การเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน


ไม่สามารถเชื่อมโยงวิชาการของสำนักหรือการเรียนรู้ของนักศึกษาในสถานะการณ์ที่เป็นความสำคัญ(จำเป็น)ของสังคม ชุมชน

วันนี้ทีมคณาจารย์จากคณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏเชียงใหม่มาดูงานเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายชุมชนเป็นฐานที่ม.วลัยลักษณ์ โดยการประสานของผศ.เยี่ยมลักษณ์ซึ่งรู้จักกับผมจากที่เคยทำวิจัยร่วมกันในชุดกองทุนหมู่บ้านของเครือข่ายม.ราชภัฏมาก่อน อาจารย์อยากให้ผมคุยงานชุมชนให้คณะฟัง แต่เมื่อดูหัวข้อแล้วผมเห็นว่าไม่ตรงกับประสบการณ์ที่ผมมีอยู่ จึงติดต่อสำนักพยาบาลศาสตร์ ซึ่งโชคดีได้ผศ.ดร.เกียรติกำจรมาเล่าให้ฟัง ทำให้ผมได้รับรู้ในรายละเอียดการจัดการเรียนการสอนของสำนักพยาบาลศาสตร์ด้วย ซึ่งน่าสนใจมาก

อาจารย์เกียรติกำจรนำเสนอด้วยpower point เนื้อหาตรงกับที่อาจารย์เยี่มลักษณ์ตั้งใจไว้พอดี

ผมฟังแล้วรู้สึกชื่นชมกับการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์สำนักพยาบาลศาสตร์มากที่ได้ใช้ชุมชนทั้งที่ชุมชนสาธิตภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนภายนอกโดยใช้สถานีอนามัยและโรงพยาบาลเป็นฐานในการเชื่อมโยงกับชุมชน ถือเป็นห้องเรียนชุมชนตั้งแต่ระดับครัวเรือนที่นักศึกษาทุกคนต้องมีบ้านอุปถัมภ์เพื่อการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและที่อื่นๆอย่างกลมกลืนยิ่ง

นักศึกษาค่อยๆเรียนรู้เพิ่มทักษะความชำนาญจากตำรา สถานีอนามัย โรงพยาบาล ครัวเรือนอุปถัมภ์และชุมชนเพิ่มมากขึ้นทุกปีจนจบหลักสูตร
เป็นการบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัยและการบริการวิชาการเข้าด้วยกัน

จะเห็นว่าสำนักพยาบาลเริ่มต้นที่เนื้อหาวิชา โดยแทรกหรือเพิ่มเติมตัวอย่างจริงของชุมชนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ควบคู่กันไปอย่างกลมกลืน

เมื่อกลับมาดูงานที่ผมกำลังทำอยู่ จะเห็นว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่ชุมชน สังคม โดยพยายามเชื่อมโยง  เข้ากับเนื้อหาวิชาในสำนักต่างๆ แต่ก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะไม่สามารถทำให้เป็นตารางการเรียนรู้อย่างเป็นระบบได้ เช่นโครงการจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร ต้องการทำให้กระบวนการชุมชน  เข้มแข็งอย่างสมบูรณ์ จุดสำคัญของหลักวิชาอยู่ที่การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับภาครัฐและชุมชนส่วนหลักเป็นเรื่องของการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยมีเนื้อหาวิชาเฉพาะด้านอยู่ด้วย เช่น เกษตรอินทรีย์ สถาบันการเงินชุมชน เป็นต้น นักศึกษาหรือสำนักวิชาอะไรจึงจะสอดรับกับภารกิจหรือเป้าหมายนี้ทั้งของรัฐและชุมชน คิดว่าสำนักวิชาวิทยาการจัดการน่าจะใกล้เคียงที่สุด หรือถ้าเป็นของธรรมศาสตร์ก็คือสหวิทยาการ ทำนองนั้น  ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงวิชาการของสำนักหรือการเรียนรู้ของนักศึกษาในสถานะการณ์ที่เป็นความสำคัญ(จำเป็น)ของสังคม ชุมชน ก็สามารถสรุปได้ 2ทางคือ 1)ไม่มีความสามารถในการประสานเชื่อมโยง 2)มหาวิทยาลัยไม่มีฐานความรู้ในเรื่องเหล่านี้

ยังคิดไม่ออกว่าเป็นเรื่องไรกันแน่

 

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 26710เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท