บริบทของการเป็นนศพ. ชั้นปีที่ 4 ที่เริ่มทำงานกับผู้ป่วย


sleep and eat whenever you can.

บทความนี้ นน 2

ลูกชายคนโปรด  (เพราะมีคนเดียว)

 

ซึ่งตอนนี้โตแล้ว เป็นนักศึกษาแพทย์  ปี 5

 

ส่ง เมลล์มาฝากให้ น้องนน3  ที่กำลังเข้าเรียนปี 1 ใหม่ๆและ แม่ อ่าน

 

บอกว่า

 

ถ้า ตอนขึ้นปี 4  ทำได้แบบนี้จริง ๆ ก็จะมีคุณภาพมากขึ้นเยอะเลย 

  

บอกเพิ่มอีกว่า ถึงตอนนี้จะรู้แล้วแต่ก็ยังทำไม่ได้ 100% ตามที่เค้าบอกไว้ก็เหอะ

 

นน 2 ได้สรุป ว่า

การเรียนแพทย์ 6 ปี แบ่งง่าย  ออกเป็น 

 

ปี 1 Basic Knowledge เรียนไปเหอะ ได้ใช้งานแค่ไม่ถึง 10 %

ปี 2-3 Pre-clinical knowledge ซึ่งชีวิตคือการเรียน ๆ และสอบ ๆ จุดประสงค์คือปูพื้นฐานความรู้แพทย์ทั้งหมด

ปี 4-5 Clinical knowledge & Skill เรียน และ เริ่มดูแลคนไข้ จุดประสงค์คือประยุกต์ความรู้มาใช้กับผู้ป่วย เรียนหนักขึ้น สอบมากขึ้น

ปี 6 Externship ทำงานให้ได้เหมือนหมอคนนึง แต่มีอาจารย์กำกับทุกครั้งที่ทำ

 

บทความนี้อยากให้น้อง รู้ถึงบริบทของการเป็นนศพ. ชั้นปีที่ 4 ที่เริ่มทำงานกับผู้ป่วย ซึ่งก็คือ Clinical knowledge & Skill

หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ให้มองเห็นภาพตัวเองตอนที่เรียนหมอปี 4-5 นั่นเอง

 

ฝากไว้เป็นการบ้าน พี่เขาแอบคาดหวังว่าถ้าน้อง อ่านจบแล้วจะต้องได้

 

1. "อารมณ์" ของการขึ้นมาเรียนปี 4

2. "อารมณ์" ของการเรียนแผนกศัลยกรรม "Surgical Culture" 

3. ภาษาอังกฤษ เล็ก ๆ น้อย ๆ

 

   

 

Question

I will soon be entering my fourth year of medical school, and I just learned that I've been assigned to a surgical rotation of which the surgeons are known to have very high standards and the failure rate for students is very high. However, I've decided not to swap rotations. How should I prepare myself for it?

 

Response from Ted Melnick, MD
Attending Physician, Department of Emergency Medicine, North Shore University Hospital, Manhasset, New York

 

The surgical culture is very demanding and can intimidate the unprepared student. I remember struggling through my third-year surgical clerkship and being quite apprehensive of my required fourth-year surgical subinternship. However, I was surprised to discover that my third-year clerkship had prepared me well for the subinternship.

As a fourth-year student, the skills that you have gained over the previous year can make you a valued member of the patient care team. The expectations of a final-year medical student are much different from those of the inexperienced, timid third-year student. You have a different knowledge base; you hopefully have some procedural skills; and you understand the workings of the hospital. The mere fact that you are already thinking ahead and have decided to accept the challenge of a more "difficult" rotation will put you in a better position for success.

The overwhelming amount of work expected of the surgical resident can be lightened by a helpful, hardworking fourth-year medical student. If you are able to reduce a resident's workload, he or she will likely think positively of you and will provide positive feedback to the clerkship director.

Here are a few guidelines to follow in order to survive, pass, and maybe even flourish on your fourth-year surgical rotation.

First, arrive on time. Surgical rounds occur as a team. If you are late, the whole team will be waiting for you and will be unable to round on time. In fact, if you arrive a few minutes early every day, you will stand out as someone who understands teamwork and is there to help.

Second, don't draw negative attention to yourself. Especially in the operating room (OR), don't speak unless spoken to. Although this sounds authoritarian, remember that surgery requires incredible dexterity and concentration. Asking a question at an inopportune time in the OR may distract the surgeon at a critical point in the procedure that he or she is performing. This also holds true on rounds. Time is limited there, so the team is trying to accomplish as much as possible as efficiently as they can. If you draw attention to yourself on rounds for anything but contributing to getting the job done, you may leave a bad impression.

Third, help with floor work. An overworked surgical intern will sing your praises to his or her seniors if you help with some of the floor work, allowing him or her to get home a little earlier or to spend more valued time in the OR. You may want to read and carry The Surgical Intern Pocket Survival Guide.[1] This small reference offers all sorts of pearls that will come in handy while taking care of routine floor work and charting.

Fourth, familiarize yourself with the book, Surgical Recall.[2] This book is indispensable. It provides just about any question that a surgeon has ever used to "pimp" a medical student. Find out which procedures you will be scrubbing for the next day, and read that section beforehand. You should also review anatomy relevant to the procedure in your first-year anatomy textbook. You can even go the extra mile by familiarizing yourself with the procedure in a surgical textbook. To the attending and senior residents, you will appear prepared, interested, and dedicated to the patient.

Fifth, sleep and eat whenever you can. This statement is true throughout your clinical years in medical school. However, it is even more important on time-intensive rotations, such as surgery. A little nutrition and rest can make you much happier and more productive.

http://www.medscape.com/viewarticle/703171?src=mp&spon=25&uac=134778PN

 

ดิฉันเห็นด้วย ทุกข้อเลย ขอเพิ่มว่า 

การเตรียมการทั้ง 5 ข้อนี้  ใช้ได้กับการเรียนแพทย์ทุกแผนก 

 

1. มาก่อนเวลา มาให้ทันทีม ทุกวัน (อันนี้ อาจารย์ พัชราพร แห่งแผนก กุมาร รพ เชียงรายจะเน้นย้ำมาก  และตัวเธอเองก็ได้แสดงให้ เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ นักศึกษา ตลอดมา)

2. ไม่ใช้เวลาที่มีน้อยของทีมมา เป็นของตัวเอง มากไป

3. ช่วยงานระดับพื้นฐาน floor work การดูแลผู้ป่วยจะสมบูรณ์มากขึ้นจากผลงานของนักศึกษาตัวเล็ก ตัวน้อย นี่ แหละค่ะ

4..ยึดความรู้ทฤษฎี คู่มือ หนังสือ เป็นหลัก ไม่มั่ว 

 แต่ที่ชอบมากๆที่สุด คือ ข้อสุดท้าย 

  

sleep and eat whenever you can.

หมายเลขบันทึก: 265579เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2009 05:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • สวัสดีค่ะ คุณหมอ
  • นับเป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากๆ
  • สำหรับว่าที่นิสิตแพทย์ทั่วไป
  • ขอบคุณเรื่องราวดีดีค่ะ

กราบสวัสดี เจ้า คุณหมอ จากบันทึกนี้ ทำให้ติดตามอ่าน เรื่องราวของ ตระกูล น อีกหลายบันทึก ทีเดียว ครอบครัวคุณหมอ น่ารักจังค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณครูแป๋ม และ คุณครูใหม่ บ้านน้ำจุน

ที่กรุณามา ให้ ความคิดเห็น ให้ กำลังใจ และความปรารถนาดี

ขอบคุณจริงๆ

หญิง องค์กรผู้บริโภค

ชื่นชมนะคะที่ทำให้รู้รายละเอียดของหลักสูตร
อ่านแล้วติดใจอยู่อย่างคะ
ไม่มีหลักสูตรตรงไหนที่บ่งบอกถึงการสอดแทรกสอนคุณธรรมให้กับบุคลากรเหล่านี้เลย

อย่างน้อยน่าจะเน้นวิชาประสบการณ์ชีวิตของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส
ระยะเวลาที่ผ่านมาเราละเลยสิ่งต่างเหล่านี้
ในวงการศึกษาเขายังมีวิธีการสอดแทรกหลักคุณธรรมในหลักสูตร
ผู้ที่จะทำหน้าที่แพทย์นี้ไหนๆก็บอกว่าตนเองเป็นผู้เสียสละแล้ว
ก็ควรได้รับการทดสอบคุณธรรมอย่างเข้มข้นคะ
อย่าเกี่ยงงอนคะ ถ้าปากบอกว่าเสียสละจริง

 

 

 

ร่วมกันสร้างหมอใหม่ให้มีใจคุณธรรม

เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของ คุณ หญิง องค์กรผู้บริโภค ในความเห็นดังกล่าวทุกประการ

ขอบคุณ ทั้งสองท่านที่ให้ คำแนะนำ

โรงเรียนสอนแพทย์ ทั้งหลายคงทราบกันทุกแห่งว่าผลผลิตที่ได้ ยังอ่อนด้อย เรื่องนี้จริง

คนที่มีคุณ ธรรมจริยธรรม ไม่เอาเปรียบผู้ด้อยโอกาส แทบจะเรียก ได้ว่า เกิดในคนคนหนึ่งได้ ต้องจากการเลี้ยงดู ในวัยเด็กที่ดี ต่อเนื่องมาจนเป็นวัยรุ่น เป็นผู้ใหญ่

เหล่านี้ถูกสั่งสมมานาน เมื่อมาเจอในนักเรียนแพทย์ โตๆ แล้ว ตามทฤษฎี อาจแก้ไม่ได้ หรือแก้ได้ยาก

อาจต้องคิดแก้ ตั้งแต่คัดคนเรียนอย่างไร ให้ดี มีคุณ ธรรมจริยธรรมที่ดี ให้มาเรียนแพทย์

ซึ่งน่าจะง่ายกว่ามาดัดทีหลัง ดัดไปก็ลุ้นไป แล้วแต่โชควาสนา ว่าจะผลลัพธ์ดีหรือไม่

ตอนนี้เราคัดโดย คะแนนสอบ ใครสอบได้ คะแนนสูง มีสิทธิเลือกก่อน

เหมือนแก้ ตัวนะคะ แต่ขอน้อมรับไว้คำแนะนำของอาจารย์ ทั้งสองท่านไว้ เพราะทราบว่าเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ เพื่อไป พยายามปรับปรุงต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท