ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

แพทย์เสนอให้ผู้ป่วยทำ "พินัยกรรมชีิวิต" ได้ไหม?


หยดน้ำ


วันนี้เจอบทคัดย่องานวิจัยที่เยอรมันชิ้นหนึ่ง ดูเหมือนว่าแพทย์จะเป็นคนสื่อสารกับผู้ป่วยที่ป่วยโรคร้ายแรงรักษาไม่หาย ด้วยตนเอง และเป็นคนเสนอให้ผู้ป่วยพิจารณาการเลือกรับการรักษาในวาระสุดท้าย กรณีนี้เป็นการเตรียมตัวทั้งในส่วนของผู้ป่วยและแพทย์ ที่สำคัญ ผู้ป่วยที่มีทัศนคติต่อชีวิตและความตายที่ดีดูเหมือนจะยอมรับการทำพินัยกรรม ชีวิตได้ดีกว่า

ในเมืองไทยดูเหมือนว่าการผลักดันให้สังคมไทยรู้จัก"พินัยกรรมชีวิต" ยังอยู่ในเบื้องต้น และเน้นให้ผู้ป่วยเป็นฝ่ายทำเอกสารเตรียมไว้ แต่ขั้นตอนในการให้แพทย์เป็นผู้ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยนั้นยังไม่ได้พูดถึง เพราะคงสุ่มเสี่ยงกับมุมมองทางจริยธรรมพอดู

อย่างไรก็ดี หากเรื่องความหมายของความตายและการตายเป็นที่รับรู้และเข้าใจกันกว้างขวางขึ้น น่าที่แพทย์จะมีภาระน้อยลง - แต่ปัจจุบัน ยังคงเป็นความฝันอยู่กระมัง?

 

 

หมายเลขบันทึก: 262176เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2009 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า หมอเสนอได้ แต่ต้อง กาละ เทศะ ที่เหมาะสมครับ

ผู้ป่วยที่มีทัศนคติต่อชีวิตและความตายที่ดี ดูเหมือนจะยอมรับการทำพินัยกรรมชีวิตได้ดีกว่า

  • น่าสนใจผลการวิจัยเรื่องนี้มากนะครับ ไม่ทราบพอจะใส่เอกสารอ้างอิงให้ผู้สนใจไปอ่านรายละเอียดเพิ่มเพิมได้หรือไม่

เท่าที่ผมคลุกคลีกับคนไข้และครอบครัว ส่วนใหญ่ปัญหา unfinished business (เรื่องคาใจ ที่ยังไม่ได้จัดการ) โดยส่วนใหญ่คนไทยจะอยู่ใกล้ชิดวงญาติ และมักจะจัดการไปในระดับหนึ่ง และ ตอนที่สั่งเสียกันมักใช้เป็น verbal มากกว่า document

แพทย์อาจช่วยให้คนไข้ดำเนินการจัดการ unfinished business ได้ แต่ต้องมีพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี-ต่อเนื่องพอสมควรถึงจะทำได้

พินัยกรรมชีวิตมีทั้งส่วนการแพทย์-และส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สิน ผมมองว่าแพทย์ควรมีความรู้เรื่องนี้ แต่ สังคมควรเข้าใจประโยชน์ของพินัยกรรมโดยน่าจะให้เป็นความรู้สาธารณะ เพื่อประกอบการตัดสินใจโดยที่แพทยืเป็นที่ปรึกาประเด็นสุขภาพเป็นหลัก

  • การเตรียมผู้ป่วยแต่ต้นด้วยความจริงใจ ข้อมูลที่เพียงพอ และประเมินแล้วว่า การทำน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่าไม่ทำ
  • และแจ้งให้ครอบครัวเข้าใจตรงกัน
  • น่าจะโอเคที่สุด
  • สุดท้ายทำไม่ทำ เขาตัดสินใจเอง
  • คิดแบบนี้ค่ะ

คุณหมอเต็มศักดิ์ที่นับถือ ส่งบทคัดย่องานวิจัยมาให้ค่ะ มีลิงก์งานวิจัยใกล้เคียงกันในญี่ปุ่น อเมริกา ฟินแลนด์ มาให้ด้วย หวังว่าจะเป็นประโยชน์

 

Patient living wills in Germany: conditions for their increase and reasons for refusal

[Article in German]

Lang FR, Wagner GG. Institut für Psychogerontologie, Universität Erlangen-Nürnberg, Erlangen. [email protected]

OBJECTIVES: There is few data about how many people in Germany have deposited a living will or intend to do so. Most studies report distributions among patients, medical doctors or clinical personal. It is unclear, which pre-clinical conditions endorse the distribution of living wills. We were interested in which social contexts contribute to refusal of depositing a living will. METHOD: In two representative surveys with 400 and with 1023 adults, who were between 16 and 92 years old. Within both two multiple-purpose surveys it was assessed whether a living will was available, and if not, whether respondents planned or objected to do so. RESULTS: About 10 percent of adults in Germany had deposited a living will pre-clinically. About fifty percent object to depositing a living will. Logistic regression analyses revealed that the distribution and acceptance of living will deposition depends on chronological age and personal experience with death and dying, even after statistically controlling for effects of socio-economic variables (education, income, household size). Adults are more likely to object to depositing a living will, if they are below 50 years old, do not eat healthy food, do no sports, have low income, and have not experienced death of a relative or acquaintance during the past year. CONCLUSION: Acceptance of living will deposition depends in the pre-clinical phase of life on subjective experience related to medical end-of-life treatment. If people are confronted with death and dying in their social world, they will be more willing to consider their personal preference of end-of-life treatment.

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18033650

 

Discussing living wills. A qualitative study of a German sample of neurologists and ALS patients

http://www.journals.elsevierhealth.com/periodicals/jns/article/PIIS0022510X05001966/abstract

 

Iowa nurses' knowledge of living wills and perceptions of patient autonomy

http://www.professionalnursing.org/article/PIIS8755722396801001/abstract

 

The use of living wills at the end of life. A national study.

Hanson LC, Rodgman E. Division of General Medicine, University of North Carolina, Chapel Hill, USA.

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8624167?ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_DiscoveryPanel.Pubmed_Discovery_RA&linkpos=3&log$=relatedarticles&logdbfrom=pubmed

 

Physicians's reports on the impact of living wills at the end of life in Japan.

Masuda Y, Fetters MD, Hattori A, Mogi N, Naito M, Iguchi A, Uemura K. Department of Geriatrics, Nagoya University School of Medicine, Nagoya, Japan. [email protected]

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12930865?ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_DiscoveryPanel.Pubmed_Discovery_RA&linkpos=2&log$=relatedarticles&logdbfrom=pubmed

 

Attitudes to some aspects of death and dying, living wills and substituted health care decision-making in South Australia: public opinion survey for a parliamentary select committee.

Ashby M, Wakefield M. Royal Adelaide Hospital, Australia.

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8261193?ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_DiscoveryPanel.Pubmed_Discovery_RA&linkpos=1&log$=relatedarticles&logdbfrom=pubmed

 

End of life decisions: attitudes of Finnish physicians.

Hildén HM, Louhiala P, Palo J. Department of Public Health, University of Helsinki, Pajalahdentie 9B23, 00200 Helsinki, Finland. [email protected]

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15289520?ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_DiscoveryPanel.Pubmed_Discovery_RA&linkpos=1&log$=relatedarticles&logdbfrom=pubmed

 

Outcomes of written living wills in Japan--a survey of the deceased ones' families.

Masuda Y, Fetters M, Shimokata H, Muto E, Mogi N, Iguchi A, Uemura K.

http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12166427?ordinalpos=1&itool=EntrezSystem2.PEntrez.Pubmed.Pubmed_ResultsPanel.Pubmed_DiscoveryPanel.Pubmed_Discovery_RA&linkpos=3&log$=relatedarticles&logdbfrom=pubmed

คุณโรจน์

เข้าใจว่าหากเป็นการจัดการทรัพย์สินน่าจะอยู่ในข่ายของการทำ "พินัยกรรม" ปรกติกระมัง และเป็นการทำตามความประสงค์หรือเจตนาของผู้ที่ได้ตายไปแล้ว

แต่ "พินัยกรรมชีวิต" เป็นการแสดงความประสงค์หรือเจตนาของผู้ป่วย ที่ยังไม่ตาย ยังหายใจอยู่ แต่อาจจะไม่สามารถตอบสนอง หรือสื่อสารกับคนรอบข้างได้ และส่วนใหญ่เป็นการแสดงเจตนาเกี่ยวกับการรักษา จึงค่อนข้างเกี่ยวกับแพทย์โดยตรง ในกรณีผู้ป่วยทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายหรือรักษาไม่หาย ซึ่งจะทราบได้ก็จากแพทย์เท่านั้น กรณีนีู้ผู้ป่วยมีสิทธิ์ใคร่ครวญในยามที่ยังมีชีวิตอยู่ และมีสติสัมปชัญญะปรึกษากับแพทย์ ขั้นตอนที่แพทย์บอกถึงความเป็นไปได้หรือโอกาสในการมีชีวิตอยู่นี้แหละน่าจะเป็นช่วงเวลาที่แพทย์สื่อสารถึง "ทางเลือกในการรับการรักษา" ได้ดีที่สุด

ปัญหาของการสั่งเสียโดยคำพูด ก็มักจะเกิดขึ้นเวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ญาติก็มักจะแกล้งลืมคำสั่งเสียนั้นไปโดยมุ่งช่วยชีวิตบ้าง ยื้อให้ลูกหลานกลับมาเจอครบหน้าบ้าง ทำให้เจตนารมณ์ในการที่จะจากไปถูกปฏิเสธ และไม่ได้รับการเคารพ แถมยังลุกขึ้นมาถกเถียงต่อไปก็ไม่ได้ เพราะร่างกายหมดสภาพไปแล้วถึงแม้จะยังไม่ตาย

"พินัยกรรมชีวิต" จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดี และที่สำคัญน่าจะเป็นการดึงให้คนกลับมาคิดเรื่องมรณานุสสติให้มาก

คุณเกสนี

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท