ก่อนกินข้าวของชาวอีสาน


ก่อนกินข้าว

ฟังเยอ  ฟ้าฮ่ำฮ้อง  บนเบิกบัวระพา

           วาโยเผลียง  พ่ำพรมภายพื้น

วันนี้ฝนตกที่สกลนครแรงมาก  แต่ก็เป็นระยะเวลาเพียงชั่วครู่  จากนั้นแสงสุรีย์ก็ฉายลงมาบนพื้นเมืองสกลถวาปีแทน  สัญญาณบอกความอุดมสมบูรณ์เริ่มขึ้น  ชาวนาทั้งหลายเริ่มไถคราดที่นาเตรียมพร้อมการทำไร่ไถนา  ครั้งก่อนจำได้ว่าคุณยายเคยเล่าให้ฟังว่า  การทำนานั้นมีมาแต่ขุนเค็ก  ขุนคาน  ขุนลาง  เมื่อมาถึงครั้งขุนลอ  พระยาแถนสั่งไว้ว่า  ก่อนกินข้าวให้ทำบุญบอกแถนก่อนถึงกินข้าวได้   แต่ต่อมาคนไม่ทำตามคำสั่งแถนข้าวจึงเมล็ดเล็กลง  บรรพชนชาวอีสานจึงกำหนดการทำบุญในการทำไร่ไถนาไว้เพื่อให้แถนพอใจ  ดังนี้

ครั้งที่  1  ก่อนไถนา  ต้องทำพิธีเลี้ยงผีนาบูชาแถน  เรียกว่า  เลี้ยงตาแฮก

ครั้งที่  2  ก่อนปักดำ   ต้องทำพิธีเลี้ยงผีนาบูชาแถน  เรียกว่า  ปักตาแฮก

ครั้งที่  3  เมื่อข้าวตั้งท้อง  ต้องทำพิธีรับขวัญแม่โพสพ  เรียกว่า  เลี้ยงข้าวมาน

ครั้งที่  4  ก่อนเกี่ยวข้าว  ต้องทำพิธีขอขมาต้นข้าว  เรียกว่า  ขอขมาแม่โพสพ

ครั้งที่  5  หลังนวดข้าว  ต้องขมขมาที่นวดตีข้าว  เรียกว่า  สูดขวัญข้าว(บุญคูณลาน)

ครั้งที่  6  เมื่อเอาข้าวใส่ใสยุ้งข้าว  ต้องเรียขวัญข้าว  เรียกว่า  บุญข้าวขึ้นเล้า

ครั้งที่  7 หลังจากเอาข้าวขึ้นเล้าได้ 3 เดือน(ห้ามเปิดเด็ดขาด)เมื่อเปิดเล้าแล้วต้องเอาข้าวไปขัดสีเป็นข้าวสารและต้องใส่บาตรก่อน  ชาวนาจึงบริโภคข้าวบนเล้าก่อน

ข้อบัญญัติเหล่านี้บรรพชนหวังเพื่อให้คนยุคหลังรู้จักบุญคุณธรรมชาติที่ได้เสกสรรค์อาหารมาให้ได้บริโภค  ชาวนาก็จะไม่ประมาทในการบริโภคข้าว 

คำสำคัญ (Tags): #ข้าว
หมายเลขบันทึก: 259956เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีค่ะ
  • พิธีกรรมเหล่านี้ไม่อยากให้จางหายไปจากแผ่นดินอิสานเลยค่ะ

มาอ่านความรู้ค่ะ

ปีที่แล้วช่วงอยู่อุบลฯ มีงาน บุญคูณลาน

เป็นภูมิปัญญาที่มีเสน่ห์ และควรอนุรักษ์ไว้ ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับคุณpa_daeng

ผมก็อยากให้พิธีกรรมเหล่านี้คงอยู่สืบต่อไป แต่ปัญหาติดอยู่ที่เยาวชนไม่ให้ความสนใจภาคเกษตรกรรม วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างเดิมแล้ว เราคงทำได้เพียงทำใจ(และพยายามสืบสาน)

ขอบคุณครับคุณpoo

- ยินดีที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ อุบลฯเมืองรักปราชญ์(ที่บอกว่า"รักปราชญ์" แทนคำว่า "นักปราชญ์" เพราะที่นั้นเขาให้ความสำคัญแก่นักปราชญ์มากทั้งที่เป็นคนอุบลฯเองหรือเป็นคนถิ่นอื่นแต่ทำประโยชน์ให้เมืองอุบลฯ) เป็นเมองที่ร่ำรวยทางวัฒนธรรมอยู่แล้ว ผมเห็นด้วยครับควรอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมโดยใช้ปัญญา

อาจารยฺ์คะ อยากเห็นเสื้อชุบนิล อยากเห็นจารใบลาน อยากเห็นขันหมากเบ็งโบราณค่ะ

ขอบคุณค่ะ

...ล่ะฝนเอ๋ยฝนรินย้อย

สาวครูคอยอยู่หน้าต่าง

เมโฆบางล่ะคือจังควมฮักน้อง

มันไปต้อง..แม่นหมู่ฝน...ละน่า.

                                    สวัสดีหน้าฝนค่ะ P

ดีนะคะที่มีผู้สืบความสืบคำให้คนฮู้ฮีตฮู้ทุกข์ฮู้ยาก เพลงที่น้าหงานำบทกวีของคุณทวด จิตร ภูมิศักดิ์ มาร้องไว้ว่า

        "...จากแรงมาเป็นรวงระยะทางนั้นเหยียดยาว

จากรวงเป็นเม็ดพราวล้วนทุกข์ยากลำบากเข็ญ

เหงื่อหยดสักกี่หยาดทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น

ปูดโปนกี่เส้นเอ็นจึงแปรรวงมาเปิบกิน......."

 

 

แวะมาอ่านค่ะ...อย่าว่าแต่เด็กๆเลยที่ไม่รู้..ผู้ใหญ่ถ้าไม่ศึกษาก็ไม่รู้เช่นกัน..เพราะเดี๋ยวนี้ประเพณีเก่าเก่าจางหายไปค่อนข้างมาก...บอกตามตรงว่าADD ก็ไม่รู้ขนาดว่าเป็นลูกอิสานเต็มร้อยนะคะเนี่ย

 

(ภาพนี้ถ่ายที่กุดขาคีม  ตอนไปดูป่ากุดขาคีมกับคณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว  ที่จ.สุรินทร์)

ถึงคุณpa_daeng ตอนนี้ภาพการจารใบลานอยู่ในแผ่นข้อมูลที่ห้องทำงาน คงมีแต่ภาพที่ผมใส่เสื้อจุบนิลตัวเก่า สีออกดำหม่น วันพรุ่ง(๙ พ.ค.)จะนำภาพการจารใบลานและหมากเบ็งแบบโบราณลงให้ชมนะครับ

ขอบคุณสำหรับผญามวน ๆ ของแม่ครูจอมใจ ช่างเป็นผู้มีความฮู้เต็มภาช์มีผญาเต็มปูม  ขอความเมตตาแม่ครูเขียนเกี่ยวกับธรรมการลำให้ได้ยลสักสองสามบทความนะครับ

ขอบคุณครับท่าน ศน. add ที่เข้ามาเยี่ยมยามเด็กน้อยผู้รู้น้อยอย่างผม ด้วยความโชคดีที่ผมได้เรียนกับบรมครูทางด้านวัฒนธรรมอีสาน(ผศ.พรชัย, ผศ.ดร.สุภณ, ผศ.ประทวน, ผศ.กฤษฎา, รศ.สถาพร, รศ.ดร.บุญยงค์ ฯลฯ ท่านเหล่านี้อยู่ที่เมืองตักศิลานั่นเอง)จึงทำให้พอรู้บ้างครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เห็นด้วยกับการอนุรักษ์ของเก่าๆๆไว้

ขอบคุณข้อมูลที่คุณลงบันทึกนี้ครับ

มีประโยชน์มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท