ตัวอย่างผลงานวิจัยของบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในปี 2551


บทคัดย่อผลงานวิจัยของวิจัยของบุคลากรคณะสหเวชศาสตร์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในปี 2551

               หน่วยสนับสนุนงานวิจัย ขอนำบทคัดย่อผลงานวิจัย "เรื่อง สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก"  ซึ่งถือเป็นผลงานวิจัยที่เกิดจากการบูรณาการระหว่างงานบริการวิชาการกับงานวิจัยเข้าด้วยกัน เขียนโดย อาจารย์วีระพงษ์  ชิดนอก  อาจารย์ประจำภาควิชากายภาพบำบัด  ได้รับทุนสนับสนุนการทำวิจัยจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก และคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ซึ่งได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬาค่ะ

สมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
วีระพงษ์ ชิดนอก, โอปอร์ วีรพันธุ์, และ รัมภ์รดา อินทโฉม


บทคัดย่อ


                 วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบสมรรถภาพทางกายในผู้สูงอายุ เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อายุเฉลี่ย 58.37±0.45 ปี จำนวน 329 คน อาสาสมัครได้รับการตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนทำการทดสอบสมรรถภาพทางกาย การตรวจร่างกายประกอบด้วยการชั่งน้ำหนักร่างกาย ส่วนสูง วัดอัตราการเต้นหัวใจและความดันโลหิตขณะพัก การทดสอบสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย แรงบีบมือ แรงเหยียดขา ความอ่อนตัวและความจุปอด ผลการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าค่าสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกอยู่ในช่วงต่ำถึงปานกลาง

 


Physical Performances in Elderly Subjects, Ampur Meaung, Phitsanulok Province
Weerapong Chidnok*, Opor Weerapun, and Rumprada Inthachom

Department of Physical Therapy, Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University, Phitsanulok 65000, Thailand 
*Corresponding author. E-mail address: [email protected] (W. Chidnok)
---------------------------------------------------------------------

Abstract


           Physical performance is a fundamental factor indicated health and showed physically fit person who has physical activity or exercise regularly. The purpose of this study was to study of physical performances of the elderly people in Ampur Meaung, Phitsanulok Province, aged between 18-65 years, subjects 483. The study group must check general physical examination before physical performance testing. The general physical examination include weighing, heighing, measuring resting heart rate, measuring blood pressure and physical performance testing include skinfold thickness, grip strength, flexibility and vital capacity. The result from this study show that physical performance in male and female were lowest to moderate range. This study has benefit for modify exercise planning, improving and enhancing physical performance that effect to health, physical performance and effective of work.

Key word:  Physical Performances, Elderly

ที่มา :  อาจารย์วีระพงษ์  ชิดนอก  ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ ตีพิมพ์ในวารสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา. 2551. (1) : 41-48.

 

          และอีกหนึ่งผลงานวิจัยที่อยากจะเผยแพร่ เป็นผลงานวิจัยสถาบัน "เรื่อง ประสิทธิผลของมาตรการประหยัดการใช้กระดาษ คณะสหเวชศาสตร์ " โดย นางขวัญเรือน ศรีดี เป็นอีกหนึ่งผลงานวิจัยสถาบันที่มีประโยชน์ต่อคณะสหเวชศาสตร์ของเราทำให้ปริมาณการใช้กระดาษภายในคณะลดลงได้จริงค่ะ 

 
ประสิทธิผลของมาตรการประหยัดการใช้กระดาษ คณะสหเวชศาสตร์

ขวัญเรือน ศรีดี*และสุวรรณา   ถาวรรุ่งโรจน์

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
Faculty of Allied Health Science, Norseman University, Thapoe, Muang District, Phitsanulok Province 65000
*Corresponding Author. E-mail : [email protected] (K.Sridee)


บทคัดย่อ


                    งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของมาตรการประหยัดการใช้กระดาษและศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อมาตรการดังกล่าว  โดยอาศัยข้อมูลการเบิกวัสดุ (กระดาษ เอ 4) ย้อนหลังตั้งแต่ก่อนใช้มาตรการ (กรกฏาคม 2549 – มกราคม  2550) และหลังมาตรการ (มีนาคม 2550 – กันยายน 2550) และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อมาตรการการประหยัดการใช้กระดาษ  โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ทุกสายงาน จำนวน  40  คน  ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังมาตรการประหยัดกระดาษมีจำนวนการเบิกกระดาษลดลง( จาก  244 รีมเหลือ 195รีม)  คณะฯ  สามารถประหยัดงบประมาณลงได้  2,021.80 บาท  และบุคลากรมีความพึงพอใจต่อมาตรการประหยัดกระดาษในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกหัวข้อประเมินดังนั้นจึงมาตรการการประหยัดกระดาษถือได้ว่ามีประสิทธิผล  อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า  คณะฯควรมีการทบทวนจำนวนกระดาษที่จัดสรรให้แต่ละหน่วยงานย่อยต่อปี  รวมถึงการประชาสัมพันธ์การให้บริการการผลิตเอกสารแก่บุคลากรในวงกว้างต่อไป

คำสำคัญ  ประสิทธิผล   การประหยัด   คณะสหเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร

ที่มา :  น.ส.ขวัญเรือน แดงเรือ  นักวิชาการพัสดุ  ตีพิมพ์ใน Proceeding นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 4. 2551. 1056-1060.

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 266553เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท