อภิธานศัพท์กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ


อภิธานศัพท์ทัศนศิลป์

โครงสร้างเคลื่อนไหว (mobile)

                เป็นงานประติมากรรมที่มีโครงสร้างบอบบางจัดสมดุลด้วยเส้นลวดแข็งบาง ๆ ที่มีวัตถุรูปร่าง  รูปทรงต่าง ๆ ที่ออกแบบเชื่อมติดกับเส้นลวด เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้ด้วยกระแสลมเพียงเบา ๆ

งานสื่อผสม (mixed media)      

เป็นงานออกแบบทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยหลายสื่อโดยใช้วัสดุหลาย ๆ แบบ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ สร้างความผสมกลมกลืนด้วยการสร้างสรรค์

จังหวะ (rhythm)                          

                เป็นความสัมพันธ์ของทัศนธาตุ เช่น เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักในลักษณะของการซ้ำกัน สลับไปมา หรือลักษณะลื่นไหล เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะจังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิดความเด่น หรือทางดนตรีก็คือการซ้ำกันของเสียงในช่วงเท่ากันหรือแตกต่างกันจังหวะให้ความรู้สึกหรือความพอใจทางสุนทรียภาพในงานศิลปะ

ทัศนธาตุ (visual  elements)

                สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นภาพ  ได้แก่  เส้น  น้ำหนัก  ที่ว่าง  รูปร่าง   รูปทรง  สี  และลักษณะพื้นผิว

ทัศนียภาพ (perspective)            

วิธีเขียนภาพของวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล

ทัศนศิลป์ (visual  art)                

                ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็น ได้แก่   จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์  และงานสร้างสรรค์อื่น ๆ  ที่รับรู้ด้วยการเห็น

ภาพปะติด (collage)         

เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่าง ๆ  เช่น  กระดาษ  ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ   ฯลฯ  ปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก

วงสีธรรมชาติ (color circle)

                คือวงกลมซึ่งจัดระบบสีในแสงสีรุ้งที่เรียงกันอยู่ในธรรมชาติ สีวรรณะอุ่น จะอยู่ในซีกที่มี

สีแดงและเหลือง ส่วนสีวรรณะเย็นอยู่ในซีกที่มีสีเขียว และสีม่วง สีคู่ตรงข้ามกันจะอยู่ตรงกันข้าม

ในวงสี

วรรณะสี (tone)

                ลักษณะของสีที่แบ่งตามความรู้สึกอุ่นหรือเย็น  เช่น  สีแดง  อยู่ในวรรณะอุ่น (warm tone)             สีเขียวอยู่ในวรรณะเย็น (cool tone)

สีคู่ตรงข้าม (complementary colors)         

สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติเป็นคู่สีกัน  คือ สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุด  เช่น  สีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง   สีน้ำเงินกับสีส้ม

องค์ประกอบศิลป์ (composition  of  art)   

วิชาหรือทฤษฎีที่เกี่ยวกับการสร้างรูปทรงในงานทัศนศิลป์

หมายเลขบันทึก: 260260เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2009 13:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

แวะมาเยี่ยมค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำศัพท์ทัศนศิลป์และรูปภาพผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียน

ขอบคุณมากๆค่ะครูเอ..อย่าลืมเรื่องขี้เลื่อยนะคะ..ขี้เลื่อยที่ไม่เป็นแค่ขี้เลื่อยอีกต่อไป..หรือไม่ก็จะติดต่อขอเขาเอามาโพสต์ให้นะคะ...

ครูอ้อยเล็กค่ะ ศัพท์ศิลปะของคุณครูมีประโยชน์แก่หนูมากเลยค่ะ

หนูหาดูหลายเว็บมีแต่ขายเขาหวงความรู้ มีแต่ครูอ้อยเล็กคนเดียวที่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนยตัว หนูขอขอบพระคุณจริงๆนะค่ะ ถ้าเกิดจะเมตตาหนูขอให้ครูช่วยลงข้อมูลเพิ่มหน่อยนะค่ะ เพราะว่าศัพท์ศิลปะหายากมาก จะให้หนูไปหาซื้อคงไม่ไหว ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

จ้าน้องหญิงถ้าว่างครูพยายามรวบรวมที่ครูสอนมาให้แล้วกันนะจ๊ะ...

มาชม

เห็นภาพบัวงามจริงนะนี่

P..สวัสดีค่ะอาจารย์ยูมิ...เพิ่งเข้ามาตรวจความเรียบร้อยค่ะ..ยินดีที่อาจารย์มาเยี่ยมชมนะคะ...

สวัสดีครับครูผมด.ช.อนันตชัย     ม.3/1โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครปฐม

สวัสดีค่ะพี่อ้อยเล็ก 

มาทายทักแบบหายเงียบไปนานๆ เลย นะคะ

ชอบศัพท์แสงด้านศิลป์ ได้จินตนาการดีค่ะ

หวังว่าพี่อ้อยเล็กคงสบายดี คิดถึงค่ะ

หวัดดีคับพี่อ้อยเล็ก

แวะมาทักทายเล่นๆ

ทำไมชื่ออ้อยเล็กคับ

ที่ใช้ชื่ออ้อยเล็กเพราะมีพี่ครูอ้อยใหญ่อยู่ในโกทูโน...นับถือกันไงจ๊ะ....

ขอศัพท์

เพื่มอีกหน่อย

ได้ไหม*-*

น้องครูอ้อยเล็ก เว็บศิษย์เก่าเพาะช่างหายไปไหนเสียแล้วแน่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท