วิธีการและขั้นตอนจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น...เวทีAARตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น(3)


กระบวนการกำหนดเป้าหมายและ ตัวชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น มีกระบวนการ / ขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ 6 กระบวนการ

จากการเข้าร่วมเวทีAARตัวชี้วัดความสุขชุมชนในครั้งนี้นอกการมีส่วนในการให้คำปรึกษาการออกแบบเวทีลปรร.แล้ว  ผมยังได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการจริงของชุมชนในพื้นที่  ในเวทีผมจึงได้สรุปการเรียนรู้ของผมได้ว่า  กระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นมีขั้นตอน กระบวนการที่สำคัญดังนี้

                          

การวิเคราะห์ปัญหาและทุนทางสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น

            

          การวิเคราะห์ปัญหาและทุนทางสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น   “เป็นกระบวนการพัฒนาระบบการตั้งเป้าหมายการพัฒนา  การกำหนดวาระ/แนวทางการพัฒนาของชุมชน  การกำหนดผลลัพธ์การพัฒนา    วิธ๊การได้มาซึ่งข้อมูลการวัดและจัดระบบการติดตามประเมินผลด้วยกระบวนการของชุมชน ที่สามารถจะพิสูจน์ความสำเร็จของกิจกรรมการพัฒนาและเปรียบเทียบเป้าหมายความสำเร็จได้ด้วยตนเอง ทำให้มีความสามารถในการบริหารจัดการตัวเองได้ดีขึ้น  สามารถเกิดการเรียนรู้จากกระบวนการทำงานที่ผ่านมาและสามารถสื่อสารเชื่อมโยงกับภายนอกไห้ด้รับรู้  เข้าใจ  ให้การยอมรับรวมทั้งสามารถเข้ามาสนับสนุนชุมชนได้ตรงกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่นและมีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิด "ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของผู้คนในชุมชนท้องถิ่น"

 การวิเคราะห์ปัญหาและทุนทางสังคม เพื่อกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น   มีกระบวนการ / ขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ 6  กระบวนการ ดังต่อไปนี้

1.การศึกษาวิเคราะห์ชุมชน  เป็นการประเมินการพัฒนาในปัจจุบันของชุมชนโดยการวิเคราะห์ปัญหาและทุนทางสังคม  ประสบการณ์งานพัฒนารวมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชนในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้

 

            

      - ประวัติความเป็นมา(ประวัติศาสตร์ชุมชน) และบริบทของพื้นที่

      - การวิเคราะห์ระบบภูมินิเวศน์วัฒนธรรม และทุนทางสังคม / ผู้รู้ องค์ความรู้

      - การวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคม / สถาบันท้องถิ่น / โครงสร้างผู้นำ / ผู้นำ / ผังเครือญาติ 

      - การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การทำมาหากิน / ฐานทรัพยากรของชุมชน 

- ประสบการณ์งานพัฒนา / กลุ่มองค์กรชุมชน / ศูนย์การเรียนรู้ / รูปธรรมความสำเร็จการพัฒนา 

       - การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ความต้องการในการพัฒนา 

- การวิเคราะห์ระบบการเรียนรู้ของชุมชน / การพัฒนาฐานข้อมูล / ผลกระทบด้านต่างๆ จากภายนอกที่มีต่อชุมชน ทั้งด้านบวกและด้านลบ

- การเชื่อมโยงเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนกับขบวนชุมชนอื่นๆ

      - การวิเคราะห์บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาท้องถิ่นและการเชื่อมโยงกับภาคีท้องถิ่น   

      - การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อชุมชน

2. กำหนดเป้าหมายหรือทิศทางการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น และการกำหนดวาระการพัฒนาของชุมชน 

3. การจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและวิธีการดำเนินงานที่สำคัญ  รวมทั้งการระบุแหล่งที่มาของข้อมูลตัวชี้วัดเพื่อการวัดผล  ทั้งนี้ในการจัดทำตัวชี้วัดนี้ขบวนชุมชนอาจต้องการจัดเวทีหมุนเวียนรายชุมชน ในลักษณะ"เวทีประชาคมหมู่บ้าน"เพื่อการสื่อสารและสร้างการยอมรับร่วมกันแล้วสรุปเป็นตัวชี้วัดร่วมของคนทั้งตำบลและจัดเวทีรวมเพื่อเชื่อมโยงกับภาคีการพัฒนาในพื้นที่

 

             

4. การกำหนดวิธีการได้มาซึ่งข้อมูล ตัวชี้วัด  ว่าข้อมูลนั้นได้มาอย่างไร  ทำอย่างไรจึงจะมีข้อมูลสนับสนุนการวัดผลอย่างต่อเนื่องได้

5. การจัดระบบสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาของกลุ่มองค์กรชุมชนหรือเครือข่ายองค์กรชุมชนตามแผนงาน  ให้บรรลุผลตามตัวชี้วัด

6. การจัดระบบการติดตาม / ประเมินผลภายในตามตัวชี้วัดเพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด ทบทวนผลการดำเนินงานที่ชุมชนดำเนินการว่ามีกิจกรรมใดที่ทำเพื่อตอบสนองความต้องการ    มีการจัดเก็บข้อมูล  บันทึกข้อมูลจากการติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อใช้เปรียบเทียบและประเมินผลและการจัดทำรายงานผล  เสนอผลต่อชุมชน / ผู้เกี่ยวข้อง/ภาคีการพัฒนารวมทั้งการสรุปบทเรียน(AAR)และการสรุปเป็นชุดองค์ความรู้เชิงประสบการณ์เพื่อการขยายผลการดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนต่อไป

 

                   

  เป้าหมายสำคัญของคณะกรรมการสภาองค์กรตำบลเลือกในการจัดทำเรื่องเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา   ก็ด้วยความมุ่งหวังที่จะทำให้ประชาชน  "อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน"ในลักษณะการเสริมสร้างความสุขมวลรวมของชุมชนท้องถิ่นให้  เป็นชุมชนแห่งความดีงาม   เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็ง(มีความสามารถ)   และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข    

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 263669เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2009 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท