การจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก....เวทีAARตัวชี้วัดความสุขชุมชนท้องถิ่น(1)


ตัวชี้วัดความสุข ตัวชี้วัดความดี . กระบวนการจัดทำแผนที่คนดี-ความดี(Human Mapping) หรือที่บ้านเลือกเรียกว่า กระบวนการค้นหาและสร้างการยอมรับความดีของคนและชุมชนด้วยความชื่นชม

วันนี้(26พ.ค.52)ผมเดินทางไปเข้าร่วมเวทีสรุปบทเรียน (AAR)การจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นตำบลบ้านเลือกของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก  อ.โพธาราม  จ.ราชบุรี  โดยทางสภาฯได้เรียนเชิญท่านอาจารย์ไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม  ไปร่วมเวทีในครั้งนี้ด้วย

                            

สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ย. 49  แต่ได้จดแจ้งจัดตั้งเป็นสภาองค์กรชุมชนตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน ปี พ.ศ. 2551  เมื่อ 17  ส.ค. 51 มีกลุ่มองค์กรชุมชนในตำบลที่ผ่านการรับรองแล้ว  125 กลุ่ม  ทั้งนี้กระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของสภาฯได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่  20  ต.ค. 50

สภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้แนวทางการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวม มาจากสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี  ซึ่งสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือกได้เคยเดินทางไปศึกษาดูงานมาก่อนตั้งแต่ปี 50  และวันนี้คุณศิวโรจ  จิตนิยม  ประธานที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนตำบลหนองสาหร่ายก็มาร่วมเวทีด้วย(ตอนไปดูงานคุณศิวโรจ  จิตนิยม เป็นประธานสภาฯ)  ที่ตำบลหนองสาหร่าย  เรียกว่ากระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความดี แต่ตำบลบ้านเลือกเรียกกระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น  ทั้งนี้เนื้อหาสาระของตัวชี้วัดทั้ง 2 ตำบลไม่ต่างกันมาก

                     

กระบวนการจัดทำตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นของสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก  เริ่มด้วยสมาชิกสภาฯได้มีการสำรวจค้นหาสิ่งที่เป็นความภาคภูมิใจของชุมชน(ทุนทางสังคม)  ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น  กระบวนการจัดทำแผนที่คนดี-ความดี(Human Mapping) หรือที่บ้านเลือกเรียกว่า กระบวนการค้นหาและสร้างการยอมรับความดีของคนและชุมชนด้วยความชื่นชม และสำรวจปัญหาสำคัญของชุมชน (หรือความทุกข์/ความเสียใจของชุมชน)  แล้วจึงมาร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งการกำหนดรุปธรรมความสำเร็จการพัฒนา เป็นตัวชี้วัดความสุขมวลรวมของชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล  ทั้งนี้สภาได้จัดเวทีสัญจรไปทั้ง 9  หมู่บ้านได้ให้การรับรอง  แล้วจึงมาสรุปในที่ประชุมของสภาฯให้เป็นตัวชี้วัดความสุขที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันของคนทั้งตำบล

                    

 จากเวทีสรุปบทเรียนวันนี้พบว่าสภาฯตำบลบ้านเลือกพอใจกับความก้าวหน้าการดำเนินงานเมื่อมีการติดตามผลความก้าวหน้าจากตัวชี้วัดความสุขมวลรวมทั้ง  9 ด้าน พบว่ามีความก้าวหน้าที่ชัดเจนหรือมีผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นชัดเจน  5 ตัวชี้วัด อีก 4 ตัวชี้วัดยังไม่น่าพอใจ  สภาฯจึงหาทางแก้ไขโดยเฉพาะการพํฒนาภาวะผู้นำในการเสริมสร้างความสุขชุมชนท้องถิ่นนี้ทางสภายังไม่ได้มีการดำเนินงานอย่างเป็นกระบวนการ ต้องคิดกระบวนการจัดเรียนรู้เรื่องนี้ให้ชัดโดยใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือหนุนเสริมการเรียนรู้ในเรื่องนี้  และที่สมาชิกสภาฯพอใจเป็นพิเศษจากการAAR คือการที่ได้ค้นพบสิ่งที่น่าภาคภูมิใจร่วมกันของคนในชุมชน หรือการได้ค้นพบของดีของคนบ้านเลือก โดยกระบวนการค้นหาความดีด้วยความชื่นชม  หรือกระบวนการจัดทำแผนที่ความดีของชุมชน ซึ่งชาวชุมชนบ้านเลือกพบว่าพวกเขามีความดีที่เป็นความภาคภูมิใจและที่เป็นที่ยอมรับร่วมกันความดีด้วยความชื่นชมระดับตำบลทั้งหมด10 เรื่องด้วยกันครับ

                  

หมายเลขบันทึก: 263615เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท