รับการจัดจ้างให้ประเมินแจ้งให้สถานศึกษาทราบล่วงหน้าถึงการกำหนดวันเวลาที่จะเข้าประเมิน
๘)   ในการประเมิน ทีมประเมินต้องเตรียมการโดยการศึกษารายงานการประเมินตนเองและผลการประเมินรอบแรกของสถานศึกษาและกรอกข้อมูลในบันทึกภาคสนาม  เมื่อเข้าประเมินให้ผู้ประเมินใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ในการรวบรวมข้อมูล โดยการศึกษาเอกสารและหลักฐาน   การสังเกต   การสัมภาษณ์   เพื่อเป็นหลักฐานในการสรุปผลการประเมิน ทั้งการประเมินอิงเกณฑ์ และอิงสถานศึกษา ตามวิธีการ หลักเกณฑ์ ที่ สมศ. กำหนดในแต่ละมาตรฐาน  ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษา คือ เจ้าของสถานศึกษา ผู้บริหาร  ครูผู้สอน นักเรียน และบุคลากรอื่นของสถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา   ตลอดจนผู้ปกครอง     ผู้แทนชุมชน/ชาวบ้าน ผู้ประกอบการหรือผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้  อาจมีการใช้แบบสอบถามหรือเครื่องมือ/วิธีการอื่น ๆ ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลตามความจำเป็น   จำนวนผู้ประเมิน  วัน-เวลาที่ใช้ในการประเมิน ตามที่ สมศ. กำหนด   ผู้ประเมินต้องเสนอผลกาประเมินด้วยวาจาแก่สถานศึกษาในวันสุดท้ายของการประเมิน  เพื่อให้สถานศึกษาได้มีโอกาสอธิบาย  โต้แย้ง  หรือยอมรับผลประเมิน  ที่สำคัญ คือ การนำผลประเมินไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้ทันที
  ภายใน ๑ สัปดาห์ ทีมประเมินต้องประมวลผลการประเมินจัดทำเป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายนอกจัดส่งของผู้ประเมินอภิมานของหน่วยประเมิน  และผู้ทรงคุณวุฒิตรวจอ่านรายงานรับรองรายงาน  ขณะเดียวกับจัดส่ง  ให้สถานศึกษารับรองหรือโต้แย้งผลการประเมิน ภายใน ๑๕ วัน  หลังจาก นั้นให้พิจารณาข้อโต้แย้งของสถานศึกษาเพื่อแก้ไข   หากไม่แก้ไขให้ชี้แจงเหตุผลในการส่งงานให้ สมศ. ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26712เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท