อยากรู้ไหม อาจารย์หมอวิจารณ์ คิดอย่างไรกับบล็อก?


อยากรู้ไหม อาจารย์หมอวิจารณ์ คิดอย่างไรกับบล็อก?

อยากรู้อะไร

อยากเข้าใจอะไร

อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไร กับ อาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ฝากบอกกันมาเลยค่ะ เพื่อเป็นคำถามในงานเสวนา GotoKnow Forum ช่วงเปิดใจพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์หมอเรื่อง “วิเคราะห์การจัดการความรู้ด้วยเว็บล็อก กรณีศึกษา 4 ปี GotoKnow.org”  ค่ะ

เช่น

ทำอย่างไรดีเขียนไม่ออก?

ทำไม GotoKnow มีแต่ความเห็นแบบสนับสนุน?

ทำไมอาจารย์เขียนบันทึกได้เกือบทุกวัน?

ทำไมต้องเขียนบันทึก?

ทำไม GotoKnow ไม่ค่อยมีคนแสดงความคิดเห็น?

ทำอย่างไรอยากเชื่อมโยงกับผู้คนใน GotoKnow?

อาจารย์คิดว่าเปิดเผยตัวตนใน GotoKnow ดีหรือไม่?

ทำไมอาจารย์จึงสนับสนุนให้พัฒนา GotoKnow?

หมายเลขบันทึก: 259277เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

มียุทธศาสตร์ใด บ้างที่จะนำ KM สู๋ระดับท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว

ขอบคุณค่ะ

แนวทางความคิดมากมายเลยนะครับเกี่ยวกัน BLOG เนี่ย ;)

อ่านแล้ว... อยากทราบคำตอบของอาจารย์ทุกข้อเลยค่ะ
บางข้อ ตรงกับที่ มีคำถามอยู่ ในใจนานมาแล้ว และก็แอบตอบในใจคนเดียวอยู่บ้างคือ...

เรื่องที่ไม่ค่อยมีการแสดงความคิดเห็น  ที่ไม่เห็นด้วยกับบันทึก  ก็น่าจะเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ที่สุภาพ เกรงใจกันค่ะ  และเป็นเพราะ มีการเปิดเผย ตัวตน
ถ้า ไม่เปิดเผย จะมี คนแสดงความคิดเห็นมากกว่านี้ เหมือนที่เว็บอื่นๆค่ะ   แต่การไม่เปิดเผยตัวตน ก็มัก จะมีเสรีภาพแห่งการแสดงความคิดเห็น  ที่บ่อยครั้ง  ไปละเมิดผู้อื่น ในทาง กฎหมาย ศีลธรรมและธรรมเนียมประเพณี  ซึ่งไม่ดี   ดังนั้น การเปิดเผยตัวตนน่าจะดีกว่า และที่นี่  ก็เป็นเว็บที่สุภาพที่สุดแล้ว 

อีกเรื่องหนึ่ง ที่รู้สึกคือ...ปกติในการทำงานนั้น  ความผิดพลาดในการทำงานที่ผู้บริหารหรือบุคลากรในองค์กรพบเจอนั้น ต้องถือเป็นบทเรียน   ซึ่ง จริงๆแล้ว  คือเป็นการก่อตัวขององค์ความรู้ใหม่ หรือ knowledge creation 
และจะต้องจด บันทึกไว้  เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีกหรือเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์ เหมือนกับการจัดเก็บองค์ความรู้    แต่ที่โกทูโน นี้ รู้สึกว่าจะมีบันทึกแบบนี้ไม่มาก แต่มีบันทึก ที่แสดงถึง ความสำเร็จค่อนข้างมาก  ซึ่ง ดูแล้ว ก็ปกติ เพราะคงไม่มี ใครอยากบอกความผิดพลาดของตนเองออกมา ให้ใครๆทราบ และถือว่า เป็นเรื่องเฉพาะ ในหน่วยงานเท่านั้น
ก็ขอว่า  คงไม่ใช่ เป็นคำถาม แต่เป็นความมุมมอง   ที่ขอแลกเปลี่ยนเท่านั้นค่ะ

ขอเป็นการแสดงความคิดเห็นนะครับ ผมว่า ปัจจุบันมีคนอ่านเยอะนะครับ แต่น้อยคนที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมา ยิ่งเป็นเรื่องที่ไม่กระทบต่อตัวเองยิ่งเงียบ แต่ถ้าอะไรที่กระทบตัวเองแล้วมักจะเป็นการโวยวายไว้ก่อนที่จะมาทบทวนหาเหตุผลนะครับ ฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า ถ้ามีประโยชน์ก็จะเข้ามาอ่านเฉย ๆ อะไรทำนองนี้.. หรือหลาย ๆ เวทีไม่ได้เปิดโอกาสให้คนหลากหลายเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างแท้จริง ทำให้เราเกิดวัฒนธรรมเพียงแค่ใฝ่รู้ แต่ไม่ใฝ่จะให้ความเห็น และความกลัวจะผิด หรือกลัวโดนตำหนิ ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งด้วยเช่นกัน...

ผมคิดว่าวันนี้และที่นี่ เป็นโอกาสที่ดีที่ให้หลาย ๆ คนได้เริ่มต้นในการที่จะให้ความคิดเห็นและแบ่งปันความรู้กันและกัน แม้จะไม่สม่ำเสมอแต่ก็สามารถพัฒนาให้ไปสู่กระแสหรือวัฒนธรรมใหม่ที่พึงประสงค์ได้ครับ

คิดดี คิดต่าง คิดอย่างเหตุผล ย่อมพัฒนาการเรียนรู้ได้เสมอ ครับ

แต่ละหัวข้อคำถามน่าสนใจทั้งนั้นเลยค่ะ

อยากรู้ว่า จะทำอย่างไร ให้ทุก ๆ คนมีส่วนร่วม และ อยากเขียน Blog ให้มากกว่าปัจจุบัน

ทำอย่างไร การเขียน Blog จึงจะเป็นการเขียนที่เกิดจากความเต็มใจของผู้เขียน

สวัสดีครับท่านฯDr.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์(น้อยวัน)

ทุกๆอย่างใน gotoknow.org ดีๆทั้งหมด เป็นกำลังใจและติดตามตลอด

แต่ติดที่ความไม่เท่ากันของคนของมนุษย์ที่ไม่เท่ากัน โอกาสไม่เท่ากันฯลฯครับ

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้...เป็นวิถีการเรียนรู้ตลอดชีวิต.. G 2 K เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย...แล้วแต่มุมมอง ต้องการอ่าน..เรียนรู้...แต่ไม่อยากแลกเปลี่ยน..แต่ก็ได้อ่าน..ได้กระบวนการซึมซับ..ผ่านตา..โสตสัมผัส..และก็บันทึกไว้ในหน่วยความจำ..วันหนึ่งสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยน..หรือรับรู้มา..อาจจะถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้..ขอคิดด้วยคนครับ..ทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น...ดีมากๆ..โดยเฉพาะ....คุณศศินารถ....คนตานี..หากต้องการให้ KM..ลงสู่ท้องถิ่น..ต้องพัฒนาผู้บริหารท้องถิ่น....เฉลี่ยและแบ่งปันความคิดกันและกันแตกต่างความคิดแต่ไม่แตกแยก....ต้องทลายกำแพงอัตตา...แล้วมองอนาคตของชุมชนข้างหน้าอีก 10 ปี...จะเป็นอย่างไรหากไม่มีการเรียนรู้อดีต..ที่ผิดพลาด..นี่แผนพัฒนาฉบับที่ 10 จวนจะหมดแล้ว..คนยังถูกพัฒนา..ป้อนแต่วัตถุ....

ผลสอบธุรการอยู่ไหนจ๊ะ......หาตาจะหลุดอยู่แล้ว

  •  G2K เป็นชุมชนนักปฏิบัติ  นั่นคือ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ทั้งต่างองค์กร เอกชน ราชการ วิสาหกิจ หรือแม้แต่หน่วยงานทหาร  ตำรวจ เราก็พบในในโลกใบนี้
  • มีหลายท่านทีเดียวที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในชีวิต เปลี่ยนจากบันทึกเล่มโตๆมาเป็นบันทึกในโลกไซเบอร์  แชร์ข้อมูล ความรู้ประสบการณ์  เหมือนเขียนหนังสือสักเล่มแล้วมีคนติดตามอ่านประจำ เป็นความรู้สึกที่ดี (จริง ๆ)
  • การเปิดเผย่ตัวตน เท่าที่ติดตาม G2K มาตลอด ก็เห็นว่า น้อยคนนักที่จะไม่เปิดเผยตัวตนที่แท้จริง   เพราะสังคมของ G2K เป็นสังคมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แชร์ประสบการณ์ ความคิด วิสัยทัศน์ของแต่ละคน  ไม่ได้นำมาเป็นการค้าหาประโยชน์แต่อย่างใด
  • มีสิ่งหนึ่งค่ะที่เห็นด้วยมากคือการเชื่อมโยงคนในชุมชน G2K เพราะถึงแม้จะได้มีการจัดพบปะกันเสมอ ๆ แต่คิดว่า น่าจะเป็นเฉพาะ "บางกลุ่ม" ค่ะ เราน่าจะจัดให้คนที่อยู่ใน G2K ได้พบปะกันให้มากที่สุด แต่สังคมมันใหญ่เนอะคะ ...คงต้องแบ่งกันกันเป็น กลุ่ม ๆ ตามที่ได้จัดกรุ๊ปหัวข้อใน G2K ก็น่าจะทำได้นะคะ
  • ขอบคุณสำหรับหัวข้อบทความนี้ค่ะ

 

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • ดิฉันคิดว่า การที่ใครสักคนจะแสดงความคิด "เห็นด้วย" หรือ "เห็นแย้ง" หลังอ่านบันทึกสักฉบับ ประเด็นในบันทึกต้องแหลมคม กระตุ้นความคิด เราจึงอยากเขียน ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นแย้ง ต้องการเวลาในการประมวลความเห็น เรียบเรียงคำพูด ซึ่งไม่ง่าย และ ใช้เวลา แต่ถ้าเมื่อไร "ความคิดเปิด" คำจะพรั่งพรูจนเคาะแป้นไม่ทันล่ะคะ
  • การเขียนยากกว่าการพูดค่ะ
  • การเปิดเผยตัวตนเป็นสิ่งควรสนับสนุนค่ะ  มิฉะนั้นจะเกิดปรากฏการณ์ตีหัวแล้วเข้าบ้าน  
  • ดิฉันเชื่อว่าชาว G2K กล้าแย้งค่ะ  เมื่อมีประเด็นที่แหลมคมพอ
  • ดิฉันเป็นประเภทอ่านช้า อ่านละเอียด เป็นข้อจำกัดให้อ่านได้น้อย แต่เมื่อไรได้อ่านบันทึกที่แหลมคมแล้วจะคันมือค่ะ
  • สุดท้าย....ดิฉันยังเข้าใจประเด็นของอาจารย์ไม่ชัดนัก  อาจารย์กรุณาขยายความสักนิดได้มั๊ยคะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณทุกท่านค่ะ คำถามที่ท่านอยากทราบจะสามารถหาคำตอบได้จากบุคคลสำคัญของวงการการจัดการความรู้ของไทย ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช ในงานเสวนา GotoKnow Forum ในวันที่ 25 ที่จะถึงนี้ค่ะ

บันทึกนี้ดิฉันตั้งใจให้เป็นการรวบรวมคำถามที่ทุกท่านอยากรู้เกี่ยวกับบล็อกกับการจัดการความรู้ค่ะ เพื่อเป็นคำถามในงานเสวนา GotoKnow Forum ช่วงเปิดใจพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช เรื่อง “วิเคราะห์การจัดการความรู้ด้วยเว็บล็อก กรณีศึกษา 4 ปี GotoKnow.org”  ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์จันทวรรณ

ขออนุญาตฝากคำถามถึงท่านอาจารย์หมอวิจารณ์นะครับ

1. อาจารย์หมอมองพัฒนาการก้าวต่อไปของ GotoKnow เป็นอย่างไร 

2. ภาพสุดท้ายในฝันของการจัดการความรู้ในประเทศไทย  ที่เป็นภาพในอุดมคติ (หรือที่คิดว่าควรจะเป็นไป) ของอาจารย์หมอเป็นอย่างไรกันครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ อาจารย์จันทวรรณ

เรียนสอบถามทั้งอาจารย์ และคุณหมอวิจารณ์ค่ะ

เราจะนำการจัดการความรู้ เข้าไปสู่องค์กรทางด้านศิลปะ สาขาทัศนศิลป์ ได้อย่างไรบ้างค่ะ เช่น การจัดการความรู้ของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินท้องถิ่น ศิลปินรุ่นใหม่ที่กำลังมีชื่อเสียง เป็นต้น

เพราะความรู้ของท่านเหล่านี้ มักจะอยู่กับตัว ซึ่งไม่ค่อยได้มีโอกาสที่จะนำความรู้ของศิลปินมาเผยแพร่ให้แก่เยาวชน ประชาชนมากนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

รบกวนสอบถามด้วยค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

มือใหม่!!! พึ่งหัดเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้

อยากถามอาจารย์ของการเขียนเรื่องผิดพลาดที่อาจเรียนรู้ว่าจะผิดหลักของการเขียนบล็อกหรือไม่ค่ะ

ตัวเองรู้สึกอยากเรียนเรื่องที่ผิดพลาดเพราะเป็นเรื่องที่เวลาทำงานจริงๆอาจจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จก็ได้ค่ะ

ส่วนเรื่องของความสำเร็จก็เป็นแรงบันดาลใจที่ใครๆก็อยากเล่าค่ะ

ขอบคุณอาจารย์และทีมงานค่ะ

สมากชิกทุกคนนั้น มีแต่เขียนเรื่องดีดีมาให้อ่านกัน จะไปค้านยังไง

พบเรื่องดี ก็ต้องขอบคุณ ที่ทำให้หูตาสว่างขึ้น

เรียนถามอาจารย์หมอค่ะ

หากเราอยู่ในหน่วยงานที่ผู้บริหารไม่เล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ไม่สนใจเรื่อง blog ไม่สนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ & การจัดการความรู้ ไม่สนใจเรื่องการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มความสะดวกในการทำงาน มีวิธีการอย่างไรให้ท่านผู้ใหญ่หันมาเล็งเห็นความสำคัญของเรื่องเหล่านี้ค่ะ นอกจากต้อง "ทำใจ" ^__^!

ขอบคุณอาจารย์หมอสำหรับคำตอบนะคะ

สวัสดีท่านผู้บริหารและทีมงานgotoknow.org

           ขอขอบคุณท่านฯและทีมงาน...แทนพี่น้องคนไทยทั้งประเทศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท