ทำไมปอดผู้หญิงบอบบางต่อบุหรี่มากกว่าผู้ชาย


 

...

ผลการวิจัยพบว่า ปอดของผู้หญิงที่สูบบุหรี่จะเสื่อมสภาพเร็วกว่าผู้ชาย ทั้งๆ ที่สูบบุหรี่คิดเป็นจำนวนมวนน้อยกว่า

อ.ดร.อิงกา-เซซิลี โซฮายม์ (Inga-Cecilie Soerheim) แห่งโรงพยาบาลบริแกม แอนด์ วีเมนส์ บอสตัน และมหาวิทยาลัยเบอร์เง็น (U Bergen) นอร์เวย์ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างคนไข้ทางเดินหายใจอุดตันเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ในนอร์เวย์ 954 ราย

...

คนไข้ COPD ส่วนใหญ่มีอาการผสมผสานกัน 2 อย่างได้แก่ ถุงลมโป่งพอง (emphysema = หนักไปทางหอบ เหนื่อย เพลีย เบื่ออาหาร) หรือถุงลมโป่งพองเรื้อรัง (chronic bronchitis = หนักไปทางไอมีเสมหะเรื้อรัง)

คนทั่วโลก 6,781 ล้านคนเป็น COPD ประมาณ 210 ล้านคน (3.1% หรือ 100 คนเป็นโรคนี้ 3 คน) อาการที่พบบ่อยคือ หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยง่าย ไอ ทำงานหรือออกกำลังไม่ค่อยไหว [ UScensus ]

...

กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชาย 60%, ผู้หญิง 40%, ทุกรายสูบบุหรี่หรือเคยสูบมาก่อน

ผลการตรวจสมรรถภาพปอดพบว่า คนไข้ผู้หญิงที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปีมีอาการรุนแรงกว่า และมีสมรรถภาพปอดแย่กว่าผู้ชาย ทั้งๆ ที่สูบบุหรี่น้อยกว่า

...

กลไกที่เป็นไปได้คือ ทางเดินหายใจของผู้หญิง โดยเฉพาะหลอดลม มีขนาดเเล็กกว่าผู้ชาย

คนสหรัฐฯ 306.5 ล้านคนเป็น COPD ประมาณ 12 ล้านคน คิดเป็น 3.92% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อย [ UScensus ]

...

เมืองไทยเรามีคนไข้ COPD มาก และใช้ค่าจ่ายรักษาพยาบาลจากภาษีของคนส่วนใหญ่มาก นั่นคือ คนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่สูบบุหรี่กำลังเสียภาษีให้คนไข้ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย

การรณรงค์เรื่องบุหรี่มีความสำคัญมาก... ถ้าหยุดรณรงค์เมื่อไร รัฐบาลจะหาเรื่องขึ้นภาษี (ทุกวันนี้รัฐบาลก็หาเรื่องขึ้นภาษีอยู่แล้ว) ทำให้คนส่วนใหญ่เดือดร้อน และต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้คนกลุ่มน้อยไปไม่รู้จบรู้สิ้น 

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ 

...

 > Thank Reuters

ที่มา                                                                    

  • Thank ReutersMaggie Fox & Xavier Briand eds. Women who smoke more prone to lung damage: study > [ Click ] > May 18, 2009. / Source > American Thoracic Society meeting in San Diego, California. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง สงวนลิขสิทธิ์. ยินดีให้นำไปเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาได้. ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า >   > 19 พฤษภาคม 2552.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.

หมายเลขบันทึก: 262183เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท