สรุปจากการประชุมเตรียมการประเมินคุณภาพภายใน
(IOQ) และการประเมินคุณภาพภายนอกโดยสมศ. รอบสอง (EQA)
เมื่อวันอังคารที่ 25 เม.ย. 49 ณ ห้องสัมมนา 2 คณะศึกษาศาสตร์
สามารถสรุปแนวทางการจัดทำ SAR part B ของภาควิชา
ดังนี้
SAR
part B เป็นการประเมินที่เน้นผลลัพธ์
ใช้เพื่อการประเมินภายนอก
เป็นการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา
โดยการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.
การประเมินรายมาตรฐาน
1.
ประเมินตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน
คะแนนเต็ม 5 คะแนน
(3+1+1) โดยใช้เกณฑ์การประเมินดังนี้
1.1 การประเมินอิงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของแต่ละตัวบ่งชี้
คะแนนเต็ม 3 คะแนน
ตัวอย่าง การประเมินตัวบ่งชี้ที่
ร้อยละของอาจารย์ประจำที่มีวุฒิปริญญาเอกหรือเทียบเท่า
สำหรับกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิตและการวิจัย เกณฑ์ผ่านขั้นต่ำของตัวบ่งชี้นี้
คือร้อยละ 60 วิธีการให้คะแนนกำหนดดังนี้
1
คะแนน
|
2
คะแนน
|
3
คะแนน
|
<
ร้อยละ 40
|
ร้อยละ
41-59
|
³ ร้อยละ
60
|
ในการนี้
จะต้องดำเนินการให้คะแนนจนครบทุกตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน
1.2
การประเมินอิงพัฒนาการ
โดยพิจารณาจากผลประเมินภายนอกครั้งที่ 1 และผลประเมินภายนอกครั้งที่ 2
ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2 สูงกว่าผลการประเมินครั้งที่ 1 ไม่ต่ำกว่า
1 ระดับ จะถือว่ามีพัฒนาการ เช่น ผลการประเมินครั้งที่ 2
อยู่ในระดับดีในขณะที่ผลการประเมินครั้งแรกอยู่ในระดับปรับปรุงหรือพอใช้
หรือถ้าผลการประเมินอยู่ในระดับเดิมโดยผลประเมินทั้งสองครั้งต้องไม่ต่ำกว่าระดับดี
ก็จะถือว่ามีพัฒนาการด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
ในการให้คะแนนนั้น
ถ้ามีพัฒนาการให้ 1 คะแนน
ถ้าไม่มีพัฒนาการให้ 0 คะแนน ถ้าผลการประเมินครั้งที่ 2
อยู่ในระดับดี
หรือดีมากก็สามารถสรุปได้ว่ามีพัฒนาการโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผลการประเมินครั้งที่
1 ในกรณีที่ไม่มีผลการประเมินครั้งที่ 1
และจำเป็นต้องใช้ผลเปรียบเทียบกับผลการประเมินครั้งที่ 2
ให้ใช้วิธีการประเมินย้อนหลัง (Expost facto technique)
ในการตัดสินพัฒนาการของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในตัวบ่งชี้เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่แบ่งเป็น
5 ระดับ สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินรอบแรก
|
ผลการประเมินรอบที่สอง
|
การมีพัฒนาการ
|
ปรับปรุง
|
ปรับปรุง
|
ไม่มี
|
ปรับปรุง
|
กำลังพัฒนา
|
มี
|
ปรับปรุง
|
พอใช้
|
มี
|
ปรับปรุง
|
ดี
|
มี
|
ปรับปรุง
|
ดีมาก
|
มี
|
กำลังพัฒนา
|
ปรับปรุง
|
ไม่มี
|
กำลังพัฒนา
|
กำลังพัฒนา
|
ไม่มี
|
กำลังพัฒนา
|
พอใช้
|
มี
|
กำลังพัฒนา
|
ดี
|
มี
|
กำลังพัฒนา
|
ดีมาก
|
มี
|
พอใช้
|
ปรับปรุง
|
ไม่มี
|
พอใช้
|
กำลังพัฒนา
|
ไม่มี
|
พอใช้
|
พอใช้
|
ไม่มี
|
พอใช้
|
ดี
|
มี
|
พอใช้
|
ดีมาก
|
มี
|
ดี
|
ปรับปรุง
|
ไม่มี
|
ดี
|
กำลังพัฒนา
|
ไม่มี
|
ดี
|
พอใช้
|
ไม่มี
|
ดี
|
ดี
|
มี
|
ดี
|
ดีมาก
|
มี
|
ดีมาก
|
ปรับปรุง
|
ไม่มี
|
ดีมาก
|
กำลังพัฒนา
|
ไม่มี
|
ดีมาก
|
พอใช้
|
ไม่มี
|
ดีมาก
|
ดี
|
มี
|
ดีมาก
|
ดีมาก
|
มี
|
1.3 การประเมินประสิทธิผลตามแผนของสถาบัน
โดยพิจารณาจากรายงานประเมินสัมฤทธิผลของแผนหรือรายงานประเมินตนเอง
ถ้าผลการประเมินพบว่า
ตัวบ่งชี้นั้น ๆ บรรลุผลตามเป้าหมายของแผนของสถาบันให้ 1 คะแนน
ถ้าไม่บรรลุตามเป้าหมายของแผนให้ 0 คะแนน
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา
ได้ชี้แจงไว้ว่าหากสมศ. ยังไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้
ให้ยึดแนวทางดังนี้
(ร่าง)
เกณฑ์การประเมิน Part B (กรณีที่ สมศ.
ยังไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำของตัวบ่งชี้)
การประเมินแต่ละตัวบ่งชี้ คะแนนเต็ม 5
*1. ถ้ามีข้อมูลตัวบ่งชี้นั้น ๆ ที่เชื่อถือได้ ได้ 3 คะแนน
ถ้าไม่มีได้ 0 คะแนน
ถ้ามีแต่วิธีการได้มาของข้อมูลดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือให้ลดคะแนนลงจาก
3 เป็น 2, 1 หรือ 0 ตามวิจารณญาณของคณะกรรมการประเมิน
*2. ถ้ามีร่องรอยหรือหลักฐานที่แสดงว่าตัวบ่งชี้นั้น ๆ
มีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นอย่างน่าพอใจ ได้1 คะแนน ถ้าไม่มีได้ 0
คะแนน
*3. ถ้ามีร่องรอยหรือหลักฐานที่แสดงว่าตัวบ่งชี้นั้น ๆ
บรรลุตามเป้าหมายในแผนของตนเอง ได้1คะแนน ถ้าไม่มีได้ 0
คะแนน
|
หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค
อ.ศุภวิทู สุขเพ็ง
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย ฐิติพงศ์ แก้วเหล็ก ใน รังสีเทคนิค มน.
ขอบคุณมากค่ะ ทั้ง อ.longman (อาจารย์ฐิติพงศ์ แก้วเหล็ก)และ อ.กอล์ฟ (อาจารย์ศุภวิทู สุขเพ็ง : หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค)
เพราะเมื่อ วันที่ 25 เม.ย. 49 ดังกล่าว ดิฉันติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ทราบว่า ท่านรองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันฯ (อาจารย์ ดร. ศิริลักษณ์ ธีระภูธร) พาหัวหน้าภาคทุกท่านไปฟังด้วย ทำให้ได้ทราบกันอย่างถ้วนทั่ว และทำให้ดิฉันเองพลอยได้รับทราบอย่างละเอียดเช่นนี้อีกครั้ง ดีจังเลย !!
อ้อ! ตามที่อาจารย์สรุปไว้ตอนต้น ดังนี้ SAR part B เป็นการประเมินที่เน้นผลลัพธ์ ใช้เพื่อการประเมินภายนอก เป็นการประเมินคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา โดยการรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.
ดิฉันขอทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกนิ๊ดนะคะตรงคำว่า ใช้เพื่อการประเมินภายนอก นี่ จริงๆ แล้วก็ถูก เพียงแต่
การประเมินคุณภาพภายในที่เราทำกันเป็นประจำทุกปี SAR part B ก็ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินคุณภาพภายในดังกล่าวด้วยค่ะ
ความหมายและความแตกต่างของ การประกันคุณภาพภายใน และ การประกันคุณภาพภายใน เป็นดังนี้ "Click"