ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทั้งที...อยู่ๆ มีเอี่ยวไปละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ซะแล้ว


ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์

เรื่องนี้เป็นคำถาม-คำตอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญารวบรวมไว้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ รวมถึงห้องสมุด อาจต้องไปมีเอี่ยวด้วย งานนี้คงต้องหนักไปทางเจ้าหน้าที่พัสดุ  กรรมการตรวจรับ และเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์  เพราะในการจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจผิดต่อกฏหมายลิขสิทธิ์ในมาตรา 31 ที่ว่า  "ผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือมีเหตุควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์"

 

1)  ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์  ข้อ (9) จากหน้า 25-26  ยกเว้นสำหรับการจัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บรักษาไว้สำหรับการอ้างอิง หรือค้นคว้าเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน เช่น ห้องสมุดเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) จัดทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จำนวนเล็กน้อยรวบรวมไว้ เพื่อเป็นข้อมูลให้สาธารณชนใช้ค้นคว้า โดยไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร เป็นต้น

 

2) การลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาเกินกว่าจำนวนเครื่องที่ได้รับอนุญาตในสัญญาอนุญาต 

 เนื่องจากเงื่อนไขการใช้จะต้องเป็นไปตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและสิทธิ์ในการทำซ้ำเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของเจ้าของสิทธิ์ การลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาเกินกว่าจำนวนเครื่องจึงถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

 

3) ผู้จัดซื้อจะสังเกตโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปลอม ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างไร

ในบางกรณีผู้ซื้อสามารถตรวจสอบได้ง่ายจากบรรจุภัณฑ์ภายนอกของโปรแกรมคอมพิวเตอร์  แต่บางกรณีก็ทำได้ยาก  แต่มีจุดสังเกตบางประการสำหรับผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้

-          โปรแกรมคอมพิวเตอร์ราคาถูกเกินความเป็นจริง

-          ไม่มีบรรจุภัณฑ์ อุปกรร์ คู่มือการใช้งาน และไม่มีใบอนุญาต

-          บรรจุภัณฑ์ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นสีซีด หรือเป็นสำเนา

-          ในแผ่นซีดีเพียงหนึ่งแผ่นมีการรวบรวมโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ผลิตหลายรายเข้าด้วยกัน ซึ่งตามปกติไม่ได้มีการรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน เป็นต้น

 

4) การที่ผู้ขายเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เสนอการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ โดยไม่คิดมูลค่า (แบบว่าแถมฟรี) เชื่อถือได้หรือไม่ อย่างไร

                กรณีที่ผู้ขายเสนอติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ผู้ซื้อเพื่อเป็นการสมนาคุณแก่ลูกค้านั้น ผู้ซื้อพึงระวัง เพราะส่วนใหญ่มักจะเป็นการลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หากผู้ขายยื่นข้อสมนาคุณดังกล่าว ผู้ซื้อควรเรียกให้ผู้ขายมอบสัญญาอนุญาตการใช้งานโปรกแกรม (License) ให้แก่ผู้ซื้อด้วย หากผู้ขายปฏิเสธหรือไม่มีสัญญาอนุญาตส่งมอบให้แก่ผู้วื้อ ผู้ซื้อไม่ควรรับข้อเสนอการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้นได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย

หมายเลขบันทึก: 263689เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นสิ่งที่พึ่งระวัง ดีมากเลยครับ ที่ใครต่อใครลืมนึกถึงเรื่องนี้  หากมีการร้องเรียนก็น่าเป็นห่วง  ที่แน่ๆเจ้าโปรแกรมปฏิบัติการนั่นแหละ เจ้าตัวที่ให้ใช้ฟรีๆก็ไม่มีคนสนใจ  เพราะใช้เจ้าตัวที่ผิดกันทั้งบ้านทั้งเมือง  ช่วงหลังนี้เวลาลงโปรแกรม(เถื่อน)แล้วต่อเนตด้วยจะถูกตรวจจับด้วยโปรแกรมมาบล็อกการทำงานให้รำคาญแต่มือโปร(มือโจร)ก็เก่งคิดโปรแกรมมาไล่ไปจนได้  ขอบพระคุณที่นำสิงดีดีมาแบ่งปัน ขอให้โชคดีครับ

ได้ข้อมูลมา...ก็บอกต่อกันค้า

ท่าน อ.ประจักษ์ สบายดีนะคะ

แวะมาอ่านข้อมูลดีดีค่ะ..สบายดีนะคะ

ขอบคุณการทักทายจาก ศน.add P

นะคะ
ปล. เอารูปงูเขียวมาให้วัดสายตาอีกแล้ว...หุหุ คราวนี้รู้เเลยว่าตุ่นหน่ะแก่แล้ว

เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าคิดมากเลยครับ ในเรื่องของการละเมิดต่างๆ ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อีกหนึ่งแนวทางการแก้ไข คือ การหันมาให้ความสนใจกับ OpensourceSoftware หรือ OSS ซึ่งจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ครับ

ขอบคุณคำแนะนำสำหรับ OSS ที่น้อง first นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท