Silent Spring "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบเหงา"


...หนังสือเล่มนี้ถือเป็นจุดกำเนิดของขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ทรงพลังมาจนปัจจุบัน...

แมลงมันจูเนียร์ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง มาลาเรียภัยมืดที่โลกลืม ที่เขียนโดยคุณยงยุทธ ยุทธวงศ์และคณะ  ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ   ได้อ่านในหัวข้อ ป่า บ้าน ยุงและคน- ปัญหามาลาเรียระดับสิ่งแวดล้อม   ในรายละเอียดกล่าวถึงหนังสือ  Silent Spring "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบเหงา" ของผู้เขียน ราเชล คาร์สัน  กล่าวถึงผลกระทบของการใช้สารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมโลก  โดยเฉพาะปัญหาการใช้ ดีดีที ในการควบคุมยุงพาหะนำไข้มาลาเรีย ว่าเป็นบทเรียนราคาแพง พราะ ดีดีที เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์สูงในการกำจัดยุงและแมลง การใช้อย่างต่อเนื่องหลายๆ ปี ทำให้ยุงมีพฤติกรรมดื้อและต่อต้านสารเคมี  ปัญหาที่สำคัญคือ ดีดีที มีฤทธิ์ตกค้างในสภาพแวดล้อม เพราะเป็นสารที่มีความอยู่ตัวสูงสลายตัวได้ยาก สามารถสลายตัวได้ดีในไขมัน โดยจะเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อที่มีไขมันสูงของสัตว์ต่างๆ   โดยในธรรมชาติสัตว์และพืชมีความเชื่อมโยงกันโดยห่วงโซ่และสายใยของอาหาร กล่าวคือมีการกินกันเป็นทอดๆ  เช่น นก ซึ่งอยู่ปลายห่วงโซ่และสายใย โดยกินแมลงและสัตว์อื่น (ที่อาจมีสารดีดีทีสะสมอยู่ในร่างกายแล้ว) มีผลทำให้เปลือกไข่นกเปราะบาง จนไม่สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้    จากข้อความที่กล่าวจะเห็นได้ว่า เมื่อไข่ฟักไม่ได้ จำนวนนกในธรรมชาติก็ต้องลดลง ห่วงโซ่อาหารจะมีการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติจะไม่มีความสมดุลย์ดังเดิม    ถึงแม้ ดีดีที จะเป็นสารเคมีที่ได้ถูกยกเลิกในการใช้มานานหลายปีแล้ว แต่สารเคมีชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในปัจจุบันก็มิใช่จะเป็นทางออกที่ดีในการควบคุมไข้มาลาเรียได้ดี การควบคุมไข้มาลาเรียให้ได้ดีและยั่งยืน พึ่งควบคุมที่พฤติกรรมของบุคคลแต่ละคนมากกว่า ให้ทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ตนเองถูกยุงก้นปล่องกัด  คือการตัดวงจรชีวิตเชื้อไม่ให้มีการผ่านเข้าสู่ตัวคนและพัฒนาเป็นเชื้อระยะติดต่อและก่อโรคต่อคนได้

 

หมายเลขบันทึก: 26405เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2006 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทความเรื่องราวของการควบคุมโรคของมนุษย์ที่น่าสนใจทีเดียว  และให้แง่คิดว่า การเป็นอยู่ของคนเราอย่างปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นั้นน่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง พึ่งพาธรรมชาติ อยู่กับธรรมชาติย่อมเป็นแนวทางที่ยั่งยืนกว่า

เพิ่งจะได้ยินข่าวเมื่อเช้านี้เอง ถึงการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่พื้นที่ จ.พิจิตร  ฟังแล้วก็ทั้งสงสารประชาชนและเห้นใจเจ้าหน้าที่นะ แต่ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่หน้าจะเป็นฝ่ายที่มีศักยภาพในการรณรงค์แก่ประชาชนมากกว่า เพราะเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจมากกว่าประชาชน  บางทีความรู้ความเข้าใจของประชาชนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเขาเป็นอย่างนั้น และยังเกิดการแพร่ระบาดโรคอยู่ อาจเป็นเพราะไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องก็ได้  หรือเขาอาจไม่มีแรงจูงใจในการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง   และขอให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในฐานะประชาชนคนหนึ่ง

 

ขอบคุณคุณ dee dee นะจ๊ะ จะเก็บข้อคิดเห็นไปคุยกับผู้ใหญ่ดู ตอนนี้พื้นที่พิจิตรมีปัญหาเรื่องไข้เลือดออกจริงๆ   จนกลายเป็นโรค endermic area ไปแล้ว  แต่ในทางกลับกันยิ่งเป็นโรคท้องถิ่นก็น่าจะรู้ทางหนีทีไล่ของการควบคุมโรคให้ชัดเจนได้แล้ว แต่ผลปัจจุบันถือว่ายังไม่น่าพอใจนะ   คงต้องลงมือ ร่วมใจกันอีกเยอะ  จะฝากงานวิชาการ ศตม. หาวิธีการทำงานเป็นกรณีเร่งด่วนให้ค่ะ
อยากรู้รายละเอียดของฤดูใบไม้ผลิที่เงียบเหงา  อยากอ่านเอง ฉบับภาษาไทยมีมั้ยคะ

มีค่ะ  เล่มละ 100 บาท ซื้อที่ศูนย์หนังสือ สกว.ภาคเหนือ  ไม่แน่ใจว่ามีขายที่ไหนอีกบ้าง  ลองหาดูตามร้านขายหนังสือซีเอ็ด  ดอกหญ้าอะไรประมาณนี้ ดูนะค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท