การกู้เอกราชของพระเจ้าตากสินมหาราช


พระเจ้าตากสินมหราราช

ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่า 3 เดือน (11 เม.ย. พ.ศ.2310) พระยาวชิรปราการ คุมไพร่พลไทย - จีนจำนวน 5,000 ถึง 10,000 คน ตีฝ่าวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ไปยังหัวเมืองริมทะเลฝั่งตะวันออก ส่วนพระราชประวัติในตอนต้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดนัก

พระราชกรณียกิจ การกู้เอกราชย์

-    หลังจากออกจากกรุงได้ 24 วัน ทรงเข้าตี เมืองระยอง เพื่อเสริมสร้างบารมีดึงให้คนเข้าร่วมด้วย ใช้พระนามว่า พระยาตาก

-    ยึดเมืองจันทบรีได้วันที่ 14 มิ.ย. พ.ศ.2310 เพื่อเป็นฐานที่มั่นและเป็นที่รวบรวมไพร่พล เสบียง เตรียมพร้อมที่จะยกทัพกู้กรุงคืน

-    สาเหตุที่เลือกหัวเมืองชายทะเลเพราะ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ หาซื้ออาวุธได้ง่าย ใช้เวลาตะเตรียมเพียง 5 เดือน จึงยกทัพเข้าตีโพธิ์สามต้น

-    ตีค่ายโพธิ์สามต้นและค่ายของสุกี้พระนายกองแตกใน ต.ค. พ.ศ.2310 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการกู้เอกราชไทย รวมเวลากู้เอกราชประมาณ 6 เดือนเศษ

      ปัจจัยที่ทำให้พระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชได้รวดเร็ว สรุปได้ดังนี้

      1. ปัจจัยจากพระองศ์เอง

-    เป็นนักรบที่ปรีชาสามารถ นำทัพด้วยพระองศ์เองทุกครั้ง ทำให้ไพร่พลมีความศรัทธา จึงสามารถเอาชนะข้าศึกได้โดยง่าย

-    เป็นนักวางแผนรู้จักใช้กลยุทธ ในการทำศึกแต่ละครั้งทรงวางแผนอย่างรอบคอบ ทำให้ได้รับชัยชนะสม่ำเสมอแม้จะมีกำลังน้อย

-    เป็นนักจิตวิทยา เช่น ชี้ให้เห็นว่า พม่าทำลายศาสนา จะต้องกู้ชาติเพื่อฟื้นฟูศาสนา หรือสั่งทหารกินข้าวปลาให้อิ่ม ที่เหลือเททิ้ง ทุบหม้อข้าว ให้ไปกินในเมืองที่กำลังจะตี

-    มีลักษณะเป็นผู้นำ มีปัญญาเฉียบแหลม คิดฉับไว โจมตีถึงลูกถึงคน เช่นยิงปืนใหญ่ก่อนได้รับอนุญาต หรือการนำกำลังทหารตีฝ่าวงล้อมพม่า

2. ปัจจัยฝ่ายพม่า

-    พม่าอยู่ในความประมาท เนื่องจากการมาตีกรุงครั้งนี้เพื่อเผาทำลายให้เสียศูนย์กลางการปกครอง

-    พม่าต้องการการปกครองกรุงศรีฯในฐานะเป็นมณฑลหนึ่งของพม่าเท่านั่น ไม่ตั่งใจให้ใครเป็นผู้นำในฐานะเจ้าประเทศราชย์

-    พม่าทิ้งไพร่พลไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้นเพียงเล็กน้อย โดยมีสุกี้พระนายกองเป็นผู้ควบคุม การมีไพร่พลน้อยจึงทำให้พระเจ้าตากตีแตกได้ง่าย

-    อีกทั้งพม่าติดศึกกับจีน ทำให้ต้องป้องกันตนเอง ขาดการติดต่อหรือควบคุมไทย

-    เกิดการผลัดแผ่นดินในพม่า พระเจ้ามังระ เสด็จสวรรคต พระเจ้าจิงกูจา ขึ้นครองราชย์แทน ทรงไม่ปารถนาสงคราม

การสถาปนาราชราชธานี

-    เมื่อกู้เอกราชได้แล้ว ทรงย้ายราชธานีจากรุงศรีอยุธยามายัง กรุงธนบุรี เรียกว่า  กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร 

-    เหล่าบรรดาข้าราชการทั้งหลายพร้อมใจกันอัญเชิญพระองศ์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชที่ 4

-    สาเหตุที่ย้ายเนื่องจากราชธานีเดิมทรุดโทรมมาก ยากแก้การซ่อมบำรุง  อีกทั้งพม่ายังรู้ถึงจุดยุทธศาสตร์ ยากแก่การป้องกัน

-    เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี มีป้อมปราการสองฝั่งปากแม่น้ำอยู่แล้ว พม่าจะตีได้ ต้องใช้การรบทางเรือที่ดีเท่านั้น

-    สะดวกแก่เป็นทางหนีทีไล่

-    สะดวกแก่การสะสมอาวุธ

-    สะดวกแก่การติดต่อค้าขายกับต่างชาติ

การฟื้นฟูอำนาจทางการเมือง

      หลังจากที่กู้เอกราชได้แล้ว พระองศ์ยังต้องทำศึกกับต่างชาติและปราบปรามก๊กต่าง ๆ เพื่อรวบรวมประเทศ เสริมสร้างอำนาจ สรุปได้ดังนี้

      พ.ศ. 2311 ปราบชุมนุมพิษณุโลกแต่ไม่ได้(เจ้าฝางฉวยโอกาสโจมตีได้ในภายหลัง), ปราบชุมนุมนครราชสีมาได้, รบกับพม่าที่ค่ายบางกุ้ง พม่าถอยทัพกลับ

      พ.ศ. 2312 ปราบชุมนุมนครศรีธรรมราช และไปตีเขมร

      พ.ศ. 2313 ปราบชุมนุมเจ้าฝาง แห่งสวางคบุรี

      พ.ศ. 2314 ตีเชียงใหม่แต่ไม่ได้ แต่ตีเขมรได้

     พ.ศ. 2314 2316 - พม่าจากเชียงใหม่รังควานหัวเมืองทางเหนือ พม่าเตรียมตีไทย

      พ.ศ. 2317 - ไทยตีได้เชียงใหม่  หัวเมืองล้านนา ไทยล้อมพม่าให้อดตาย

      พ.ศ 2318 2319 สงครามอะแซหวุ่นกี้ ศึกครั้งนี้ถือว่าเสี่ยงต่อราชอาณาจักรที่สุด แต่พม่าผลัดแผ่นดินเสียก่อน อะแซหวุ่นกี้จึงยกทัพกลับ

      พ.ศ. 2320 2321 - ตีจำปาศักดิ์ ศรีสัตนาคณหุต หลวงพระบางอ่อนน้อมขอเป็นเมืองขึ้น

      ตลอดเวลา 15 ปี กรุงธนบุรีล้วนแต่ติดพันสงครามกับต่างชาติและการปราบปราบชุมนุมต่าง ๆ เพื่อรวบรวมชาติไทย จึงทำให้การพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะศิลปวัฒนธรรมไม่ได้ไม่ได้ทำนุบำรุงเท่าที่ควร

      สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงครองราชย์อยู่ได้ 15 ปี ก็ทรงเสด็จสวรรคต กล่าวได้ว่าเป็นกษัตริย์ที่ทรงคุณอเนกอนันต์ต่อปวงชนชาวไทย จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

 

คำสำคัญ (Tags): #การกู้เอกราช
หมายเลขบันทึก: 258624เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2013 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พระองค์ท่านทรงพระปรีชาจริงๆ เสียดาย ที่ทรงครองราชย์อยู่ได้เพียง 15 ปีค่ะ

ชอบมากครับผมซึ้งในน้ำใจของท่านพระยาตากมากๆ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้ท่านอยู่ต่ออีกครับ+++!!!

อยากให้อยู่ต่อ

อยากให้อยู่ต่ออีกหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท