การปฏิรูปการเมือง (ของคนไทย) ครั้งที่ ๓



          ขอเชิญชวนอ่านบทความของ ศ. ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ ที่นี่   โดยขอชี้ว่า ท่านเน้นการเมืองของคนไทย    ไม่ใช่ของนักการเมืองนายทุนธุรกิจ   และสาเหตุที่ต้องปฏิรูปก็เพราะที่ผ่านมาเกิดสภาพ   ผูกขาดอำนาจรัฐโดยนักการเมืองนายทุนธุรกิจ ในระบบรัฐสภา   เกิดการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร   


          ผมตีความว่า ท่าน อ. อมร ชี้ว่าการปฏิรูปการเมืองไทยต้องเน้นทำให้เป็นการเมืองที่มีการตรวจสอบได้   ไม่เป็นการเมืองแบบเผด็จการโดยรัฐสภา ที่นักการเมืองนายทุนธุรกิจกุมอำนาจ   โดยอาศัยการทุจริตโกงกินประเทศชาติ   ทำให้การเมืองไทยที่อ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเจริญให้แก่บ้านเมือง   แต่มีจุดหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง 


          อ่านอีกบทความหนึ่งของท่าน เรื่องปัญหาชนชั้นนำของสังคมไทย ได้ที่นี่   จะเห็นว่า ศ. ดร. อมร ท่านโทษ “คุณภาพและความรู้ของ elite”   ว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤติการเมืองในขณะนี้   ก็เป็นมุมมองหนึ่งที่มีจุดยืนชัดเจน   จากวิธีมองเชิงสังคมวิทยา   และคนที่ชอบประวัติศาสตร์อย่างผมจะอ่านเอกสารฉบับหลังอย่างสนุกสนานมากครับ   ทำให้ได้ความรู้ลึกๆ เปรียบเทียบสังคมไทยกับสังคมญี่ปุ่น


          ผมคิดว่าทั้งสองบทความนี้ ช่วยให้เราเข้าใจ “root cause” ของวิกฤติการเมืองไทย ในแง่มุมหนึ่ง

วิจารณ์ พานิช
๕ พ.ค. ๕๒


       

 

หมายเลขบันทึก: 259773เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 15:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบพระคุณมากครับ ท่านอาจารย์หมอ

แล้วจะตามไปศึกษาบทความดีๆ ครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ มากครับ

  • ผมอ่านทั้ง 2 บทความแล้วครับ ถึงแม้จะด้อยประสบการณ์อยู่มาก แต่ก็ทำให้ผมเข้าใจ root cuase ของวิกฤติฯ ได้มากเลยครับ
  • ชอบที่ท่าน ศ.ดร.อมร พูดว่า ก่อนที่เราจะทำอะไร เราต้องหาความรู้ ก่อน

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์หมอ Prof. Vicharn Panich

อ่านทั้ง 2 บทความแล้วค่ะ ...บทความแรกอ่านแล้วปวดหัวค่ะ มึนตึ๊บ ..เป็นความสับสนเหมือนเมื่อครั้งอ่าน รัฐธรรมนูญฉบับร่าง ปี 2550 ก่อนให้ประชาชนไปลงประชามติ ..ทำไม ทำไม และทำใจ

ส่วนบทความที่ 2 อ่านอย่างตั้งใจมาก ได้ความรู้มากมาย และเกิดความภาคภูมิใจในการเกิดเป็นคนไทย แม้ว่าจะหลงทางในการพัฒนารัฐธรรมนูญก็ตาม

ในฐานะพลเมืองของประเทศไทย (1 ใน 63 ล้านคน) ก็ยังมีความหวังใน Elite ทั้ง 3 กลุ่ม ในการบริหารประเทศ และขอเป็นกำลังใจที่กลุ่มบุคคลเหล่านั้น ได้พัฒนาความรู้ มีความตั้งใจจริง ลดละความเห็นแก่ตัวและพวกพ้อง และเห็นแก่ประเทศชาติมากขึ้นด้วย

แม้มีส่วนในการพัฒนาประเทศชาติอันน้อยนิด ก็ขอทำหน้าที่ตนเองให้ดีที่สุดค่ะ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์มากค่ะ..^_^...

เรียนอ.หมอ

แวะมาอ่านเป็นอาหารสมองก่อนไปทำภารกิจ

ได้อ่านเป็นครั้งที่ 2 แล้วค่ะ แต่ยังต้องใช้ความคิดว่าการตรวจสอบของท่าน อ.อมรจะทำได้อย่างไร

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ครับ ขอขอบพระคุณครับ ได้ปริ้นส์มาอ่านแล้ว จะขอนำไปขยายความต่ออีกครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท