เส้นทางไปสู่"วาเล่ย์"


             การเดินทางเข้าสู่ ตำบล วาเล่ย์  ในวันแรกที่ได้เข้ามาอาศัยอยู่ที่  อำเภอพบพระ  จังหวัดตาก  นั้นใครว่าเดินทางลำบากมากนั้นไม่จริงสักเท่าไรเลย  เนื่องจากเคยทำงานที่อำเภออุ้มผางมาก่อนหน้านี้แล้ว   เป็นเวลา  3  ปี  ที่หฤโหดมาก  โหดมากเพราะเหตุใดน่าหรือ  เส้นทางขึ้นภูเขาเป็นลูกๆ  แถมยังมีโค้งที่หักศอกอีกตั้ง  1,229  โค้งด้วยกัน  เวลาเดินทางขึ้นอุ้มผาง  จะต้องรับประทานยาแก้เมารถทุกครั้ง ที่จะต้องเดินทางไม่ว่าจะออกจากอำเภออุ้มผาง         หรือต้องเดินทางขึ้นอำเภออุ้มผาง  เนื่องจากเป็นคนที่เมารถเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว  แต่ที่เห็นเหมือนกันกับอุ้มผางก็คือบรรยากาศที่แสนจะหนาวเย็น ในช่วงฤดูหนาว  หรือไม่ก็มีฝนตกตลอดอาทิตย์ในฤดูฝน  อย่างที่ชาวบ้านเค้าบอกต่อๆ กันมาว่า  ฝน  8  แดด  4  คือ  ฝนตก  8  เดือน  และอีก  4  เดือนจะมีแดดออก  โดยเฉพาะฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม  จนถึงเดือนมีนาคม  คงแปลกใจกันใช่มั๊ยหละว่าทำไมเดือนมีนาคมทำไมไม่ใช่ฤดูร้อนเหมือนกับที่อื่นๆ    เพราะที่อำเภออุ้มผางกับอำเภอพบพระนั้นอยู่บนภูเขา  จึงทำให้ในเดือนมีนาและเมษายน  และช่วงเวลาประมาณ  3  ทุ่มจนถึง  6  โมงเช้าจะมีอากาศที่เย็น  แต่ช่วงเวลากลางวันอากาศจะค่อนข้างร้อนแต่ไม่ร้อนมากเท่าไร  และจะมีลมพัดตลอดเวลาจึงทำให้อากาศไม่ค่อยร้อนเหมือนกับที่อื่นๆ  ที่เล่าให้ฟังนี้เพราะมีประสบการณ์จากตัวเองกับบิดามาแล้ว  เพราะตอนที่บิดาขึ้นมาเยี่ยมที่อำเภอพบพระ  ก็บอกท่านไปแล้วว่าอากาศช่วงเดือนมีนาคม ยังคงเย็นอยู่แต่บิดาก็ไม่เชื่อเท่าไรเพราะท่านอาศัยอยู่ที่จังหวัดลพบุรี  เพราะที่นั่นร้อนมาก  แต่เมื่อขึ้นมาที่อำเภอ พบพระในครั้งนั้นจึงรู้กระจ่างแก่ใจว่าอากาศที่นี่ยังเย็นอยู่เลย  เพราะท่านไม่ได้เตรียมผ้าห่มมาด้วย  ท่านจึงชอบอากาศที่อำเภอพบพระ  อ้อลืมเล่าไปว่าตอนที่ขึ้นไปทำงานที่อำเภออุ้มผางท่านก็ได้ขึ้นไปส่งที่อำเภออุ้มผางด้วย  ท่านว่าอากาศดีแต่หนทางลำบากเหลือเกิน  ดังนั้นพอได้มาเที่ยวที่อำเภอพบพระท่านจึงชอบอำเภอพบพระมากกว่าอำเภออุ้มผาง
  ที่นี้มาเล่าเรื่องของตำบลวาเล่ย์กันบ้าง  ตำบลวาเล่ย์นั้นแรกเริ่มเดิมทีเป็นที่อาศัยของชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ซึ่งบริเวณพื้นที่จะเป็นที่ราบสูงสลับกับภูเขา และมีป่าไม้หนาแน่และต่อมาเมื่อคนไทยที่อพยพมาจากจังหวัดลำพูน ลำปาง  เข้ามาอาศัยเพื่อทำมาหากินและในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่  2 ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามาสัมปทานป่าไม้ในตำบลนี้  และเห็นว่าอากาศและบรรยากาศที่นี้คล้ายคลึงกับประเทศของตนเองมาก  จึงได้ตั้งชื่อว่า  “วาเล่ย์  “  ซึ่งแปลว่า  อ้อมกอดแห่งขุนเขา  ซึ่งที่แปลกมากคือ  ถ้าฝนตกฝั่งพม่าทางตำบลวาเล่ย์ก็จะมีฝนตกตามฝั่งพม่า  แต่ในตัวอำเภอหรือตำบลอื่นๆจะไม่มีฝนตกเลย และเมื่อถึงฤดูหนาวก็จะหนาวเย็นมากแต่ยังไม่หนาวเท่ากับอุ้มผาง  เพราะที่อุ้มผางเวลาอาบน้ำ (น้ำเย็น)  น้ำจะเย็นมากเหมือนกับเข็มมาตำที่ผิวของเราเป็นหมื่นๆเล่มด้วยกัน  แต่ที่วาเล่ย์อาบน้ำได้อย่างสบาย  จากประสบการณ์ของตนเองก็คงจะเล่าเท่านี้ก่อนแล้วพบกันในครั้งหน้านะคะ

หมายเลขบันทึก: 266464เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 10:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
หละออนบ้านใต้... โรสซ่า

ใช้แล้วครับ........ผมก้ออนึงคิดถึงบ้านวาเล่ย์ เหมือนกันครับ

ตัวกระผมเองก็เป็นคนในท้องถิ่นบ้านวาเล่ย์ ผมก็ชอบความเป็นธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของสองฝังแม่น้ำเมย ขูนเขา

และความมีน้ำใจสามัคคี ของหมูบ้านวาเล่ย์ ผมก็สนใจ เกี่ยวกับ โครงการเศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านที่ได้ดำเนิน และกลุ่มจักรเย็บผ้า และกลุ่มทอผ้า ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมากๆๆๆๆ อยากจะเห็นโครงการแบบนี้ เข้าในหมู่บ้านวาเล่ย ให้ ตลอดไป เพราะว่า หมู่บ้านวาเล่ย์ชาววาเล่ย์ใต้และชาวบ้านวาเล่ย์ จะหาเวลาว่างจากการทำงาน เพื่อหารายได้เสิอมอีกทางหนึ่ง บ้านวาเล่ย์หมู่ 2 ขอบคุณกับโครงการที่เข้ามาให้ความรู้และแนะนำ ....นะครับ

ขอคุณมากนะครับ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของ ที่มาของบ้านวาเล่ย์

( จาก หละออนบ้านใต้ )

น่าอิจฉาคนไปเที่ยวมาแล้วนะครับ ผมคงจะหาโอกาสไปเยือนสักครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท