การประกันคุณภาพการศึกษา


สพท.ราชบุรี เขต 2 ขับเคลื่อนงานประกันคุณภาพภายใน

สพท.ราชบุรี เขต 2  นำโดย นายประจบ  โพธิ์ปาน  ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2  นายธีรพงษ์  ทวีวรรณ  หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  นายวินัย  บัวแดง  และนางจงกลนี  ห่วงทอง  ได้ศึกษาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอก (สมศ.) รอบที่ 2  ในระดับดีมาก  กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา  จำนวน 17 โรงเรียน  รวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนเป้าหมายทุกคน ครูวิชาการ หัวหน้าสายชั้น  ครูประจำชั้นหรือครูรายวิชา   โรงเรียนละ 3  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  ใช้กับผู้บริหารสถานศึกษา  มีขอบข่ายในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในเรื่องปัจจัย  กระบวนการและผลลัพธ์  รวมทั้งปัญหา  อุปสรรค  ข้อเสนอแนะ  2) แบบสอบถามการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสำหรับครู  ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา  ปีการศึกษา 2551  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ  ประกอบการบรรยาย  ผลการศึกษาพบว่า

                      1.  ผู้บริหารสถานศึกษา  มีการนำการบริหารเชิงระบบมาใช้ในการดำเนินงานในทุกโรงเรียน  มีการจัดวางบุคลากรตามความถนัด ความสามารถ  ให้ความรู้ความเข้าใจกับบุคลากรทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง  มีการประชุมปรึกษาหารือ  มีการประเมินทบทวน  โดยนำข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับปัญหา  ข้อเสนอแนะที่ สมศ. ให้ไว้ในการประเมินรอบแรก

                      2.  ด้านการดำเนินงานของครู  สรุปได้ว่า  ครูทุกคนได้รับทราบภารกิจในการประเมินคุณภาพ  โดยสถานศึกษาส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินการ  มีการพิจารณาความยากง่ายของงานได้เหมาะสมกับผู้รับผิดชอบ  มีหัวหน้างานรับผิดชอบแต่ละมาตรฐาน  และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ในด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน  จะนำไปเทียบกับเกณฑ์การประเมินของ สมศ.  และข้อเสนอแนะของ สมศ.  ที่ให้ไว้ในการประเมินรอบแรก  เมื่อพบข้อบกพร่องในการดำเนินงาน  จะนำเข้าที่ประชุมเพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน  โดยจะชื่นชมผลงานเมื่อมีผลงานตามเป้าหมายแล้วเท่านั้น

                      3.  ด้านปัญหอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน โรงเรียนส่วนหนึ่งโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กจะมีปัญหาด้านปริมาณงานรับผิดชอบ  และโรงเรียนส่วนใหญ่มีกิจกรรมที่หน่วยเหนือกำหนดให้ปฏิบัติค่อนข้างมาก  ทำให้มีเวลาในการพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานน้อยลงไป  โดยมีข้อเสนอแนะว่า  สมศ.  ควรประเมินเฉพาะมาตรฐานที่เป็นผลลัพธ์ของการดำเนินงานประกันคุณภาพ

               

                                                                                             กลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 

                                                                                                                              สพท.ราชบุรี เขต 2

หมายเลขบันทึก: 261482เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2009 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท