ThaiLivingWill
โครงการ ส่งเสริมการใช้สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)

อนุทินล่าสุด


ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

รุไบยาต

เออ-สิมาอยู่ใยในโลกกว้าง

เฉกชลคว้างมาเมื่อไรไม่นึกฝัน

ยามจากไปก็เหมือนลมรำพัน

โบกกระชั้นสู่หนไหนไม่รู้เล


รุไบยาต
โดย โอมาร์ คัยยัม
แปลโดย สุริยฉัตร ชัยมงคล


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

rumi

"I died a mineral, and became a plant. I died a plant and rose an animal. I died an animal and I was man. Why should I fear? When was I less by dying?" - Rumi



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

ภาพวาดไส้เดือน


ไส้เดือนเขียนจดหมายให้มนุษย์
บอกเล่าจุดความจริงสิ่งทั้งหลาย
แต่ใครเล่ามีเวลามาเยี่ยมกราย
อ่านจดหมายไส้เดือนที่เกลื่อนดิน


เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์, 2541



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

cherry blossom

โอ กลีบดอกไม้ที่ร่วงหล่น
ฉันจะทำอย่างไรดี
หากปรารถนาจะเห็นเธอเบ่งบาน
และยังรักเมื่อยามเธอร่วงหล่น


พจนา จันทรสันติ, 2544



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

ดอกไม้ร่วง

"ความตาย ถ้าไม่มาเร็วเกินไป ก็มาช้าเกินไป"

- สุภาษิตอังกฤษ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

'รงค์ วงษ์สวรรค์

"เวลา มันเป็นกับดักที่ขึงขวางไว้ระหว่างการเกิดกับความตาย"

 

'รงค์ วงษ์สวรรค์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

จูเลียส ซีซาร์

 

"คนที่สมัครใจจะตายนั้นหาได้ง่ายกว่าคนที่เต็มอกเต็มใจอดทนต่อความทุกข์ความเจ็บปวดเสียอีก" - จูเลียส ซีซาร์

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

"มีเพียงหนทางในการใช้ชีวิตเพียงสองแบบเท่านั้น ไม่มีสิ่งวิเศษมหัศจรรย์ในชีวิต หรือทุกอย่างเป็นเรื่องวิเศษน่าอัศจรรย์"- อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

ออง ซาน ซูจี

"คุกที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวนั้นคือความกลัว

อิสรภาพที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวคืออิสรภาพจากความกลัว"

 

ออง ซาน ซูจี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

ดอกไม้

"ผมเชื่อว่าจินตนาการนั้นแข็งแกร่งกว่าความรู้

- ตำนานมีศักดายิ่งกว่าประวัติศาสตร์

- ความฝันมีพลังมากกว่าข้อเท็จจริง

- ความหวังจะมีชัยชำนะต่อประสบการณ์

- การหัวเราะคือการเยียวยาความโศกเศร้า

- ความรักเข้มแข็งกว่าความตาย"

 

- โรเบิร์ต ฟุลกัม

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

truth

 

The truth is rarely pure, and never simple. - Oscar Wilde



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

davinci's monalisa


"วันดี-ดีทำให้เราหลับอย่างเป็นสุขอย่างไร ชีวิตดี-ดีก็ทำให้เราตายอย่างเป็นสุขอย่างนั้น" - ลีโอนาร์โด ดาวินชี





ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

โปรดอย่าขนานนามฉันตามโรคที่เป็น

ด้วยลมหายใจอันแผ่วบาง

ฉันบอกคุณแล้ว ฉันไม่ได้เป็นเช่นนั้น

หากแต่เป็นการคิดถึงบ้านแทบตาย


วิธเทอร์ บินเนอร์

"จากผู้ป่วยถึงหมอ"



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

green leave

“มรณกรรมเป็นจุดจบแห่งชีวิต ไม่ใช่ความสัมพันธ์”

 

โรเบิร์ต เบนชลีย์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

พ้นไปจากความถูก-ความผิด

มีสถานที่แห่งหนึ่ง

ฉันจะพบเธอที่นั่น

- รูมี่

 

Out beyond ideas of wrong-doing and right-doing,

there is a field. I will meet you there.

- Rumi



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

fern

ความตายไม่ได้มาจากภายนอก ความตายอยู่ภายใน
เกิดและโตกับเรา
ไปอนุบาลและไปโรงเรียนกับเรา
หัดอ่านเรียนนับเลขกับเรา
เล่นเลื่อนไปกับเรา ไปดูหนังด้วย
ค้นหาความหมายชีวิตไปกับเรา
พยายามเข้าใจไอน์สไตน์และวีนเนอร์กับเรา
แต่งงาน มีลูก ทะเลาะ คืนดี
แยกทาง หรืออาจจะไม่แยกทาง กับเรา
ไปทำงาน ไปหาหมอ ไปแคมป์
ไปสถานพักฟื้น สถานบำบัด แก่เฒ่า
ได้เห็นลูกแต่งงาน เกษียณ
ดูแลหลาน เจ็บป่วย ตาย
ไปกับเรา อย่าได้กลัวเลย ความตายของเรา
จะไม่อายุยืนไปกว่าเรา

 

Jaan Kaplinski   แปลโดย เฟย์

http://www.faylicity.com



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

จะไปถึงจุดสุดท้ายของชีวิตอันงดงามได้อย่างไร?

drop

ผูกมิตรกับความตาย

ความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมไทยแต่เดิมมานาน หากแต่ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ความตายถูกตัดขาดจากชีวิต เราเก็บความตายไว้ในที่เฉพาะเช่นโรงพยาบาลและวัด หรือไม่ก็ดูความตายในฐานะมหรสพความบันเทิง เมื่อเรามีชีวิตอย่าง หลงลืมความตาย เมื่อความจริงของชีวิตมาถึง หลายคนจึงตั้งตัวไม่ทัน ทำใจไม่ได้ และทุรนทุรายทั้งกายและใจเมื่อวาระสุดท้ายมาถึง

การพูดถึงการตายและความตายจึงไม่ใช่ลางร้ายอย่างที่หลายคนรู้สึก หากแต่เป็นการน้อมสัจธรรมเข้าไว้ในชีวิต เพื่อเตรียมกายเตรียมใจเสียก่อนเพื่อให้ฉากสุดท้ายของชีวิตปิดลงอย่างงดงาม

ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เราไม่สามารถทำความเข้าใจความตายที่แยกขาดไปจากการมีชีวิตอยู่ เหมือนกับที่เราไม่สามารถจะทำความเข้าใจความหมายของชีวิตโดยปราศจากความตาย ได้”

“ถ้าเราพูดถึงชีวิตทั้งชีวิต ปมเรื่องความตายเป็นปมที่สำคัญที่สุดที่เราต้องคลี่คลายให้ได้ แต่ที่เราคลี่คลายไม่ได้เพราะปมนี้มันยุ่งเหยิง ถ้าเราสามารถทำให้คนที่เรารักจบชีวิตลงได้อย่างงดงาม ไม่ใช่น่าหวาดกลัว แล้วเราจะไปกลัวทำไมกับชีวิตของเราที่ต้องเป็นเช่นนั้นอีก”

หากในวันนี้เราเตรียมตัวเองให้เป็นมิตรกับความตายได้เสียวันนี้ พูดคุย บอกกล่าวคนใกล้ชิดให้เข้าใจถึงความปรารถนาและความตาย จะช่วยให้วาระสุดท้ายของเราทุกคนเป็นไปได้ด้วยดีและสงบ


ทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า

การทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าโดยระบุว่าเราปรารถนาที่จะจากไปอย่างไร ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยย้ำให้ญาติและครอบครัว รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์ได้แจ้งกระจ่างในเจตจำนงของเรา และเป็นแนวทางให้ทุกคนร่วมช่วยกันตอบสนองความต้องการสุดท้ายของเราได้อย่าง ที่เราตั้งใจ

การทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้านี้ ไม่ใช่เรื่องการจัดการมรดกหรือทรัพย์สิน แต่เป็นความต้องการที่เราปรารถนาให้ผู้ใกล้ชิดช่วยทำให้เราได้มีโอกาสจากไป อย่างสงบ ทั้งนี้เราอาจระบุ วิธีการดูแลที่เราไม่ปรารถนา เช่น ในกรณีที่ภาวะของร่างกายเสื่อมถอยจนเกินเยียวยาแล้ว เราขอจากไปอย่างธรรามชาติโดยไม่ต้องเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ หรือปั๊มหัวใจซึ่งเป็นหัตถการที่รุนแรง

นอกจากนั้นเราอาจระบุอีก ด้วยว่า เราต้องการได้รับการดูแลอย่างไร เช่นเราต้องการให้แพทย์ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดทรมานในระดับที่เราจะยังครอง สติได้อยู่บ้าง หรือต้องการบรรยากาศที่สงบ ต้องการให้มีการสวดมนต์ ทำพิธีกรรมตามความเชื่อ และต้องการอยู่ท่ามกลางญาติมิตร เป็นต้น

นอกจากการทำหนังสือแสดงเจตนาล่วงหน้า เราอาจสื่อสารเจตนาที่จะจากไปอย่างสงบในรูปแบบอื่น ๆ เช่น นพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จะทำวีดีโอคลิปบอกกล่าวถึงความต้องการไว้ เพราะว่า ผู้รับสารจะได้ยินน้ำเสียง สีหน้า และ คำพูด ที่อาจสื่อสารและร้องขอให้ทำตามความประสงค์ได้ดีและชัดเจนยิ่งขึ้น และบางราย ก็ใช้วิธีการบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

สิ้นลมในอ้อมกอดของศาสนธรรม

drop

เนาวรัตน์ ปะกียา พยาบาลจากโรงพยาบาลรามัน จ.ยะลา ได้ปันความรู้จากโลกของมุสลิมว่า ศาสนาอิสลามมีการสั่งสอนผู้ศรัทธาเสมอว่ามนุษย์ทุกคนล้วนต้องตาย แต่แทนที่จะมากังวลใจ ชาวมุสลิมกลับเตือนสติตนเองด้วยคำถามของการดำรงอยู่ ดังเช่น เราควรใช้ชีวิตอย่างไรให้มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่นมากที่สุด ก่อนที่วาระสุดท้ายจะมาถึงเพื่อกลับไปหาพระเจ้า

“ชาวมุสลิมจะไม่ทรมานศพ ไม่มีการผ่าชันสูตรหรือเอาอะไรไปกดทับอก มุสลิมจะนำศพมาสวดท่ามกลางวงล้อมของหมู่ญาติและเพื่อน” เนาวรัตน์ กล่าว

เช่นเดียวกับคริสต์ศาสนาที่ไม่สนับสนุนให้มีการยื้อชีวิต แต่กลับสอนให้ผู้ใกล้ลาจากเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อพบกับพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งผลจากการเตรียมพร้อมดังกล่าวกลับส่งผลให้เห็นแล้วต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายก่อนที่วาระสุดท้ายจะมาถึง

สุภรณ์ อุดมทัศนีย์ อาสาสมัครโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ วัย 80 ปี อดีตพยาบาลและชาวคริสเตียนที่เดินทางมาร่วมวงเสวนาครั้งนี้ด้วย เธอบอกว่าคำสอนของศาสนาคริสต์จะไม่เคร่งครัดว่าผู้ใกล้จากไปจะต้องตายที่ไหน อาจเป็นบ้านหรือโรงพยาบาลก็ได้ ที่สำคัญที่สุดคือการได้กลับไปสู่อ้อมกอดของพระเจ้าด้วยใจอันสงบและเป็นสุข

“ณ ที่นั้น จะไม่มีความโศกเศร้า มีแต่ความสบาย ทุกวันนี้ หลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมชีวิตแล้วก็สบายใจ ใช้ชีวิตทำงานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องขอขอบคุณพระเจ้าที่ได้ประทานสุขภาพที่ดีมาให้ ทำให้เราสามารถทำงานได้” สุภรณ์ กล่าว

ศ. นพ. วิฑูรย์
กล่าวว่า แพทย์เรียนการรักษาชีวิต แต่ไม่ได้เรียนวิชาการตายดี ดังนั้นคนทุกคนต้องร่วมกันเรียนรู้วิชา “ตายดี” รวมถึงผู้ที่อยู่ในระบบบริการสาธารณสุขด้วย

วรรณา จารุสมบูรณ์ ผู้จัดการโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ เครือข่ายพุทธิกา “ความรู้เรื่องนี้ไม่ใช่ของแพทย์และพยาบาล แต่ทุกคนสามารถช่วยกันให้เราจากไปด้วยดีได้ เราควรพูดเรื่องนี้กันให้ชีวิตให้มากขึ้น ให้ความตายเป็นส่วนหนึ่งของกระแสชีวิต”



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

“คนจะตาย” เรื่องของใคร?

DROP

ชั่วชีวิตคนทุกคนถักทอความสัมพันธ์กับผู้คนมากมาย ไม่ว่าความสัมพันธ์จะดีหรือไม่ เป็นในรูปแบบใด การตายของคน ๆ หนึ่งจึงเกี่ยวพันโยงใยกับอีกหลายชีวิตที่เกี่ยวดอง

เมื่อแม่ผู้ชราป่วยหนัก บรรดาลูก ๆ อาจมีความคิดแตกต่างหลากหลาย ทุกคนปรารถนาสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับแม่ แต่มันคืออะไร บางคน สิ่งนั้นคือการยื้อชีวิตให้ถึงที่สุด ด้วยเทคโนโลยีทุกชนิด และทุ่มเงินตราสุดตัว ในขณะที่บางคนอาจหมายถึง การให้แม่นอนสงบจนสิ้นลมไปท่ามกลางลูกหลาน

“คนไข้อาจตัดสินใจอย่างหนึ่ง แต่ลูกหลานอาจเห็นไปอีกทาง หลายครั้งลูกที่มีอำนาจตัดสินใจว่าพ่อแม่จะอยู่หรือไปอย่างไรมักเป็นลูก อำนาจทางการเงินหรือการศึกษา แต่ไม่ใช่ลูกที่ดูแลใกล้ชิดหรือเข้าใจความปรารถนาเบื้องลึกของผู้ที่จะจาก ไป” นพ. เต็มศักดิ์กล่าว

ในกรณีความขัดแย้งเช่นนี้ นพ. เต็มศักดิ์กล่าวว่า หนังสือแสดงเจตนาที่ผู้ใกล้จากไปทำไว้ล่วงหน้าจะช่วยลดทอนความขัดแย้งได้ เพราะได้ระบุสิ่งที่ต้องการและไม่ต้องการไว้แล้ว รวมถึงอาจระบุตัวบุคคลที่เราปรารถนาให้ตัดสินใจแทนในเวลาที่ไม่อาจสื่อสาร ความต้องการได้ด้วยตนเอง

การที่ผู้ป่วยทำหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าเพื่อวาระสุดท้าย หรือในวาระที่ไม่สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้โดยตรง นับได้ว่าเป็นเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาดูแลตัวเองร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ด้วย ซึ่งโดยมากแล้ว ในยามป่วย เรามักมอบอำนาจการตัดสินใจและสิทธิในการดูแลร่างกายของเราไว้ในมือแพทย์

“เราไม่ค่อยปฏิเสธการรักษาของแพทย์ สิทธิที่จะปฏิเสธการรักษาอะไรก็ได้ ที่เราไม่เห็นด้วย หรือไม่พอใจ” ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์ ที่ปรึกษาประจำศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ศ. นพ. วิฑูรย์ยังได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับที่มาของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ไว้ว่าเป็นการทำงานเชิงนโยบายด้านกฎหมายสาธารณสุข อย่างเช่นเรื่องสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลที่จะไม่ขอรับแผนการรักษาที่ถูก หยิบยื่นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการรักษาแบบแพทย์แผนปัจจุบันอาจเป็นทางเลือกที่ผู้ป่วยและญาติไม่พึง ปรารถนา

“ตอนนี้ เวลาผมไปไหนมาไหน ผมจะบอกทุกคนเลยว่า ไม่จำเป็น อย่าไปโรงพยาบาล ปัญหาใหญ่ของวงการสาธารณสุขวันนี้คือ คนไทยมักไม่เป็นตัวของตัวเอง เช่น ไม่กล้าที่จะปฏิเสธการรักษา ทั้ง ๆ ที่กฎหมายได้ให้สิทธิแก่เราที่จะขอปฏิเสธได้ ด้านแพทย์เอง เวลาที่พูดกับคนไข้ก็ชอบพูดจาแต่ภาษาหมอที่ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ ซึ่งเราก็ต้องมาเสี่ยงที่จะเป็นโรคเพิ่มขึ้นจากการรักษา“

นอกจากนี้ อาจารย์หมอยังย้ำด้วยว่า เทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่มุ่งเน้นเพียงการรักษามนุษย์เฉพาะร่างกายเท่านั้น โดยมองข้ามความสำคัญของจิตใจและความอ่อนไหวของอารมณ์ความรู้สึกของคนไข้เจ้าของเรือนร่าง ซึ่งลำพังความรู้และวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์เก่าเข้าไม่ถึง เนื่องจากไม่อาจชั่งตวงคำนวณวัดความทรมานได้ ผิดกับปรัชญาความรู้ทางศาสนา ซึ่งพินิจความตายไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือผิดแปลกออกไปจากวิถีชีวิตปรกติแต่อย่างใด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

สิทธิที่จะตายดี และ คุณภาพชีวิตที่ดีก่อนจากไป

drops

 

การปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้ายตามเจตนารมณ์ของ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2550 มาตรา 12 นี้ หมายถึง การไม่ขอรับการรักษาที่เป็นไปเพียงยืดการตาย ยื้อชีวิตที่กำลังถดถอยไม่อาจฟื้นดีดังเดิม และปล่อยให้กระบวนการทางกายและการตายเป็นไปอย่างธรรมชาติ โดยที่ผู้ป่วยได้รับการดูแลทางกายอย่างดีที่สุด และความรู้สึกทางใจและความเชื่อได้รับการตอบสนอง

“กรณีผู้ที่เป็นห่วงว่าในบั้นปลายชีวิตอาจมีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ แล้วก็อาจมีความทุกข์ทรมาน โดยหลักของการตายดีหรือในมาตรา 12 ที่ให้สิทธิไว้ สมมติเราบอกว่า ขอไม่ให้แพทย์มาทำอะไรเรา เช่น เจาะคอ ใช้เครื่องช่วยหายใจ อะไรต่าง ๆ แล้วก็อาจเสียชีวิตอยู่ที่บ้าน หรือที่โรงพยาบาลก็ตามที่มีญาติพี่น้องอยู่รายรอบ ถ้ามีอาการเจ็บปวดทรมาน แพทย์ต้องให้บริการสาธารณสุข หรือให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ลดความทุกข์ทรมาน ไม่ใช่พอแสดงเจตนารมณ์ไม่รักษาในหนังสือแล้ว หมอจะปฏิเสธทุกอย่าง เพียงแต่หมอจะไม่ทำในสิ่งที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ เพื่อยืดความตายซึ่งไม่เป็นประโยชน์“ นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

 

องค์กรระหว่างประเทศให้การยอมรับสิทธิในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นแพทยสภาคมโลก (WMA) ที่ให้การรับรองคำแถลงเรื่อง เอกสารแสดงเจตจำนงล่วงหน้าของแพทยสมาคมโลก (World Medical Association) นอกจากนี้ ยังมีบัญญัติไว้ในกฎหมายหลายประเทศ เช่น กฎหมายสหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, ออสเตรเลีย, สิงคโปร์, เดนมาร์ก เป็นต้น
  
การปฏิเสธการรักษาในวาระสุดท้าย ไม่ได้หมายถึงการไม่เหลียวแลรักษาผู้ป่วยอีกต่อไป สำหรับผู้ป่วยที่อาการของโรคอยู่ในระยะสุดท้าย หมดหวังจากการรักษาให้หายจากโรค แล้ว แนวทางการดูแลที่กำลังพูดถึงกันมาก คือ End of Life หรือ Palliative care


“หากคนไข้ปฏิเสธการรักษาไม่ได้หมายความว่าแพทย์จะไม่ดูแลอีกแล้ว เมื่อโรคไปถึงที่สุดหมดหนทางรักษาได้ สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการดูแลผู้ป่วยไปตามอาการ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต” รศ. นพ. เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมี แพทย์รังสีรักษา โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

 

นอกจากนั้น การดูแลแบบ Palliative care ยังเน้นให้ความสำคัญกับมิติทางจิตใจ สังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ในรายของผู้ป่วยอิสลามท่าน หนึ่ง เมื่อวาระสุดท้ายของโรคเอดส์มาถึง ผู้ป่วยได้คุยกับญาติและตกลงกันว่า ตามความเชื่อของอิสลามจำต้องทำพิธีการ ผู้ป่วยจึงขอให้แพทย์และพยาบาลอำนวยความสะดวกในการเยียวยาด้านจิตวิญญาณด้วย คือ ขอห้องเพื่อทำความสงบ สวด ญาซีน ซึ่งสำหรับชาวมุสลิมเป็นการสวดเพื่อขอกลับไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ญาติมิตร ชุมชนจะทยอยและร่วมกันสวดอ้อนวอนพระเจ้า จนผู้ป่วยสิ้นลมหายใจอย่างสงบ


สำหรับการดูแลแบบประคับประคองนี้ รศ. นพ. เต็มศักดิ์อธิบายเพิ่มว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่แพทย์ต้องให้ข้อมูลกับคนไข้อย่างครบถ้วนและรอบด้านที่สุด เพื่อให้คนไข้ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ตนเองปรารถนา

 

รังสิมา บุณยภูมิ คุณแม่ของน้องอ๋อง ปองพล บุณยภูมิ เด็กชายที่จากโลกนี้ในวัย 10 ขวบด้วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว กล่าวถึงความสำคัญของการได้รับข้อมูลในการดูแลเยียวยาแก่คนไข้ว่า


"แม่ของเด็กที่ป่วยเป็นมะเร็งเม็ดเลือดวัย 3 ขวบคนหนึ่ง ยังทำใจไม่ได้กับความเจ็บป่วยของลูก พยายามทำทุกวิถีทางที่จะยื้อชีวิตมากที่สุด"


"เด็ก 3 ขวบ มีสายและท่อระโยงรยาง 5 จุดทั่วตัว เพื่อประคองการหายใจ ให้อาหาร และ การขับถ่าย เด็กอยู่ในภาวะไม่รู้เรื่องและสื่อสารอะไรไม่ได้ และแม่ต้องการยื้อให้ถึงที่สุด เราก็ให้ข้อมูลว่า ถ้าทำอย่างนี้ เจออะไรบ้าง ถ้าไม่ทำ เจออะไร เราไม่ตัดสิน ไม่ชี้บอก เพียงแต่ให้ข้อมูลให้ครบ การตัดสินใจอยู่ที่แม่ของเด็ก”


สำหรับลูกชายของเธอ น้องอ๋อง เธอมักพูดคุยถามไถ่ความต้องการของลูกเสมอ โดยให้ข้อมูลกับลูก “เขาเป็นเจ้าของชีวิต เขาต้องมีส่วนตัดสินใจด้วย” เธอกล่าว


น้องอ๋องเลือกที่จะอยู่บ้านและใช้ชีวิตอย่างปรกติ เขาเล่นวีดีโอเกมส์ นอนในห้องนอนของตัว และทำกิจกรรมเหมือนเดิม แต่มีการดูแลตามอาการ ทั้งการบรรเทาความเจ็บปวดและการหายใจ “ลูกของเราอยากกินอะไรก็ได้กิน อยากทำอะไรก็ได้ทำ”


หนึ่งวันก่อน น้องอ๋องจากไป แม่รังสิมาพาน้องอ๋องไปเที่ยวทะเล ระหว่างทางกลับบ้าน น้องอ๋องซบหัวบนไหล่แม่ และบอกว่า “น้องมีความสุขจังเลยหม่าม๊า”


วันรุ่งขึ้น น้องอ๋องก็จากไปอย่างสงบในอ้อมกอดแม่ และเสียงนำทางของพยาบาล ก่อนจากกัน น้องอ๋องพูดคำสุดท้าย “หม่าม๊า ลาก่อน”

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

เราจะตายกันอย่างไร

drops

 

 

อาจเป็นคำถามที่ใครหลายคนไม่อยากตอบ ซ้ำไม่อยากแม้กระทั่งจะได้ยิน แต่ความตายเป็นกระบวนการหนึ่งของการมีชีวิต ดังปราชญ์ผู้หนึ่งกล่าว่า “หากเราโอบกอดชีวิต เราจำต้องโอบกอดความตายด้วย เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้”


ในช่วงหนึ่งของเวทีรับฟัง ฯ จึงมีกิจกรรม “ชวนคิดชีวิตในวาระสุดท้าย” เพื่อชวนให้ผู้เข้าร่วมหันกลับมามองความตายในตัวเอง โดยลองพินิจดูว่า หากเรารู้ว่าจะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน จะรู้สึกอย่างไร และหากเลือกได้ เราปรารถนาจะจบชีวิตลงด้วยภาวะและความรู้สึกเช่นไร

ในวาระสุดท้ายของ ชีวิตที่กำลังจะปลิดปลิว ดูเหมือนว่าสิ่งที่เหลือให้ยึดเหนี่ยวไว้ คือ ศาสนาธรรม ความดีที่เคยทำ ความรู้สึกอิ่มใจในบางเรื่อง

ผู้เข้าร่วมจำนวนมากสะท้อนความปรารถนาที่จะจากไปอย่างสงบมีสติ ไม่ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ หลายคนยังระบุอีกด้วยว่า ต้องการการจะเสียชีวิตที่บ้านในบรรยากาศที่สงบและอบอุ่นท่ามกลางหมู่ญาติ มิตรที่คุ้นเคย ได้มีโอกาสสั่งเสีย ล่ำลา ขอขมาลาโทษกัน

อีกหนึ่งความปรารถนาที่พูดถึงกันมากในวงสนทนา คือ ไม่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิต เช่น การเจาะคอใส่ท่อช่วยหายใจ การปั๊มหัวใจในกรณีที่สภาพร่างกายไม่ไหวแล้ว การใส่ท่อต่างๆ ตามร่างกายเพื่อให้อาหาร ดูแลการขับถ่าย ทั้งหมดทั้งปวงเพียงเพื่อยื้อสัญญาณชีพไว้ แต่ละเลยมิติทางจิตใจ หลายคนยังย้ำอีกด้วยว่า ไม่ต้องการนอนอยู่ในห้อง ไอซียู จนสิ้นลมเพราะบรรยากาศในนั้นโดดเดี่ยว อ้างว้าง อยู่ท่ามกลางเครื่องมือทางการแพทย์ และบุคคลที่ไม่คุ้นเค

คุณ เสาวนีย์ ข้าราชการเกษียณซึ่งปัจจุบันเป็นสมาชิกในชมรมไทเก๊ก หาดใหญ่ เป็นคนหนึ่งที่เลือกปฏิเสธการรักษาเพื่อยื้อชีวิต “พี่สาวของเพื่อนดิฉันซึ่งอยู่ในวัยชราแล้ว ป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร เมื่อการเข้าสู่ระยะสุดท้าย พี่สาวเธอบอกว่า พร้อมจะตายแล้ว น้องสาวซึ่งดูแลกันอยู่มานานเข้าใจและเคารพเจตนารมณ์ของพี่ จึงดูแลกันตามอาการ ไม่ไปหาหมออีกให้รั้งหรือยื้อชีวิตไว้ เพราะเท่ากับยื้อความทรมานกาย พี่สาวจากไปในระยะเวลาไม่นาน ไม่ทุกข์ทรมานมาก”

ในอดีต การตายมักเกิดขึ้นที่บ้าน ปู่ย่าตายายจากไปท่ามกลางลูกหลาน มีพระสวดเทศน์นำทาง แต่ในปัจจุบันคนเราไม่ได้ตายง่ายดายเช่นนั้น เทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยให้ชีวิตเรายืนยาวขึ้น หลายครั้งช่วยกู้ชีวิตในยามวิกฤต เช่นอุบัติเหตุ แต่หลายกรณี เทคโนโลยีอย่างเดียวกันนี้กลับยื้อความตาย ความทุกข์ทรมานให้ยาวนานออกไป สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมหาศาล บางครอบครัวถึงกับต้องเป็นหนี้สินหรือล้มละลาย

รศ. นพ. เต็มศักดิ์ พึ่งรัศมีกล่าวถึงประเด็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อยื้อชีวิตว่า ไม่มีอะไรที่ไร้ประโยชน์หรือไม่จำเป็นเสียทีเดียว คงขึ้นอยู่กับเป้าหมายว่า เรายื้อชีวิตไปเพื่ออะไร และเพื่อใคร

“การ ใส่ท่อช่วยหายใจยื้อชีวิตไปอีกหนึ่งวัน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติคนสำคัญได้เจอกัน ล่ำลา ก็มีประโยชน์และมีความหมายสำหรับผู้ป่วยและญาติคนนั้น แต่การยื้อไปเรื่อยๆ โดยไม่มีความหมายอาจเพิ่มความทรมานกายและใจให้ผู้ป่วยและญาติได้” รศ. นพ. เต็มศักดิ์ กล่าว



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

สนทนาการตายดีอย่างมีชีวิตชีวา

หยดน้ำ


แม้จะเป็นประเด็นเรื่องการตายซึ่งหลายคนขยาดกลัวว่าเป็นลางร้าย แต่ผู้เข้าร่วมเวทีรับฟังการทำหนังสือแสดงเจตนา ฯ วาระสุดท้ายตามสิทธิในมาตรา 12 ที่จัดขึ้นครั้งแรกที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลับแลกเปลี่ยนความเห็น สนทนาความรู้สึกกันอย่างคึกคักมีชีวิตชีวา ไม่ว่าจะในห้องประชุม หรือบนโต๊ะอาหารกลางวัน จนกระทั่งกิจกรรมเสร็จสิ้นเวลาประมาณ 15.00 น ก็จะเห็นหลายคนยังคงคุยกันไม่เลิกรา


เรื่องความตายดูจะไม่ใช่เรื่องไกล ตัวอยากที่เราพยายามจะคิด หากเป็นเรื่องใกล้ตัวมากเสียกระทั่งว่าทุกคนที่ร่วมงานกว่า 90 ชีวิต ทั้งแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร สมาชิกในชมรมผู้สูงอายุ ชมรมสุขภาพ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป ต่างพรั่งพรูประสบการณ์หลากหลายมิติเกี่ยวกับความตายอย่างไม่ขาดตอน

งาน เวทีรับฟังความเห็นการทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อ ยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยอาจจะฟังดูยาวสักหน่อย แต่หัวใจของงานหวังกระชับความเข้าใจเรื่องการตายดีที่เรา ๆ ท่าน ๆ ปรารถนา แล้วระดมสมองกันว่า หากเราปรารถนาจะจากไปอย่างสงบแล้ว จะมีหนทางใด โดยเฉพาะในระบบให้บริการของโรงพยาบาล ที่จะช่วยให้ความปรารถนาของหลายคนได้รับการตอบสนอง


เราจะตายอย่างไรเป็น เรื่องใหญ่ที่เราต้องคุยกัน และที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ สิทธิที่จะตายอย่างที่เราปรารถนาควรได้รับการตอบสนอง จะทำได้อย่างไรนพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

bird

ช่วงที่ผ่านมาได้ยินข่าวสองสามข่าวเกี่ยวกับการตายของผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และความพยายามที่จะยื้อชีวิตของท่านในวาระสุดท้าย

คนแรกคือปู่เย็น คนดีเมืองเพชรบุรีที่เป็นที่รู้จักทั่วเมืองไทย พอปู่เย็นดัง ใครๆ ก็อยากดูแลปู่ แม้เมื่อปู่สิ้นชีวิตลงไปแล้ว ก็ยังพยายามปั๊มหัวใจปู่ขึ้นมาอีก

คุณ'รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนที่รักและนับถือ หัวใจหยุดเต้นไปสามครั้ง ก็พยายามปั๊มหัวใจขึ้นมาทั้งสามครั้ง

รู้สึกสลดใจทั้งสองกรณี

เข้า ใจดีว่าญาติและบุคลากรทางการแพทย์ได้พยายามช่วยเหลือชีวิตอย่างเต็มที่ เพราะถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ ในส่วนของญาติก็ถือเป็นการแสดงความกตัญญู

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่ามิติเรื่องความหมายของการตายดีแทบจะไม่ได้ถูกหยิบยกนำขึ้นมาพูดกัน

ในมิติทางศาสนา ไม่ว่าพุทธ คริสต์ หรืออิสลาม การตายดีดูเหมือนจะไม่ใช่ภาพของการจากไปในยามที่ถูกปั๊มหัวใจ

และ ต่อไม่เชื่อในเรื่องใดเลย ญาติและบุคลากรทางการแพทย์จะมั่นใจได้แค่ไหน ว่าสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยจริงๆ ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วย และเป็นไปเพื่อผู้ป่วยมากกว่าตัวญาติหรือหมอและพยาบาลเอง

ตรงนี้ยังไม่พูดถึงผู้ป่วย "ผัก" อีกจำนวนมาก - โอกาสฟื้นคืนในหนังละครดูจะมีมากกว่าในโลกของความเป็นจริงเสียอีก

น่าสนใจว่าผู้คนยุคปัจจุบัน มีความเห็นอย่างไรในเรื่องของการยื้อชีวิตในวาระสุดท้าย?

และหากเป็นตัวเราเอง ในวาระสุดท้าย เราอยากจะได้รับการช่วยเหลืออย่างไร?



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

ขอเชิญทอดทัศนาและขอรับหนังสือ ก่อนวันผลัดใบ แบบไม่เสียสตังค์ได้ที่

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ  (สช.)  อาคารทิศเหนือสวนสุขภาพ  กระทรวงสาธารณสุข  ถ.ติวานนท์  อ.เมือง  จ. นนทบุรี  11000  โทรสาร.  0-2590-2311 

หรือ  ติดต่อ  [email protected] 

หรือ  เยี่ยมชมเว็บไซต์  www.ThaiLivingWill.in.th

 

 

ก่อนวันผลัดใบ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ThaiLivingWill
เขียนเมื่อ

Bookmark: ThaiLivingWill

http://www.ThaiLivingWill.in.th

ข้อมูล ด้านกฎหมาย บทความ และเรื่องเล่าประสบการณ์ในวาระสุดท้าย เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหนังสือแสดงเจตนาและสร้างความเข้าใจเรื่องการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ

Tags:



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท